SHARE

คัดลอกแล้ว

KTAM ปักธง AUM ปี‘68 โตแตะ 1 ล้านล้านบาท  ชี้เศรษฐกิจยังโตต่อได้ แม้มีความกังวลด้านนโยบายทรัมป์ ส่วนหุ้นไทยตั้งเป้าปีนี้ 1,450 จุด 

‘ชวินดา หาญรัตนกูล’ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เปิดเผยแผนการดำเนินงานปี 2568 ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (AUM) แตะระดับ 1 ล้านล้านบาท จากปี 2567 ที่มี AUM 951,000 ล้านบาท

โดยการเติบโตจะมาจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง และการเติบโตของกองทุนประเภท Asset Allocation รวมทั้งจากกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) มีทั้งมีเม็ดเงินไหลเข้าต่อเนื่อง

[ เศรษฐกิจยังไปต่อได้ ]

ในภาพรวมเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกในปี 2568 นี้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ถึงแม้ยังเผชิญกับความเสี่ยงในหลายด้าน อาทิ นโยบายการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า (Tariff) ท่าทีของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ

รวมถึงมุมมองของนักลงทุนจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศรวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคอสังหาฯ ของจีน ที่รัฐบาลได้ส่งสัญญาณว่าจะออกมาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวของธุรกิจ AI ในจีนก็ทำให้หุ้นเทคโนโลยีของจีนปรับตัวดีขึ้นในปีนี้

อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องภาษีจากสหรัฐฯ ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ยังคงต้องติดตามว่าจะมีพัฒนาการไปในด้านใด

นอกจากนี้ เศรษฐกิจในหลายๆ ภูมิภาคเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้น โดยประเทศในยุโรปเริ่มคลายความกดดันจากเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงก่อนหน้านี้ รวมถึงเศรษฐกิจไทยที่มองว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน

ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับความเสี่ยงากนโยบายกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางตรงต่อภาคการส่งออกของไทย และส่งผลทางอ้อมที่อาจเข้ามากระทบภาคการท่องเที่ยวไทยหากเศรษฐกิจของประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวอ่อนแอลงจากสงครามการค้า

[ ใช้กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง ] 

จากท่ามกลางความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น ทำให้นักลงทุนหันมาใช้กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง ลดการกระจุกตัว ประกอบกับความไม่แน่นอนในเชิงนโยบายของสหรัฐฯ จึงเห็นการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนจากสหรัฐฯ ที่เคยโดดเด่นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไปยังภูมิภาคอื่นโดยในช่วงต้นปี 2025 นี้ เราจึงแนะนำกลยุทธ์ในการลงทุน 4 ด้าน ประกอบด้วย

(1) ลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested) ในช่วงวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้มักจะผันผวนไปในทิศทางเดียวกัน การถือเงินสดจึงเป็นทางเลือกในการลดความเสี่ยงของพอร์ต แต่เมื่อผ่านพ้นวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นไป สินทรัพย์หลักสองประเภทนี้จะผันผวนไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน ทำให้พอร์ตที่มีกระจายความเสี่ยงที่ดีจะช่วยลดความผันผวนได้อยู่แล้ว ความจำเป็นการถือเงินสดจึงลดลง

(2) มองหาการป้องกันความเสี่ยง (Seek Hedging) ตลาดการลงทุนอาจมีความผันผวนมากขึ้น ดังนั้น การป้องกันความเสี่ยงให้กับพอร์ตจึงมีความจำเป็น โดยการป้องกันความเสี่ยงสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ทั้งการกระจายความเสี่ยง การลดการกระจุกตัวในการลงทุนการลงทุนบางส่วนในหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ หรือการถือสินทรัพย์ปลอดภัย

(3) นโยบายใหม่ โอกาสใหม่ (New Policies, New Opportunities) การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองในหลายประเทศ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายเกิดขึ้น ซึ่งเปิดให้มีโอกาสลงทุนใหม่ๆ เกิดขึ้น ไมว่าจะเป็นการจัดสรรผลประโยชน์เศรษฐกิจโลกใหม่ การลดกฎระเบียในการควบคุมดูแลธุรกิจซึ่งอาจจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

รวมถึงการเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐในกลุ่มประเทศที่รัดเข็มขัด และ (4) มุ่งการเติบโตระยะยาว (Long-term Growth Oriented) กระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกในมิติต่างๆ ทำให้เกิดแรงผลักดันสำหรับการเติบโตระยะยาว โดยเฉพาะพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) นอกจากนี้ มิติสุขภาพ ก็ยังมีความสำคัญในสังคมที่มีความสูงวัยขึ้นต่อเนื่อง

[ หุ้นไทยเป้า 1,450 จุด ]

สำหรับตลาดหุ้นไทย เรามองว่าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้ว่าอาจจะยังต่ำกว่าระดับศักยภาพเล็กน้อย โดยคาดอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ที่ 2.8% ในปี 2568 และ 3.0% ในปี 2569 อีกทั้งผลการดำเนินงานไตรมาส 4 ปี 2567 ของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่บางแห่งก็ออกมาต่ำกว่าที่คาด

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทยทำให้หุ้นหลายตัวมีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานค่อนข้างมาก จึงถือเป็นโอกาสในการลงทุนระยะยาวได้เป็นอย่างดี ซึ่งคาดว่าการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนฯ อาจจะมีแนวโน้มดีขึ้น โดยคาดว่าจะขยายตัวประมาณ 20% หลังจากที่หดตัวไปที่ประมาณ -6% ในปีก่อนหน้า

สำหรับดัชนีหุ้นไทยสิ้นปีให้เป้าหมายไว้ที่ 1,450 จุด มี EPS ประมาณ 90 บาทต่อหุ้น จากฐานปีก่อนที่ต่ำ ส่วนแนวรับต่ำสุดคาดว่าไม่หลุด 1,100 จุด โดยดัชนียังมีอัพไซด์อีกพอสมควร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า