SHARE

คัดลอกแล้ว

เป็นกระแสที่ถูกพูดถึงตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา และเชื่อมโยงมาจนถึงตลอดวันนี้ กับกระแสดราม่า เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง จนทำให้ Bangkok และ Krung Thep Maha Nakhon ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ 

เรื่องนี้เริ่มมาจากเมื่อวานนี้ (15 ก.พ.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอ 

หนึ่งในนั้น คือ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ให้แก้ไขจากเดิม คือ Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)โดยเก็บชื่อเดิม Bangkok ไว้ในวงเล็บ ทำให้หลายๆ คน เข้าใจว่า มีการเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงของไทยในภาษาอังกฤษจาก Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon จนมีการวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก 

ราชบัณฑิตยสภา โพสต์ชี้แจงกลางดึก

ต่อมาเวลา 00.54 น. ทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภา โพสต์ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ‘กรุงเทพ​มหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep​ Maha​ Nakhon​ และ​ Bangkok

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาโดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากลได้ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ให้ถูกต้องและชัดเจน โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาจากกระทรวงการต่างประเทศร่วมพิจารณาด้วย เพื่อให้ส่วนราชการนำการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวงดังกล่าวไปใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

ผู้ว่าฯ กทม. มั่นใจจะเรียกชื่ออะไรต่างชาติก็รู้จัก

สำหรับเรื่องนี้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  บอกว่า “จริงๆ มันก็ มันน่าจะไม่ได้ถือว่าเปลี่ยนชื่ออะไรเพราะว่า ปกติกรุงเทพมหานคร ก็มีชื่ออยู่แล้วนะครับ แต่ว่าฝรั่งมังค่า จะเรียกยากนิดนึง เขาก็เรียก บางกอก Bangkok (แบงค็อก) ผมว่าเดี๋ยวๆ ทำความเข้าใจกันได้ อันไหนที่สื่อสารง่ายชื่อมันเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น แต่การปฏิบัติในการเรียก ฝรั่งมา บอกไปบางกอก ไป Bangkok (แบงค็อก) มากรุงเทพฯ เขารู้จักทั้งนั้น กรุงเทพฯ ถามว่า รู้จักไหม รู้จัก Bangkok รู้จักไหม รู้จัก แต่ว่าชื่อเป็นทางการ มันมีมานานแล้ว เดี๋ยวให้เขาประกาศ ราชบัณฑิตยสภาประกาศอีกที เข้าครม. แล้วก็มาดูว่าต้องทำไง ผมคิดว่าก็คงไม่ต้องทำอะไรมากมาย”

รองโฆษกรัฐบาลยันไม่ได้เปลี่ยนชื่อเหมืองหลวง แค่ย้ายมาอยู่ในวงเล็บ

ต่อมา น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก ว่า“เรื่องชื่อเมืองหลวง #กรุงเทพ #ราชบัณฑิตยสภา ไม่ได้มีอะไรมาก ไม่ได้เปลี่ยนอะไร แค่จากเดิมที่ราชบัณฑิตฯ กำหนดไว้ เรื่องการทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok กทม. เป็น Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok) กทม. โดยเก็บชื่อเดิมไว้ในวงเล็บ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ เท่านั้นเองค่ะ”

workpointTODAY ได้สอบถามไปยัง น.ส.รัชดา ถึงเรื่องนี้ได้รับการยืนยันว่า “ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเมืองหลวง เพียงแค่เปลี่ยนให้ Bangkok ที่เดิมจะอยู่หลังเครื่องหมาย อัฒภาค มาอยู่ในวงเล็บ เป็นการปรับสัญลักษณ์ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ แต่ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีที่คนไทยและคนต่างชาติจะได้รู้ว่า กรุงเทพมหานคร ในภาษาอังกฤษ สะกดอย่างไร” 

น.ส.รัชดา บอกว่า สำหรับมติครม. ดังกล่าว เป็นการพิจารณาตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอโดยเปลี่ยนจำคำเดิมในประกาศราชบัณฑิตยสถานฯ พ.ศ. 2544 มาเป็นคำใหม่ตามประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เพราะขณะนี้บางประเทศมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บางประเทศมีการย้ายที่ตั้งเมืองหลวง 

รวมทั้งทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภา มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ จึงมีการเสนอเรื่องนี้มาให้พิจารณา ซึ่งไม่ได้มีแค่ประเทศไทยประเทศเดียว มีการพิจารณาในส่วนของประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น 

Malaysia มาเลเซีย เดิมเมืองหลวง คือ Kuala Lumpur ภาษาไทยคือ ‘กัวลาลัมเปอร์’ เพียงคำเดียวแต่ของใหม่มีการเสนอเพิ่ม ‘กัวลาลุมปูร์’ ไปด้วยทำให้สามารถเรียกได้ทั้ง 2 ชื่อ โดยเป็นการเพิ่มชื่อเมืองหลวงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษามลายู

หรือ Myanmar : Union of Myanmar  ภาษาไทยคือ พม่า : สหภาพพม่า เปลี่ยนเป็น Myanmar : Republic of the Union of Myanmar ภาษาไทยคือ เมียนมา, พม่า :  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งเป็นการแก้ไขชื่อประเทศตามการเปลี่ยนแปลงการปกครองและการออกเสียง

ส่วนเมืองหลวงเดิมคือ Yangon ย่างกุ้ง เปลี่ยนเป็น Nay Pyi Taw เนปยีดอ โดยเป็นการแก้ไขชื่อเมืองหลวงตามการย้ายที่ตั้งเมืองหลวง เป็นต้น 

ครูทอม คำไทย สงสัยเพิ่มวงเล็บทำไม

ด้านนายจักรกฤต โยมพยอม หรือ ครูทอม คำไทย ติวเตอร์ภาษาไทย ที่เป็นที่รู้จักจากการเข้าแข่งขันและชนะเลิศในรายการแฟนพันธุ์แท้สุนทรภู่ บอกกับ workpointTODAY ว่าส่วนตัวไม่ได้มีความรู้ เรื่องการใช้เครื่องหมายอัฒภาค หรือ วงเล็บ ว่ามีการใช้งานอย่างไร  

แต่ความเห็นส่วนตัว มองว่าเครื่องหมายอัฒภาค จะรู้สึกว่าคำทั้งด้านหน้าและหลังเครื่องหมาย น้ำหนักคำจะเทียบเท่ากัน แต่เมื่อมีการนำวงเล็บมาใส่ ทำให้รู้สึกว่า คำในวงเล็บเป็นคำเล็กกว่า อย่างคำนี้ Krung Thep Maha Nakhon; (Bangkok) ตนรู้สึกว่าคำว่า Bangkok ดูเหมือนเป็นชื่อเล่น ชื่อที่ไม่เป็นทางการ 

แต่เก็แอบสงสัยว่า ในเมื่อราชบัณฑิตยสภา ออกมาชี้แจงว่าใช้ได้ทั้งสองคำ ทั้งคำว่า Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok แล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงย้ายคำมาอยู่ในวงเล็บทำไม 

ยังไม่มีคำตอบจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนเป็นวงเล็บทำไม

จากการสอบถามข้อมูลไปยังเพจสำนักงานราชบัณฑิตยสภาว่าการเปลี่ยนจาก Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok กทม.  เป็น Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok) การเปลี่ยนจากเครื่อหมายอัฒภาคเป็นวงเล็บ เพราะอะไรและมีความหมายอย่างไร ทางแอดมินเพจ ระบุว่ายังให้คำตอบไม่ได้เพราะทางสำนักงานฯ ยังไม่ได้หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางครม. มีมติรับหลักการให้ใช้ร่างประกาศฉบับใหม่ แต่ยังตัองปรับแก้ร่างประกาศตามข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ตอนนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้ และยังต้องมีอีกหลายขั้นตอน

การใช้เครื่องหมายอัฒภาค ; และวงเล็บ () จากเว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ระบุถึงการใช้ เครื่องหมายอัฒภาค (semicolon) ; และ วงเล็บ หรือนขลิขิต  () ดังนี้ 

เครื่องหมาย อัฒภาค (semicolon) ; มีหลักเกณฑ์การใช้คือ 

1. ใช้แยกประโยคเปรียบเทียบออกจากกัน

2.ใช้คั่นระหว่างประโยคที่มีรูปประโยคและใจความสมบูรณ์อยู่แล้ว เพื่อแสดงความต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดของประโยคนั้น

3.ใช้แบ่งประโยค กลุ่มคำ หรือกลุ่มตัวเลขที่มีเครื่องหมายจุลภาคอยู่แล้ว ออกเป็นส่วนเป็นตอนให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อกันความสับสน

4. ใช้คั่นคำในรายการที่มีจำนวนมากๆ เพื่อจำแนกรายการออกเป็นพวก ๆ

5.ใช้ในหนังสือประเภทพจนานุกรม โดย ใช้เพื่อคั่นบทนิยามของคำที่มีความหมายหลายอย่าง แต่ความหมายนั้นมีนัยเนื่องกับความหมายเดิม และเพื่อคั่นอักษรย่อบอกที่มาของคำ

วงเล็บ หรือ นขลิขิต  () มีหลักเกณฑ์การใช้คือ

1. ใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบาย จากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บนั้น จะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้โดยไม่ทำให้เนื้อความเสียไป

2. ใช้ขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

3. ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้อย่อย อาจใช้เพียงวงเล็บปิดข้างเดียวก็ได้

4. ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขบอกเชิงอรรถ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า