Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

การลุกขึ้นกล่าวประณามการยึดอำนาจโดยกองทัพของ จอ โม ตุน ผู้แทนเมียนมาประจำยูเอ็น เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ชาวโลกได้เห็นการต่อสู้ของชาวเมียนมาที่อยู่นอกประเทศ 

ขณะที่เหล่านักการทูตในสถานทูตเมียนมาทั่วโลกกำลังลังเลว่า จะยอมเป็นตัวแทนของกองทัพที่จับกุมเหล่าผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนหรือไม่ จอ โม ตุน ได้ตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้วว่าจะต่อต้าน และไม่ยอมรับเผด็จการทหารโดยเด็ดขาด 

เรื่องราวของเขาเป็นอย่างไร วันนี้ workpointTODAY จะสรุปมาให้อ่านกัน

1.) จอ โม ตุน ยอมรับว่าเขาไม่เคยเข้าร่วมการประท้วงมาก่อน ย้อนกลับไปเมื่อปี 1988 ขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งตัดสินใจออกมาเดินประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งประวัติศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่า ‘เหตุการณ์ 8888’ เขาเลือกที่จะเชื่อฟังคำสั่งพ่อแม่ ที่ต้องการให้เก็บตัวอยู่ในบ้าน

2.) แต่หลังจากที่กองทัพใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องปิดตัวลง จอ โม ตุน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 ยังไม่มีใบปริญญา และไม่มีหนทางในการหาเงินให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จึงจำเป็นต้องออกไปหางานทำที่ต่างประเทศ เช่นเดียวกับชาวพม่าหลายล้านคน

3.) จุดหมายแรกของเขาคือกรุงเทพฯ ที่ซึ่งทำให้เขารู้สึกประหลาดใจ กับความหรูหราของเครื่องปรับอากาศ มีรายการโทรทัศน์ให้ความบันเทิงตลอดทั้งวัน และมีแสงสว่างเต็มไปหมด ขัดกับเมืองย่างกุ้งที่มืดมิด ปราศจากแสงไฟในยามค่ำคืน และอากาศที่อบอ้าว จากนั้น เขาได้เดินทางไปทำงานประกอบตู้เย็นกับพ่นสีสเปรย์หลอดไฟในมาเลเซีย และเข้าเป็นลูกเรือบนเรือที่สิงคโปร์ 

4.) จอ โม ตุน กลับมาศึกษาต่อในประเทศบ้านเกิดหลังจากที่มหาวิทยาลัยกลับมาเปิดอีกครั้ง เขายอมรับว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะอธิบายให้พ่อแม่ของเขารู้ว่า ประเทศตนล้าหลังกว่าเพื่อนบ้านขนาดไหน มิหนำซ้ำยังถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก ทำให้ประเทศพัฒนาช้าลงไปอีก

5.) หลังเรียนจบจากสาขาศิลปศาสตร์ เอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้เข้าทำงานในกระทรวงต่างประเทศ และก็ไต่เต้าขึ้นมาเรื่อยๆ ในสายงาน จนได้ไปประจำที่จาการ์ตา ตามด้วยนิวยอร์กและสิงคโปร์ จนสุดท้ายได้มาประจำที่สำนักงานของสหประชาชาติในเจนีวา ตั้งแต่ปี 2018

6.) เหตุการณ์ที่ทำให้เขาได้รับความสนใจไปทั่วโลก คือการกล่าวต่อหน้าสมาชิกสมัชชาสหประชาชาติ 193 ประเทศ เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่เขาชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วระหว่างการลุกขึ้นกล่าวถ้อยแถลงโจมตีการยึดอำนาจโดยกองทัพเมียนมา พร้อมกับเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศใช้มาตรการที่แข็งกร้าวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อยุติการก่อรัฐประหารของกองทัพโดยเร็ว

7.) หลังจากที่เขากลับบ้านไปในคืนนั้น ลูกสาววัย 12 ปีได้บอกกับเขาว่า เขาทำท่าชู 3 นิ้วผิด ต้องชูนิ้วแบบชิดกัน ไม่ใช่อยู่ห่างแบบนั้น แต่เธอก็รู้สึกภูมิใจในตัวเขาอยู่ดี

8.) การขึ้นกล่าวครั้งนั้น ทำให้นักการทูตชาวเมียนคนอื่นๆ ที่ประจำอยู่ในเจนีวา เบอร์ลิน ลอสแอนเจลิส วอชิงตัน และเทลอาวีฟ เริ่มเข้าร่วมการต่อต้านที่เรียกว่า การทำอารยขัดขืน (Civil Disobedience Movement) หรือที่ใช้ตัวย่อว่า CDM

9.) แม้กองทัพเมียนมาจะสั่งปลด จอ โม ตุน ในเวลาต่อมา โดยกล่าวหาว่าเขามีความผิดฐานเป็นกบฎ แต่เขาได้ปฏิเสธคำสั่งดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเขารับคำสั่งจากรัฐบาลเท่านั้น สิ่งที่กองทัพทำคือการยึดอำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 

10.) ส่วนทางองค์การสหประชาชาติเองก็ยังไม่ยอมรับคำสั่งปลดดังกล่าว โดยระบุว่าได้รับจดหมาย 2 ฉบับที่มีเนื้อหาขัดแย้งกัน ฉบับแรกจากกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา ที่ประกาศปลด จอ โม ตุน ออกจากตำแหน่ง ส่วนอีกฉบับคือจดหมายจาก จอ โม ตุน ที่ยืนยันว่ากองทัพไม่มีอำนาจสั่งปลด เพราะเขาคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย 

11.) ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกองทัพเพื่อขึ้นมาแทน ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา ทำให้ จอ โม ตุน ยังคงเป็นผู้แทนเมียนมาประจำยูเอ็นต่อไป

12.) จอ โม ตุน ให้สัมภาษณ์กับ New York Times ว่า คนรุ่นใหม่รู้จักประชาธิปไตยดี และเขาก็รู้จักประชาธิปไตยเช่นกัน เขาอยากจะทำให้เกิดผลกระทบมากที่สุด เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาช็อกกับสิ่งที่เกิดขึ้นขนาดไหน ในโลกยุคใหม่ การทำรัฐประหารโดยกองทัพไม่ใช่สิ่งที่ยอมรับได้ และพวกเขาจะสู้ต่อไป เพื่อรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า