Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2566 ฟื้นตัวต่อเนื่อง เติบโต 3.4% จากแรงขับเคลื่อนของภาคการท่องเที่ยวที่สนับสนุนเศรษฐกิจทดแทนการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะอยู่ที่ 4.-4.8 ล้านคนในปีนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เข้าไทยคาดไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 22.5 ล้านคน

ทั้งนี้ ภาวะเงินเฟ้อสูงจะยังไม่หมดไปเนื่องจากภาคธุรกิจยังต้องรับมือกับการเปลี่ยนผ่านด้านต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีจะยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.25% ในปี 2565 ขึ้นสู่ระดับ 2% ในปี 2566 และอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุด (Terminal rate) อาจอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567 เป็นยุคดอกเบี้ยขาขึ้นเต็มตัวของประเทศไทย และประเมินปลายปีนี้ ดอกเบี้ยเงินกู้ MLR จะอยู่ที่ 6.6% ส่วนค่าเงินบาทยังเผชิญความผันผวนจากการคาดการณ์นโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 33.75-36.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

ภาพรวมตั้งแต่ปีนี้จะเข้าสู่ยุคดอกเบี้ยขาขึ้นที่แท้จริง และในปี 2567 จะเป็นยุคดอกเบี้ยขาขึ้นเต็มตัว

สำหรับการเตรียมตัวของภาคธุรกิจสำคัญ มี 5 ปัจจัยการเปลี่ยนผ่านสำคัญ เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับภาคธุรกิจ คือ 1.การก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ 2.เศรษฐกิจโลกชะลอตัว 3.ภาคท่องเที่ยวฟื้น 4.ดอกเบี้ยขาขึ้น 5.ภาวะต้นทุนสูง แนะภาคธุรกิจแสวงหาโอกาสและวางแผนรับมือกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามากระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมิน ปี 2566 ว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง นำพาเศรษฐกิจไทยไปอยู่ในจุดที่ไม่คุ้นเคย ภายใต้โลกใหม่ที่มีความผันผวนและซับซ้อนมากขึ้น โดยมีการเปลี่ยนผ่าน หรือ Transition สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะชะลอตัว เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านสู่ภาคการท่องเที่ยว การเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นของไทย และการเปลี่ยนผ่านท่ามกลางแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้น

“Krungthai COMPASS มองว่า การเปลี่ยนผ่านทั้ง 5 ด้านมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป็นได้ทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับภาคธุรกิจ เช่น ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญกับอุปสรรคในการปรับตัวเข้าบริบทโลกใหม่ที่ใส่ใจกับเรื่อง climate change และความยั่งยืน อาจมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากการปรับธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในยามที่ต้นทุนอื่นๆ ก็สูงขึ้นรอบด้านทั้งดอกเบี้ย ค่าไฟ และค่าแรง แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้น ผู้ประกอบการที่ปรับตัวจะมองเห็นลู่ทางธุรกิจใหม่ๆ มีโอกาสเติบโตแม้ในยามที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว”

ดร. ฉมาดนัย มากนวล นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า แม้ว่าประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐฯ จะชะลอตัวจากการขึ้นดอกเบี้ย และยุโรปมีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤตพลังงาน แต่การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศเหล่านั้น ยังมีทิศทางที่เข้มข้นมากขึ้น สะท้อนจากการตอกย้ำจุดยืนของประชาคมโลกรวมถึงประเทศไทยในเวทีการประชุม COP27 และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา สำหรับในปี 2566 ภาคธุรกิจต้องติดตามประเด็นด้านกฎเกณฑ์ที่สำคัญ อาทิ การเดินหน้าบังคับใช้มาตรการการเก็บภาษีคาร์บอนที่พรมแดน หรือ CBAM ของยุโรป และแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือ Taxonomy ของประเทศไทย นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังต้องมองหาโอกาสจากนโยบายรัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น นโยบายเศรษฐกิจ BCG และนโยบายการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติภายใต้แนวคิด “Better and Green Thailand 2030” เป็นต้น

นายชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า Krungthai COMPASS คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตที่ 3.4% ฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวได้ 3.2% แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจจะถูกเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาคการท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 22.5 ล้านคนหรืออาจจะมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนหลังประเทศจีนผ่อนคลายนโยบาย Zero COVID อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกที่อ่อนแรงลงจะกระทบต่อการส่งออก ซึ่งอาจขยายตัวเพียง 0.7% เท่านั้น ซึ่งการที่เศรษฐกิจไทยเดินหน้าด้วยเครื่องยนต์เดียวจึงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นัก

นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้อสูงจะยังไม่หมดไปเนื่องจากภาคธุรกิจยังต้องรับมือกับการเปลี่ยนผ่านด้านต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีจะยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.25% ในปี 2565 ขึ้นสู่ระดับ 2% ในปี 2566 และอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุด (Terminal rate) อาจอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567 เป็นยุคดอกเบี้ยขาขึ้นเต็มตัวของประเทศไทย ส่วนค่าเงินบาทยังเผชิญความผันผวนจากการคาดการณ์นโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 33.75-36.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า