Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในงาน LINE Thailand Now & Next: Thriving through The Economic Instability มีข้อมูลน่าสนใจจาก ‘ชินตา ศรีจินตอังกูร’ Thailand Site Leader บริษัท นีลเส็นไอคิว (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงอินไซต์ผู้บริโภคไทยไว้ว่า 

ปัจจุบันแบรนด์ต้องเข้าใจผู้บริโภคให้ลึก และรู้จริง เพราะในมุมผู้บริโภคนั้นต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจ การเมือง ภูมิศาสตร์ หนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90.3% ทำให้คนไทยเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา สามารถรับมือได้ทันที มาพร้อมการเปลี่ยนนิสัยใช้เงินเพราะต้องรัดกุมค่าใช้จ่ายมากขึ้น 

ผลสำรวจเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงินของปีที่แล้ว (ปี 2023) กับปีนี้ (ปี 2024)

        • 29% การเงินดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 
        • 35% ยังมีคนบอกว่าการเงินยังแย่อยู่

โดยคนส่วนใหญ่ยังเป็นกังวลใน 3 เรื่องใช้จ่ายหลักๆ 

        • ค่าใช้จ่ายเยอะขึ้น ค่าน้ำค่าไฟสูงขึ้น 
        • ค่าอาหารการกินแพงขึ้น
        • เศรษฐกิจไม่แน่นอน

และปัจจุบันลูกค้าต้องควักเงินซื้อของแพงขึ้นสินค้าเดิม ปริมาณเท่าเดิมถึง 17% ตัวอย่างเช่น ในเอเชียปี 2022 ซื้อสินค้าเดิมราคา 100 ดอลลาร์ แต่ราคาที่ต้องจ่ายตอนนี้คือ 111 ดอลลาร์

ในภาพรวมทั่วโลก ผู้บริโภคยังมีแนวโน้มใช้จ่ายดีขึ้น แต่ใช้จ่ายน้อยลง หรือผู้ง่ายๆ ว่าผู้คนยังซื้อสินค้าบ่อยอยู่ แต่ใช้จเงินน้อยลงในการซื้อแต่ละครั้ง ซึ่งไทยมีการใช้จ่ายที่ดีขึ้นกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก

[ ไทยมีคนไม่ได้รับผลกระทบทางการเงินสูงถึง 20% ]

อย่างไรก็ตาม มีอีกอินไซต์ที่น่าสนใจของคนไทยเลยคือ 20% ของผู้บริโภคบอกว่าพวกเขาอยู่ในกลุ่มที่มั่นคงทางการเงิน (เพิ่มขึ้นจาก 13% ในปีที่แล้ว) หรือพูดง่ายๆ ว่ากลุ่มนี้ไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่พวกเขาก็ยังคงรัดกุมและระมัดระวังการใช้จ่ายอยู่ 

และ 84% ของคนไทยกำลังมองหาแหล่งรายได้เสริมจากงานหลัก เพื่อสร้างรายได้และหาเงินมาใช้จ่ายได้ตามใจตัวเองได้มากขึ้น

สะท้อนให้เห็นว่าแม้คนไทยจะมีแนวโน้มใช้จ่ายดีขึ้น แต่ก็มาพร้อมกับการคิดก่อนใช้มากขึ้น และมองหาการสร้างรายได้ที่เยอะขึ้น 

[ ส่องพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ]

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อาทิ 

        • 53% ชอบอยู่บ้านมากกว่าไปใช้จ่ายนอกบ้าน
        • 44% แพลนการใช้จ่ายมากขึ้น
        • 33% ซื้อแค่ของที่จำเป็นเท่านั้น
        • 2 ใน 3 ของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย
        • 1 ใน 2 ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลจากผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์ หรือกลุ่มอินฟลูฯ นักรีวิวต่างๆ 

[ สิ่งที่แบรนด์ต้องปรับไปพร้อมกับลูกค้า ]

ในฝั่งของแบรนด์ก็ต้องเตรียมรับมือกับผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

        • ช่องทางขายที่ทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ ต้องพัฒนาแนวทางใหม่ของการช้อปปิ้งแบบผสมผสาน (Omni-channel) 
        • ใช้ AI มาช่วประเมินความคาดหวัง ความต้องการ และนิสัยการใช้จ่ายของผู้บริโภค
        • วิเคราะห์ราคาสินค้า ในกรณีที่แบรนด์ต้นทุนสูงขึ้น เราจะขึ้นราคาหรือลดปริมาณ หรือออกมาแก้ไขปัญหาอย่างไรที่จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคยังคงเลือกซื้อเราอยู่

สรุปได้ว่า ผู้บริโภคไทยยังมีการใช้จ่ายที่บ่อยอยู่ แต่ใช้เงินน้อยลง รัดกุมการใช้จ่าย คิดก่อนซื้อมากขึ้น เน้นซื้อที่จำเป็น รวมถึงยังเน้นอ่านรีวิวหรือศึกษาสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ แต่ยังคงซื้อผ่านทางออฟไลน์-ออนไลน์ อยู่ที่โปรโมชั่นไหนถูกกว่า

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า