Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รวมพลคนทำงาน ข้างสภาฯ หนุน ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล เสนอทำงาน 5 วัน/สัปดาห์-ลาพักร้อน 10 วันสะสมได้-ขึ้นค่าแรงทุกปี

เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน เดินทางมารวมตัวชุมนุมบริเวณด้านข้างอาคารรัฐสภา เพื่อเรียกร้องให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ทุกพรรคการเมือง โหวตเห็นชอบ รับหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล ในการลงมติวาระที่ 1 ของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันนี้ (28 ก.พ. 67)

กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับก้าวไกล เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนมานานกว่า 20 ปี โดยมีสาระสำคัญ 9 ข้อ ดังนี้

1. คนทำงานทุกคนคือแรงงาน เปลี่ยนนิยาม “ลูกจ้าง” ให้ครอบคลุมทุกรูปแบบการจ้างงาน รวมถึงอาชีพไรเดอร์ ฟรีแลนซ์ และแรงงานอิสระ เพื่อให้แรงงานทุกคนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน

2. การจ้างงานรายเดือน ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน คือ 30 วัน รวมถึงค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี และวันลาป่วยตามกฎหมายกำหนด

3. เปลี่ยนรายวันเป็นรายเดือน ในสถานประกอบการ ที่มีทั้งการจ้างงานรายวันและรายเดือน ผู้จ้างจะต้องจ้างเป็นรายเดือนทั้งหมดโดยไม่เลือกปฏิบัติ

4. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำทุกปีอัตโนมัติ กำหนดหลักเกณฑ์การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรายปี โดยต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าเงินเฟ้อ เช่น หากได้รับค่าแรง 400 บาท อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% จะได้รับค่าแรง 412 บาทอัตโนมัติ โดยไม่ต้องรอการประชุมไตรภาคี

5. ทำงาน 40 ชั่วโมง หรือ 5 วันต่อสัปดาห์ เวลาทำงานรวมทั้งสิ้นของลูกจ้างต้องไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากเกินต้องได้เงินค่าทำงานนอกเวลา (OT) และนายจ้างต้องจัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 วัน

6. ลาหยุด 10 วันต่อปี สะสมได้ ให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 120 วัน มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 10 วันทำงาน

7. ลาดูแลผู้ป่วย ลูกจ้างมีสิทธิลาไปดูแลบุคคลในครอบครัว หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดปีละไม่เกิน 15 วันทำงาน

8. พื้นที่ปั๊มนมในที่ทำงาน สถานที่ทำงานต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นในการให้นมบุตร หรือบีบเก็บน้ำนมในที่ทำงาน

9. ห้ามเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเท่าเทียม ไม่กีดกัน แบ่งแยก จำกัดสิทธิ ทั้งจากความแตกต่างทางถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ความพิการ หรือความเห็นทางการเมือง

ภาพ เจมส์ วิลสัน / Thai News Pix

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า