SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ล้มละลาย’ ไม่ได้เกิดได้แค่กับ ‘บุคคล’ เท่านั้น แต่ ‘รัฐ’ และ ‘รัฐท้องถิ่น’ เองก็สามารถล้มละลายได้เหมือนกัน ก่อนหน้านี้เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวของ ‘กรีซ’ ที่เกิดวิกฤตหนี้สาธารณะ จนทำให้ประเทศเข้าสู่ภาวะเสี่ยงล้มละลายมาก่อน หรือแม้แต่เรื่องราวของ ‘อาร์เจนตินา’ ที่ประสบปัญหาจนเงินแทบกลายเป็นกระดาษ 

แล้วถ้าเราบอกว่าสถานะของ ‘เกียวโต’ อดีตเมืองหลวงของญี่ปุ่นกำลัง ‘เสี่ยง’ ต่อการล้มละลาย เพราะประสบปัญหาหนี้ท่วมล่ะ เกิดอะไรขึ้นกับ ‘เกียวโต’ TODAY Biziview จะพาไปดู

[ เกิดอะไรขึ้นกับ ‘เกียวโต’ ? ]

‘เกียวโต’ เป็นหนึ่งในเมืองยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เดินทางไปยังญี่ปุ่น จากประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองในฐานะเมืองหลวงที่ยาวนานร่วมหนึ่งพันปี ที่สั่งสมวัฒนธรรมอันเก่าแก่ดั้งเดิม ตั้งแต่สถาปัตยกรรมไปจนถึงสิ่งละอันพันละน้อยของเมืองและธรรมชาติที่สวยงามตลอดสี่ฤดูกาล

แต่ปัจจุบัน ‘เกียวโต’ กำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์เสี่ยงล้มละลาย หลังจากปีงบประมาณล่าสุดเมืองมีหนี้กว่า 50,000 ล้านเยนหรือประมาณ 14,000 ล้านบาท สะสมเพิ่มเข้าไปในหนี้ก้อนใหญ่ที่เมืองมีอยู่แล้วกว่า 860,000 ล้านเยน หรือประมาณ 242,700 ล้านบาท

ทำให้เกียวโตตกที่นั่งลำบากจากการแบกรับหนี้มหาศาล

คำถาม คือ ‘เกียวโต’ ที่เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งที่สุดเมืองหนึ่งในญี่ปุ่นตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ได้ยังไง

[ ทำไมเกียวโตถึงหนี้ท่วม ]

จากข้อมูลของรัฐบาลท้องถิ่นเมือง ‘เกียวโต’ ในปี 2019 เมืองเกียวโตมีนักท่องเที่ยวจากในและนอกประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวกว่า 53.52 ล้านคน สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวรวมกว่า 1.24 ล้านล้านเยนที่สูงติดต่อกันถึง 1 ล้านเยนเป็นปีที่ 4 ขณะที่มูลค่าการท่องเที่ยวนั้นคิดเป็น 12.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมือง

แม้ปี 2019 จะเป็นปีที่เมืองเกียวโตมีแนวโน้มของการเติบโตทางด้านการท่องเที่ยวที่ดี และมีรายรับเกินกว่า 1 ล้านล้านเยน แต่สถานการณ์หลังจากนั้นกลับแย่ลงอย่างรวดเร็ว

ในปี 2021 ‘ญี่ปุ่น’ มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าสู่ญี่ปุ่นเพียง 245,900 คน ลดลง 99.2% จากระดับก่อนเกิดโรคระบาด แน่นอนว่าเมื่อสถานการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติผนวกรวมกับการเดินทางภายในประเทศที่ยังไม่ปกติย่อมส่งผลกระทบต่อ ‘รายได้’ ของเมือง ‘เกียวโต’ ด้วย

จากรายงานของสำนักข่าว CCTV Finance นายกเทศมนตรีเมืองเกียวโต ยอมรับว่า รัฐบาลท้องถิ่นของเมืองเกียวโตมีหนี้สินล้นพ้นตัว หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้นมีแนวโน้มว่า เมืองอาจจะล้มละลายภายใน 10 ปีนับจากนี้

นอกจาก ‘การท่องเที่ยว’ แล้วเมืองเกียวโตยังมี ‘ปัจจัย’ อื่นๆ อีกหลายประการที่ช่วยสะสมจนเป็นเส้นทางสู่การล้มละลายด้วย

[ หนี้ก้อนใหญ่จาก ‘รถไฟใต้ดิน’ ]

หนึ่งในปัจจัยที่สะสมหนี้ปริมาณมหาศาลให้กับเมืองเกียวโต คือ รถไฟสายโทไซ (Tozai) รถไฟฟ้าใต้ดินที่เปิดอย่างเป็นทางการในปี 1997 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวเมืองและนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางรอบเมืองได้ด้วยขนส่งสาธารณะ 

การก่อสร้างรถไฟสายโทไซใช้งบประมาณไปกว่า 5.5 แสนล้านเยน (หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท) เกินงบประมาณไปสองเท่าจากแผนที่วางไว้ในตอนแรก แต่ถึงแบบนั้นรถไฟสายโทไซก็ยังไม่สามารถบริหารจัดการให้ดึงดูดผู้โดยสารให้ได้จำนวนที่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่ได้พึ่งมาเกิดขึ้นหลังจากโควิด-19 แต่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว

แม้อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้โดยสารจะขยับขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไหลเข้าสู่ญี่ปุ่นในทุกๆ ปี ก่อนเจอกับโควิด-19 แต่เมืองเกียวโตก็ยังต้องจ่ายเงินออกไปกว่า 1 แสนล้านเยน (หรือราว 2.8 หมื่นล้านบาท) เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แม้เมืองจะมี ‘โครงสร้างภาษี’ ที่มีปัญหาอยู่แล้ว

[ ไม่ใช่แค่รายจ่าย รายได้ก็มีปัญหา ]

และไม่ใช่แค่ค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ ‘รายได้’ ของเมืองเกียวโตเองก็มีปัญหา

เพราะจุดขายของเกียวโตคือ ‘ประวัติศาสตร์’ อันยาวนานกว่า 1,200 ปี ที่มาพร้อมกับสถาปัตยกรรมโบราณในเมือง ทำให้เมืองเกียวโตมีกฎหมายจำกัดความสูงของอาคารเพื่อไม่ให้ทำลายทัศนียภาพที่สวยงามและมีคอนโดมิเนียม-ตึกสูงน้อยมาก

นอกจากนั้น เมืองเกียวโตยังมี ‘ศาลเจ้า’ และ ‘วัด’ เต็มเมือง ขณะที่กฎหมายของญี่ปุ่นยกเว้นภาษีให้กับองค์กรทางศาสนาที่ได้รับการรับรอง ทำให้เมืองเกียวโตไม่สามารถเก็บภาษีที่ดินและอาคารได้มากนัก

ขณะที่ ‘ฐานภาษี’ เองก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านรายรับของเมือง เพราะเกียวโตมีประชากรกว่า 40% เป็น ‘นักเรียน’ และ ‘ผู้สูงวัย’ ที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่แทบจะไม่ต้องจ่ายภาษีแล้ว โดยจากรายงานของ YTV News ระบุว่า สัดส่วนของผู้จ่ายภาษีที่อยู่อาศัยในเมืองเกียวโตประมาณ 43.1% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในบรรดาเมืองต่างๆ

แต่เมืองก็ยังมีบริการจัดหารถบัสและรถไฟให้พลเมืองอายุ 70 ปีขึ้นไปได้เดินทางฟรีหรือมีส่วนลด รวมถึง

บริการดูแลเด็กที่ดำเนินการโดยรัฐบาล ซึ่งถือว่าดีที่สุดในประเทศ 

[ แผนสู้หนี้ของเกียวโต ]

ปัจจุบัน เมืองเกียวโตอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาเพื่อหลีกเลี่ยงการล้มละลายและการคืนอำนาจบริหารสู่รัฐบาลกลาง เพราะถ้าหากปล่อยทุกอย่างเป็นอย่างนี้ต่อไปเมืองจะต้องเจอกับหนี้สะสมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดจุดที่จัดการไหว ยกเว้นแต่จะสามารถลดค่าใช้จ่ายหรือหารายได้ 1.6 แสนล้านเยน (4.4 หมื่นล้านบาท) ให้ได้ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2025

‘เมืองเกียวโต’ จึงวางแผนปฏิรูปเมือง โดยการปรับโครงสร้างทางการเงินหลายอย่าง ตั้งแต่ลดพนักงานของรัฐลง 550 ตำแหน่ง ทบทวนความช่วยเหลือทางสังคมอย่างการปรับอายุขั้นต่ำของผู้มีสิทธิ์ได้รับส่วนลดค่าโดยสารจาก 70 เป็น 75 ปี หรือปรับเงินอุดหนุนศูนย์รับเลี้ยงเด็ก 

รวมถึงปรับโครงสร้างและเรียกเก็บภาษีบางอย่าง เช่น ภาษีบ้านหลังที่สอง รวมถึงการปรับขึ้นค่าโดยสารขนส่งสาธารณะบางส่วน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีหลายฝ่ายที่มองว่าแผนปฏิรูปเบาเกินไปและอาจไม่สามารถช่วยให้เมืองรอดพ้นจากวิกฤตได้ สุดท้ายแล้วเมืองเกียวโตจะทำสำเร็จหรือไม่นั้นยากจะตอบได้และต้องจับตากันต่อไป

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า