SHARE

คัดลอกแล้ว

ตำนานเป็นหนี้ไม่จ่ายของจริง เริ่มที่ กยศ. ที่ผ่านมา กยศ. หรือ กองทุนเพื่อการศึกษา มักจะออกมาขอความร่วมมือในทุกปีให้มีการจ่ายหนี้การศึกษา เชิญชวนก็แล้ว ปรับหลักเกณฑ์เอื้อให้สะดวกในการทยอยผ่อนจ่ายต่างๆ นาๆ  แม้กระทั่งแนวคิดลดดอกเบี้ย ไปจนถึงใช้ไม้หนัก ประสานไปยังนายจ้างเพื่อหักเงินส่งหนี้

แม้จะมีลูกหนี้ชั้นดีที่เพียรใช้หนี้มาเรื่อยๆ จนปิดหนี้ไปได้สำเร็จ เพื่อให้รุ่นน้องได้มีเงินหมุนเวียนกันต่อไป แต่ตำนานเป็นหนี้ไม่จ่ายก็เกิดขึ้นตลอดเช่นกัน 

ล่าสุดโลกโซเชียลเบียวไปไกล มีคนโพสต์ชักชวนและรีวิวให้คนที่กู้ยืม กยศ. ไม่ต้องชำระหนี้คืน แถมถึงขนาดมาสอนวิธี ‘บิดหนี้’ ให้ด้วย ทำให้กยศ. ที่ถูกมองว่าเสี่ยงจะล้มอยู่แล้วก็ยิ่งเสี่ยงเข้าไปอีก มีนักวิเคราะห์คาดว่าเงินทุนให้เด็กยืมเรียนต่อคงมีถึงแค่ไตรมาสแรกของปีหน้าแล้วด้วยซ้ำ

เรื่องราวนี้เป็นอย่างไร กยศ. กำลังเผชิญอะไรอยู่ TODAY Bizivew จะสรุปให้

ปกติแล้ว นักเรียน นักศึกษาที่ต้องการกู้ยืมเงินจาก กยศ. ก็จะเริ่มกู้ยืมกันตั้งแต่ ม.ปลาย หรือเทียบเท่า (กศน.) และระดับปริญญาตรีหรืออนุปริญญา โดยที่หลักๆ กองทุนนี้จะช่วยจ่ายค่าเทอมและค่าใช้จ่ายรายเดือน และค่าอุปกรณ์การเรียน โดยค่าเทอมที่เราเรียน จะกลายเป็นวงเงินที่เราได้รับ

กยศ. มีเงื่อนไขในการคืนน้อยมากคือ หลังเรียนจบก็สามารถเริ่มชำระคืนได้หลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นระยะเวลา 2 ปี ด้วยดอกเบี้ยแสนต่ำแค่ 1% และผ่อนเริ่มต้นไม่กี่บาท บางคนก็ผ่อนตั้งแต่หลักร้อยปลายๆ ไปจนถึงหลักพัน และที่สำคัญ ผ่อนได้นานถึง 15-20 ปี

สมมิตว่า เรากู้ยืมมาในยอด 200,000 บาท ดอกเบี้ย 1% ผ่อนได้ 15 ปี หลังเรียนจบเราต้องผ่อนคืนราวๆ 1,200 บาทเท่านั้น จะเห็นได้ว่ายอดมันถูกมากๆ และผ่อนได้นานด้วย

หลังเรียนจบคนกู้ยืมก็มีหลายรูปแบบมากๆ เช่นกัน มีทั้งผ่อนต่ออยู่เรื่อยๆ เพราะดอกเบี้ยมันถูก กับปิดหนี้ไปเลยหลังมีรายได้พร้อมปิด หรือกลุ่มที่ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย 

โดยที่ทุกคนต่างรู้ดีว่าทุกๆ สัญญากู้ยืมของกยศ. หลังรุ่นพี่ที่กู้ไปปิดหนี้เสร็จแล้ว เงินเหล่านั้นก็จะเอาเข้ากองทุนเพื่อไปปล่อยกู้ต่อ หรือพูดง่ายๆ ว่าพี่จ่ายหนี้จบ จะช่วยส่งน้องได้เรียนต่อ

ที่น่ากลัวคือ กลุ่มคนไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และกำลังทำให้ กยศ. เดือดร้อน เด็กรุ่นใหม่กำลังเสี่ยงไม่ได้รับเงินกู้ยืมต่อ

[ สัดส่วนบริหารเงินไม่สมดุล กำลังจะถังแตกแล้ว? ] 

เพราะกว่า 64.4% ของสัดส่วนการกู้ยืมกยศ. เป็นหนี้เสีย หรือพูดง่ายๆ ว่าคนที่ยืมไปไม่จ่ายคืนเยอะมาก ตอนนี้อาจจะอยู่ได้แค่ถึงสิ้นเดือนธ.ค.นี้เท่านั้น

เราลองมาดูงบประมาณกยศ. ย้อนหลัง 3 ปี ซึ่งเป็นข้อมูลที่ศึกษาวิจัย โดย ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง 101 Public Policy Think Tank (101 PUB) จะพบว่า

        • ปี 2565 งบประมาณอยู่ที่ราวๆ 28,920 ล้านบาท เงินที่กยศ. ต้องจ่ายรายปีอยู่ที่ราวๆ 40,337 ล้านบาท ขณะที่กระแสเงินสดอยู่ที่ -11,416 ล้านบาท
        • ปี 2566 งบประมาณอยู่ที่ราวๆ 27,378 ล้านบาท เงินที่กยศ. ต้องจ่ายรายปีอยู่ที่ราวๆ อยู่ที่ราวๆ 39,078 ล้านบาท ขณะที่กระแสเงินสดอยู่ที่ -11,700 ล้านบาท
        • ปี 2567 งบประมาณอยู่ที่ราวๆ 26,908 ล้านบาท เงินที่กยศ. ต้องจ่ายรายปีอยู่ที่ราวๆ 42,643 ล้านบาท ขณะที่กระแสเงินสดอยู่ที่ -15,734 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่างบ กยศ. เองก็ไม่เท่ากันสักปี และน้อยลงเรื่อยๆ ขณะที่งบรายจ่ายเงินทุกปีสูงกว่ารายรับ กระแสเงินสดติดลบเรื่อยๆ 3 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยแล้วกระแสเงินสดติดลบเฉลี่ย 12,950 ล้านบาท (-28.4% ต่อปี) 

ซึ่งในปีหน้า (ปี 2568) งบจะออกมาราวๆ  27,678 ล้านบาท  และเพื่อไม่ให้ กยศ. ถังแตก สภาผู้แทนราษฎร (สส.) จึงได้อนุมัติงบประมาณปี 2568 เพิ่มเข้าไปอีกเกือบ 4,573.0 ล้านบาท แต่ขนาดของการช่วยเหลือยังไม่เพียงพอ เพราะถ้าเงินสดสะสมในงบปี 2568 ลดลงเฉลี่ยเดือนละ 1,079.2 ล้านบาท เท่ากับที่ลดลงในช่วงปี 2565- 2567 งบสนับสนุน 4,573.0 ล้านบาท ช่วยยื้อเวลาถังแตกออกไปได้อีกเพียง 4.2 เดือนเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่าแค่พ้นช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า

และถ้าอิงจากตัวเลขก็ต้องยอมรับว่าสภาพคล่องของกยศที่มีเป็นทุนหมุนเวียนให้ได้ใช้ต่อกันไม่สมดุล หรือที่เราเรียกกันว่ารายได้ไม่พอกับรายจ่ายนั่นแหละ 

ปัจจุบันกยศ. ต้องจ่ายให้ 2 กลุ่มหลักๆ ในรายเดือน ก็คือ 

        1. กลุ่มที่นักเรียน นักศึกษาเดิมยืมอยู่แล้ว ต้องยืมต่อจนเรียนจบ
        2. กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการจะกู้เป็นรายใหม่

แน่นอนว่าถ้ารายจ่ายไม่สมดุลกันเช่นนี้ ทั้ง 2 กลุ่มก็จะต้องเผชิญวิกฤตเข้าไปด้วย กลุ่มคนกู้เก่าการเงินอาจสะดุด ขณะที่กลุ่มคนกู้ใหม่ก็อาจโดนตัดสิทธไปเลย 

ปัจจุบันมีคนกู้ กยศ. อยู่ประมาณ 3.6 ล้านคน แต่มีคนที่เรียนจบและต้องชำระเงินแล้ว 2.6 ล้านคน  ที่บอกไปตอนต้นว่ามีสัดส่วนหนี้เสียอยู่ 64.4% จะเท่ากับมีคนไม่คืนเงินอยู่ราวๆ 1.67 ล้านคน 

ที่น่าห่วงคือ กลุ่มคนที่ออกมารีวิวบนโลกโซเชียลให้คนไม่จ่ายกยศ. มากขึ้น ถ้าเกิดมีคนทำตามจริงๆ ลองคิดภาพดูว่าจะมีหนี้เสียตามมาขนาดไหน 

ขณะเดียวกันทางกยศ. เองก็ไม่ได้อยู่เฉยออกมา ย้ำถึงความสำคัญของเงินกู้ยืมที่มาจากงบประมาณแผ่นดินและเงินที่ได้รับชำระหนี้จะเป็นการส่งต่อจากผู้กู้ยืมรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง และขอให้ผู้กู้ยืมทุกคนที่เคยได้รับโอกาสจาก กยศ. มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ

แต่ก็ไม่รู้จะได้ผลหรือมีคนเชื่อฟังแค่ไหน เพราะถ้าเชื่อฟังจริงๆ ยอดหนี้เสียคงไม่พุ่งขนาดนี้

สรุปง่ายๆ ว่า กยศ. มีรายจ่ายต่อเดือนมากกว่ารายรับ รุ่นพี่ที่กู้เงินไปไม่ยอมจ่ายคืน ตอนนี้มีคนไม่คืนเงินอยู่ราวๆ 1.67 ล้านคน แถมยังมีบางคนไปชักชวนกันให้ไม่จ่ายคืนอีก ทำให้รุ่นน้องที่กำลังเรียนอยู่ก็เสี่ยงจะวิกฤต ขณะเดียวกันงบประมาณใหม่ออกมาก็อุดรอยรั่วนี้ไม่พอจริงๆ 

ส่วนเรื่องเสี่ยงล้มไหม ทางองค์กรยังไม่ได้ออกมาพูดอะไร…

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า