SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารกรุงศรีฯ คาดว่าสินเชื่อรายใหญ่ปีนี้จะขยายตัว 5% ธุรกิจขยายการลงทุนต่อเนื่อง ดีลควบรวมกิจการยังคึกคัก

‘ประกอบ เพียรเจริญ’ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ (Corporate and Investment Banking: CIB) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดลูกค้าขนาดใหญ่ และแผนในปี 2566

โดยคาดว่าสินเชื่อลูกค้าขนาดใหญ่จะเติบโตขึ้น 5% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าปีก่อนที่เติบโตเพียง 2% เท่านั้น ปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ที่ดูดีกว่าปี 2565 หลังธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เริ่มคุมเงินเฟ้อได้ ส่วนประเทศไทยเองก็กำลังจะมีการเลือกตั้ง

ถึงอย่างนั้นก็ยังประมาทไม่ได้ เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบระหว่างปี ไม่ว่าจะเป็นสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งอาจกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันอีกครั้ง รวมถึงการฟื้นตัวของภาคธุรกิจในประเทศยังทำได้ไม่เร็วนัก และความเสี่ยงจะเกิดหนี้เสีย (NPL)

นอกจากนี้ ยังต้องจับตาธุรกรรมแปลกๆ ในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีและตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะอาจเกิดความเสียหายมายังธนาคารได้

ขณะที่แผนการทำธุรกิจ CIB ในปีนี้ ธนาคารกรุงศรีฯ ยังเดินหน้าจัดหาเงินทุนให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ผ่านเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการระดมทุนหุ้นใหม่ (IPO) ซึ่งคาดว่าจะเห็นมากขึ้น ภายหลังธนาคารฯ เข้าซื้อกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายแล้ว

นอกจากนี้ ธนาคารกรุงศรีฯ ยังให้การสนับสนุนดีลควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions: M&A) อย่างต่อเนื่อง โดยได้เปรียบเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมจากที่มีเครือข่ายกระจายอยู่ทั่วเอเชีย

‘การมีพาร์ทเนอร์แบงก์ในเอเชีย เป็นความแตกต่างของกรุงศรีกับธนาคารอื่นๆ เพราะเรามีความลึกและความกว้างในประเทศนั้นจริงๆ ทำให้เครือข่ายของลูกค้าเราได้เปรียบกว่าลูกค้าธนาคารอื่น’

สำหรับความต้องการใช้เงินของภาคธุรกิจในปีนี้ แม้เทรนด์จะยังไม่ชัดมากนักในไตรมาส 1 แต่เท่าที่เห็นยังกระจุกอยู่ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เพราะลูกค้ายังใช้ความระมัดระวังในการขยายธุรกิจในต่างประเทศ

หากแบ่งเป็นเซกเตอร์ พบว่าความต้องการเงินทุนค่อนข้างหลากหลายในทุกเซกเตอร์ โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม (Food and Beverage) ธุรกิจโทรคมนาคม เช่น ดีลควบรวม TRUE-DTAC ที่ยังต้องการเงินทุนมาสนับสนุน รวมถึงธุรกิจพลังงาน ยกเว้นภาคอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นที่ยังไม่กลับมา

ส่วนดีล M&A ปัจจุบันธนาคารอยู่ระหว่างศึกษาประมาณ 10 ดีล ซึ่งหลังโควิด-19 คลี่คลาย หลายธุรกิจก็เริ่มตัดสินใจซื้อขายกันมากขึ้น ส่วนใหญ่ที่เห็นตอนนี้เป็นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) และธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม ไซซ์ระหว่าง 1,000-5,000 ล้านบาท

นอกเหนือจากรายได้ประจำ (Recurring Income) ที่มาจากรายได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยสินเชื่อแล้ว ธนาคารจะเน้นรายได้อื่นๆ เข้ามาเสริมมากขึ้น เช่น รายได้จากธุรกรรมป้องกันความเสี่ยง (Hedging) หรือรายได้จากการให้สินเชื่อการค้าต่างประเทศ (Trade Finance) เป็นต้น

นอกจากการสนับสนุนลูกค้าธุรกิจให้เติบโตแล้ว ธนาคารกรุงศรีฯ ยังเดินหน้าเรื่องความยั่งยืน (ESG) อย่างต่อเนื่อง โดยอธิบาย ที่ต้องให้ความสำคัญมากขนาดนี้ เพราะ ESG เองก็มีพลวัต ซึ่งต้องใช้ความเข้าใจ และต้องทำอย่างจริงจัง

เช่น การปล่อยสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้า (รถอีวี) แน่นอนว่าเป็นธุรกรรมที่ดีกับสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้หมายความว่า การปล่อยสินเชื่อโรงงานผลิตรถอีวี จะเป็นธุรกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะต้องมาดูเรื่องการผลิต ต้องเจาะลึกสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีเทรนด์ใหม่ที่ต้องผลักดัน คือ การเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition Finance) หรือการสนับสนุนเงินทุนให้กับธุรกิจที่เดิมไม่ใช่ธุรกิจสีเขียว ให้กลายเป็นธุรกิจที่เขียวมากขึ้น ซึ่งยอมรับว่าค่อนข้างยาก เพราะต้องมีแผนที่ชัดเจน รวมถึงตัวชี้วัด (KPI) ต่างๆ

ท้ายที่สุด การสนับสนุนการเงินสีเขียวให้กับลูกค้าอาจไม่เพียงพอ เพราะในบางผลิตภัณฑ์ การปล่อยมลพิษ (Emission) ก็เกิดขึ้นกับคู่ค้า (Supply Chain) เป็นหลัก ซึ่งก็ต้องเข้าไปดูแลในส่วนนี้ด้วย

โดยธนาคารกรุงศรีฯ ตั้งเป้าหมายว่า จะสามารถให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืนได้ราว 50,000-100,000 ล้านบาทภายในปี 2573

เมื่อถามถึงส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ที่ธนาคารจะได้รับจากการปล่อยสินเชื่อประเภทดังกล่าว ผู้บริการบอกว่า เป็นระดับปกติที่ได้จากลูกค้าธุรกิจ เช่นเดียวกับลูกค้า ที่ต้องยอมรับว่า ESG Finance ไม่ได้ให้ต้นทุนที่ถูกกว่า

อย่างไรก็ตาม ธนาคารก็การพิจารณาให้ดอกเบี้ยที่ถูกลงภายในขอบเขตที่ให้ได้เป็นการชั่วคราว แต่หลักๆ แล้วอยากช่วยให้ลูกค้าปรับตัวและสร้างความยั่งยืนในธุรกิจมากกว่า

ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2565 ธนาคารกรุงศรีฯ มียอดสินเชื่อคงค้างธุรกิจ CIB ประมาณ 474,500 ล้านบาท แบ่งเป็นการสนับสนุนการเงินเพื่อความยั่งยืนราว 35,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า