SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและเครือข่ายแรงงาน แถลงกระตุ้นรัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาสิทธิแรงงานก่อนถึงกำหนดสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร ซึ่งมีกำหนดวันที่ 25 เมษายน 2563

“รัฐบาลต้องแสดงเจตนารมณ์ ชี้แจงว่าได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการตัดสิทธิ GSP โดยกำหนดแผนงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน กับการดำเนินตามมาตรฐานแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ โดยกำหนดแผนงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน” นายสมพร ขวัญเนตร ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวระหว่างงานเสวนา “ทำอย่างไรไม่ให้ถูกตัดสิทธิ์ GSP” วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพมหานคร

เนื้อหาแถลงการณ์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเรื่องร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ให้ “แก้ไขข้อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการสมาคม การจัดตั้งสหภาพแรงงาน การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเจรจาต่อรองของลูกจ้างเหมาค่าแรง-แรงงานข้ามชาติ” เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการให้สัตยาบรรณในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 81 และ 98

“ในฐานะคนไทยด้วยกันเรารู้สึกเจ็บปวดกับการที่ประเทศไทยจะถูกตัดสิทธิ GSP” นายชาลี ลอยสูง รองประธานคสรท.กล่าวบนเวทีเสวนา พร้อมทั้งชี้แจงว่าผลของการตัดสิทธิครั้งนี้จะทำให้สินค้า 321 รายการถูกยกเลิกสิทธิพิเศษด้านภาษีนำเข้า ในจำนวนนี้ไม่ได้นับรวมรายการสินค้าที่มีการยกเลิกการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งชาลีชี้ว่าผลของการที่ต้นทุนในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นทำให้ “จะมีการปลดออกเลือกจ้างคนงานประมาณ 40,000 คน หลังวันที่ 25 จะมีปัญหา”

จีเอสพี หรือ สิทธิพิเศษทางศุลกากร  (Generalized System of Preferences-GSP) เป็นสิทธิพิเศษที่สหรัฐอเมริกาให้การช่วยเหลือทางการค้าแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระต้นทุนการส่งออกของประเทศต้นทาง เพื่อให้ราคาสินค้าจากประเทศนั้นที่วางขายในสหรัฐฯมีราคาต่ำและสามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศพัฒนาแล้วได้

ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษนี้จากสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 เป็นสิทธิพิเศษแบบให้เปล่าโดยมีเงื่อนไขต้องเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวไม่เกิน 12,735 เหรียญสหรัฐฯต่อปี มีการเปิดตลาดสินค้าและบริการอย่างสมเหตุสมผล มีระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญหาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ มีการคุ้มครองสิทธิแรงงานในระดับที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ  ให้การสนับสนุนสหรัฐฯในการต่อต้านก่อการร้าย

วันที่ 25 ตุลาคม 2562 รัฐบาลสหรัฐฯแถลงเตรียมตัดสิทธิพิเศษนี้ เนื่องจากได้รับข้อเรียกร้องจากสหพันธ์แรงงานและสภาองค์กรอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานของรัฐบาลไทย โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 เมษายน 2563

หลังการแถลงการณ์ในวันนี้ ธนพร รวิจันทร์ รองประธานคสรท. เปิดเผยว่าจะมีการนัดรวมตัวแรงงานเพื่อยื่นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลวันที่ 3 มีนาคม 2563 และกลุ่มแรงงานจะเฝ้าดูรัฐบาลแก้ปัญหานี้อย่างใกล้ชิดก่อนถึงกำหนดตัดสิทธิ GSP

บทความที่เกี่ยวข้อง

Infographic : GSP คืออะไร ไทยโดนตัดสิทธิครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรก

Opinion | สิทธิในการเข้าร่วมสหภาพ : ทางออกปัญหาการค้ามนุษย์ในแรงงานข้ามชาติ-แรงงานนอกระบบ


แถลงการณ์ฉบับเต็ม

ตามที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศสิทธิพิเศษทางการค้ากับประเทศไทย โดยเปิดโอกาสให้ประเทศไทยไปดำเนินการแก้ไขตามที่สหรัฐอเมริกากำหนดก่อนวันที่ 25 เมษายน 2563 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและเครือข่ายแรงงานได้ขับเคลื่อนปัญหาการคุกคามละเมิดสิทธิแรงงานและได้เสนอให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาสิทธิแรงงานอย่างจริงจังมายาวนานกว่า 20 ปีจึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลดำเนินการต่อไปนี้

1.รัฐบาลต้องแสดงเจตนารมณ์ ชี้แจงว่าได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการตัดสิทธิ GSP โดยกำหนดแผนงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน กับการดำเนินตามมาตรฐานแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ โดยกำหนดแผนงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน พร้อมทั้งให้มีการนำร่างพ.ร.บ.แรงงงานสัมพันธ์ เข้าสู่กระบวนการพิจารณา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและสภาแรงงานรัฐวิสาหกิจจะผลักดันให้รัฐบาลมีการพิจารณาพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์โดยให้มีผลบังคับใช้ก่อนการตัดสิทธิ GSP ของประเทศอเมริกา

2.ตามข้อเสนอของสหรัฐอเมริกาต้องการให้ประเทศไทยปรับปรุงสาระสำคัญของกฎหมายแรงงาน ให้ได้ตามมาตรฐานองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ 7 ข้อนั้น โดยมีการยกร่างพรบ.แรงงานสัมพันธ์ที่มีความสอดคล้องตามข้อเสนอของประเทศอเมริกาให้แล้วเสร็จตามที่อเมริกากำหนด

3. แก้ไขข้อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการสมาคม การจัดตั้งสหภาพแรงงาน การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเจรจาต่อรองของลูกจ้างเหมาค่าแรง แรงงานข้ามชาติจะต้องมีสิทธิเสรีภาพตามมาตรฐานสากลและให้การรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 81 และ 98

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและเครือข่ายแรงงานขอประกาศว่าเราจะร่วมกันขับเคลื่อนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาโดยเร็วในลำดับต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า