SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยขาดดุลจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ทำไมไทยถึงขาดดุลจีน ขาดดุลจากสินค้าไหน และสินค้าอะไรบ้างที่เกินดุล ที่สำคัญ คือ ทำไม KResearch ถึงมองว่า “สถานการณ์นี้สะท้อนปัญหาโครงสร้างการส่งออกไทยไม่มีสินค้าอะไรมาทดแทน” TODAY Bizview สรุปบทวิเคราะห์ของ KResearch มาให้ทุกคนได้อ่านกันแบบรวบรัดใน 6 ข้อ

1) ปี 2566 ที่ผ่านมา ‘ไทย’ ขาดดุลการค้า ‘จีน’ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ผ่านมาแม้ ‘จีน’ เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย แต่อย่างที่เรารู้กันว่าไทย ‘ส่งออก’ ไปจีนเป็นอันดับที่ 2 รองจาก ‘สหรัฐอเมริกา’ ขณะที่ไทย ‘นำเข้า’ จากจีนเป็นอันดับ 1 หรือว่ากันแบบง่ายๆ คือ “ไทยขาดดุลการค้าให้จีนมาตลอด” แต่ล่าสุดในปี 2566 “ไทยขาดดุลการค้ากับจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์” ราว 1.3 ล้านล้านบาท

2) มาดูในรายละเอียดเกี่ยวกับ ‘สินค้าสำคัญ’ ที่ไทย ‘ขาดดุล’ จีน คือ เครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (33.8%) เครื่องปฏิกรณ์นิวเลียร์ บอยเลอร์ เครื่องจักร เครื่องใช้กล (14.7%) และสินค้าประเภทรถยนต์ (7.5%) แต่สินค้าที่ไทย ‘เกินดุล’ การค้ากับจีน คือ ผลไม้สด (35.8%) ยางพารา (23.4%) และไม้ (7.8%)หรือแปลว่า สิ่งที่ไทยขายให้จีนได้ดี คือ ‘สินค้าเกษตรกรรม’ ที่ราคาไม่สูงพอจะชดเชยกับสินค้าที่เราซื้อจากจีนอย่างพวกเครื่องจักร-รถยนต์

3) ‘รถยนต์’ คือ สินค้าที่ไทยอาจจะขาดดุลจีนมากขึ้นในอนาคต เพราะในปี 2560 ไทยขาดดุลสินค้าประเภทรถยนต์กับจีนแค่ 0.3% แต่พอปี 2566 ขาดดุล 7.5% หลักๆ มาจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (60.3%) กับส่วนประกอบ-อุปกรณ์ยานยนต์ (27.2%) คาดเกิดจาก “บริษัทรถยนต์จีนเข้ามาตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในไทย” KResearch ประเมินว่า อนาคตมีแนวโน้มจะขาดดุลมากขึ้นอีก เพราะบริษัทรถยนต์จีนที่เข้ามาตั้งฐานจะนำเข้าชิ้นส่วนมากขึ้น

4) ‘ผลไม้’ ขึ้นมาแทนที่ ‘ยางพารา’ เพราะจีนหันไปปลูกยางพาราใช้เองเพิ่มขึ้น ส่วน ‘ผลไม้’ กลายเป็นสิค้าที่ไทยได้ดุลจากจีนเป็นอันดับ 1 แทน โดยจีนนำเข้าผลไม้จากไทยเป็นอันดับ 1 (มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 37%) และ ‘ทุเรียน’ มีสัดส่วน 14% ของการส่งออกผลไม้ของไทยไปจีน ที่สำคัญคือ อนาคตการแข่งขันส่งออกผลไม้สู่จีนจะสูงขึ้น โดยเฉพาะ ‘ทุเรียน’ ที่เพื่อนบ้านอย่างเวียดนามพัฒนาและปลูกมากขึ้น

5) ที่สำคัญที่สุดในประเด็นนี้ คือ “ไทยมีแนวโน้มจะขาดดุลจีนมากขึ้นเรื่อยๆ” จาก 3 เหตุผลหลักๆ ในโครงสร้างการค้าเลยคือ

อย่างแรก ไทยขาดดุลจีนใน ‘สินค้ามูลค่าสูง’ ที่ใช้เทคโนโลยีหรือใช้การผลิตมากๆ ให้ได้ราคาถูก แต่สินค้าที่ไทยเกิดดุล คือ ‘สินค้าเกษตร’ ที่อีกหน่อยจะยิ่งแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ แบบทุเรียน

อย่างสอง ‘สินค้าอุปโภคบริโภค’ จากจีนอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ทะลักเข้ามาในไทยเยอะมาก เพราะจีนมีต้นทุนการผลิตต่ำ ได้รับการยกเว้น VAT ในสินค้าที่ราคาไม่เกิน 1,500 บาท

อย่างสาม เมื่อก่อนจะมี ‘สินค้าขั้นกลาง’ บางอย่างที่ส่งออกจากไทยไปจีน แต่ตั้งแต่สงครามการค้าสหรัฐ-จีนปะทุขึ้น ทำให้หลายๆ บริษัทย้ายฐานการผลิตออกจากจีนและบริษัทจีนก็ย้ายออกไปลงทุนนอกประเทศ เพื่อเลี่ยงการกีดกันทางการค้า ไทยก็ส่งออกสินค้าพวกนี้ไปจีนได้น้อยลง

6) Kresearch เลยมองว่า ที่ไทยมีแนวโน้มจะขาดดุลจีนมากขึ้น สะท้อนให้เห็นแล้วว่า “ไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้างการส่งออก” คือ ไม่มีอุตสาหกรรมใหม่มาทดแทนและขับเคลื่อนการส่งออกในระยะข้างหน้า (อย่างที่เวียดนามมีอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์)

ดังนั้น ถ้าไทยยังไม่มีการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง “การส่งออกของไทยในระยะข้างหน้ามีโอกาสจะเติบโตต่ำลง” และ “การเกินดุลการค้าที่ลดลงจะลดทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าอีกด้วย”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า