Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เสียงดังเซ็งแซ่เต็มห้องโถงของสมาคมฝรั่งเศสประเทศไทย ค่ำวันที่ 27 มกราคม 2564 แขกเหรื่อแต่ละคนสวมหน้ากากอนามัยสนทนากัน ค่ำคืนนี้ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสิร์ฟ มีแต่น้ำผลไม้ ถึงกระนั้นบทสนทนาก็ยังดำเนินไปอย่างออกรส

ค่ำคืนแห่งความคิด (์Night of Ideas) เป็นที่รู้กันว่าเป็นค่ำคืนที่นักเรียนนักศึกษาฝรั่งเศสจะออกไปขยายโลกทัศน์ตามงานเสวนาต่าง ๆ ที่พร้อมใจกันจัดเต็มเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา สถานทูตฝรั่งเศสที่กระจายไปทั่วโลกพยายามขยายวัฒนธรรมนี้ออกไปด้วยการจัดงานค่ำคืนแห่งความคิดพร้อมกันในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ในปีนี้ท่ามกลางบรรยากาศหลายประเทศอยู่ภายใต้การล็อกดาวน์จากสถานการณ์โลกระบาด หัวข้อสะท้อนสิ่งที่ทุกคนโหยหา “ใกล้เข้ามากขึ้น (Plus Proches – Closer)”

จากคำเพียงคำเดียวนี้ สถานทูตของแต่ละประเทศหยิบไปตีความหมายและจัดบทสนทนาในบริบทที่เกี่ยวข้องกับตัวเองขึ้นมา สำหรับประเทศไทย พวกเขาตัดสินใจโยงความใกล้ชิดเข้ากับการพัฒนาเมืองใหญ่ 

“เราอยู่กันในเมืองใหญ่ จะใกล้กันมากขึ้นได้ก็ต้องหาทางให้คนออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น ซึ่งจริง ๆ ก็มีหลายวิธีแต่การพัฒนาเมืองก็เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะสร้างทางให้คนเดินออกมามีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น ทั้งในสวน บนท้องถนน” 

อีฟ ลูแบง  ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมและความร่วมมือ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยบอกผู้สื่อข่าว 

อีฟ ลูแบง  ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมและความร่วมมือ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

 

แต่เส้นทางการทำให้เมืองน่าอยู่ก็เรียบพอ ๆ ฟุธปาธในกทม. คือไม่มีความราบเรียบเลย

“เคยทำเรื่องฟุธบาทในเขตโรงแรมนี่แหละ ตอนนั้นเส้นทางสั้นนิดเดียว ต้องประสาน 18 หน่วยงาน” ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เผยขึ้นในวงสนทนาเมื่อพูดถึงความซับซ้อนในการทำให้เมืองเป็นเมืองที่เดินง่ายขึ้น 

ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)

ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองระบุว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบการบริหารแบบราชการที่ซับซ้อน รวมศูนย์และกระจัดกระจายในเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พบความห่างเหินของหน่วยงานภาครัฐกับชุมชน

เธอเล่าว่ากรุงเทพเป็นเมืองใหญ่ ความต้องการหลากหลายของแต่ละกลุ่มหลากหลายมาก UddC เข้ามามีบทบาทในการใช้วิธีการ (Methodology) ในการรับฟังความต้องการของคนในพื้นที่ ส่งเชื่อมไปยังภาครัฐ และติดตามความคืบหน้า

“พอมาจากความต้องการของเขาแล้วคนในชุมชนกระตือรือร้นมาก” เธอเล่าเป็นมุกตลกว่าคนในชุมชนกล่าวว่าหากโครงการของพวกเขาไม่ได้รับการติดตาม “แฟลชม็อบกลางแม่น้ำเจ้าพระยามาแน่”

โครงการที่เธอพูดถึงคือโครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณช่องกลางสะพานพระปกเกล้า โครงการนี้ริเริ่มโดยชุมชนบุปผารามแห่งย่านกุฎีจีน กลายเป็นพื้นที่สาธารณะในเมืองแห่งใหม่ที่นอกจากเชื่อมสวนเข้ากับเมือง ยังเชื่อมร้อยย่านต่าง ๆ ที่อุดมไปด้วยแหล่งประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตเข้าหากัน ก่อนระบุว่า“นี่เป็นโครงการที่พูดได้เต็มปากว่ามาจากฐากรากอย่างแท้จริง” 

ชุมชนบุปผารามเป็นหนึ่งชุมชนในย่านกุฎีจีน-คลองสาน ซึ่งเป็นย่านที่มีชุมชนเข้มแข็งที่สุดย่านหนึ่งในกรุงเทพมหานคร สรายุทธ ทรัพย์สุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่าความเข้มแข็งนี้ทำให้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีนได้สำเร็จ ขณะที่หม่อมหลวงจิราทิพย์ เทวกุล สะท้อนว่าในกลุ่มคนรุ่นใหม่ของพื้นที่ก็เข้มแข็งพอจะสร้าง “กลุ่มยังธน” กำหนดทิศทางในการสร้างความหมายของพื้นที่ในชุมชนได้อย่างแข็งขัน

ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ม.ล.จิรทิพย์ เทวกุล นักวิจัยและสถาปนิกของศูนย์บริการวิจัยและออกแบบ มจธ.

ไม่ใช่ทุกชุมชนโชคดีแบบนั้น

ดร.อาแดล เอสโปซิโต นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส (CNRS) อยู่ในวงดังกล่าวด้วย

“ในฝรั่งเศสหรืออิตาลีเราไม่พูดถึงชุมชนเยอะขนาดนี้ แต่ในประเทศไทยเราได้ยินคำนี้ตลอดเวลา ชุมชนในประเทศไทยให้ความหมายของความใกล้ชิดด้วย“ เธอโยงคำว่าชุมชนกับธีมงาน “Closer”

ดร.อาแดล เอสโปซิโต นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส (CNRS) และวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย (IRASEC)

แต่ชุมชนในไทยก็ยังเผชิญความท้าทายเมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหาการถือครองที่ดินในเมืองใหญ่ (Gentrification) เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมาสำนักข่าวรอยเตอร์ 

“ฉันก็เห็นมาจากงานวิจัยของตัวเอง ประชาชนในชุมชนเป็นได้ทั้งตัวแสดงที่เป็นผู้ทำและผู้ถูกระทำของกระบวนการ Gentrification คือเขาเองก็ตกอยู่ใต้กระแสโลกาภิวัฒน์แต่ในเวลาเดียวกันพวกเขาก็เป็นเหยื่อของสถานที่ที่ถูกเปลี่ยนชนชั้น (Gentrified)ไปเหมือนกัน”

“แต่สิ่งที่เป็นจุดเด่นของประเทศไทยคือคนในพื้นที่รู้ถึงคุณค่าของแต่ละสถานที่ค่อนข้างดี และบางเคสก็คือคนในชุมชนที่ลุกขึ้นมาสร้างส่วนร่วมกับกระบวนการนี้ด้วย”

การมีส่วนร่วมของพลเมืองในการสร้างเมือง

อาแดลยังสวมอีกหมวกหนึ่งคือเป็นนักวิจัยศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย (IRASEC) วงสนทนาประจำค่ำคืนจึงมีเรื่องราวจากประเทศเพื่อนบ้านมาแบ่งปัน ตั้งแต่เรื่องที่ว่ามะละกาในมาเลเซียกำลังมีโครงการสร้างท่าเรือและเขตเมืองขนาดใหญ่ แต่โครงการเจ้าปัญหาดันเปลี่ยนทางน้ำและทำให้ชายฝั่งเปลี่ยนรูปไป ทำให้ชุมชาวประมงลูกผสมเชื้อสายโปรตุเกสที่หลงเหลือในมะละกาต้องรวมตัวกันดิ้นรนเฮือกสุดท้ายที่จะทำให้ปากท้องของเขาไม่ถูกความเป็นเมืองทำลายไป ขณะที่สีหนุวิลล์ก็กำลังถูกเปลี่ยนเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยตึกระฟ้าแต่สิทธิแรงงานต่ำเตี้ยเรี่ยดิน สาวชาวกัมพูชาลุกขึ้นมาต่อรองกับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการเปิดที่พักและบาร์ นี่เองที่ว่าคนในพื้นที่เป็นทั้งเหยื่อและผู้แสวงหาในเวลาเดียวกัน

“คนที่อยู่ในเมืองต่อสู้ด้วยกันทั้งนั้นในการทำให้ฝันของพวกเขาเป็นจริง” อาแดลชี้ แจกแจงว่าในมาเลเซียพวกเขาสู้เป็นชุมชน ส่วนในกัมพูชามีลักษณะปัจเจกนิยม แต่เมื่อกระบวนการการสร้างเมืองไม่ได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของพลเมือง ไม่มีใครทำฝันให้เป็นจริงได้ง่าย 

แล้วทำยังไงพลเมืองถึงจะมีบทบาทในการสร้างเมืองได้มากขึ้น? พิธีกรถาม

“มีใครรู้ไหมว่าผอ.เขตตัวเองคือใคร” ดร.นิรมลถามก่อนเล่าว่าความฝันอย่างหนึ่งของเธอคือการได้เลือกผอ.ระดับเขตโดยเชื่อว่าจะเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาเมืองในระดับพื้นที่สอดรับกับความต้องการของพลเมืองอย่างแท้จริง 

ไม่มีใครรู้ว่าคนกรุงเทพฯจะได้เลือกตั้งเขตเมื่อไหร่ หรือชุมชนอื่น ๆ จะผลักดันโครงการในลักษณะเดียวกันกับสะพานของดร.นิรมลได้สำเร็จอีกหรือไม่ แต่บทสนทนาในค่ำคืนเดียว ชวนให้คนวาดฝันถึงภาพใหญ่ได้หลายอย่าง

“ปกติฉันก็พูดกันแต่ในหมู่นักวิจัย แต่แน่นอนว่าเราอยากให้งานวิจัยของเราแพร่กระจายไปมากกว่านี้ ไปสู่สาธารณชนโดยเฉพาะให้ไปถึงคนที่มีอำนาจตัดสินใจในเมือง” ดร.อาแดลสะท้อนถึงโอกาสในการแชร์ไอเดียในค่ำคืนนี้

“ในฝรั่งเศส โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยก็จะมีแนวคิดเรื่องของการโต้เถียง แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอยู่แล้ว เริ่มมาตั้งแต่ขบวนการ 1968 ที่คนอยากจะเป็นอิสระมากไปกว่านี้ ก็เลยมีการท้าทายความเชื่อที่คนเชื่อกันมานานในสังคม มีการบรรยายความรู้ต่าง ๆ ให้กันและกัน อย่างค่ำคืนของความคิด หรือ Night of Ideas ก็คือการหาจิตวิญญาณแบบนี้นี่แหละ ให้คนมีโอกาสมาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดกัน บางทีเราไม่มีโอกาสได้เจอคนที่ไม่เห็นด้วยกับเราเลย หรือคนที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ แต่เราก็ทำให้คนได้เห็นมุมมองต่าง ๆ และนำมาพัฒนาได้ ” อีฟเล่าให้ผู้สื่อข่าวฟัง

“พอได้แลกเปลี่ยนไอเดียกัน คนก็จะรู้ว่าแต่ละเรื่องสำคัญยังไง เราสร้างแรงเปลี่ยนแปลงได้ไหม เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง อย่างเรื่องนี้เราก็หวังว่าคนจะเข้าใจว่ามันเกี่ยวข้องกับหลายเรื่องมากมายเต็มไปหมด ทั้งเรื่องมลพิษทางอากาศ มลพิษทางพลาสติก และการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยทั่ว ๆ ไปมันเชื่อมโยงไปหมด ซึ่งนอกจากคนเก็บไปพูดเก็บไปคิดแล้วเราก็หวังว่ามุมมองใหม่ ๆ จะทำให้เขาเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตเล็ก ๆ เพื่อสร้างแรงเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ได้”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า