SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์ของ ‘ลาว’ ประเทศบ้านพี่เมืองน้องกับไทยกำลังเผชิญหนี้สาธารณะในระดับวิกฤต เมื่อมองไปที่หนี้เงินกู้ของประเทศที่สูงถึง 122 % ของ GDP 

ตอนนี้ลาวเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 9 ของโลกตามข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 

ในจำนวนก้อนหนี้ทั้งหมด มากกว่าครึ่งมี ‘จีน’ เป็นเจ้าหนี้

เรื่องนี้พูดกันมานานแล้วว่าลาวกำลังติด “กับดักหนี้ทางการทูต” จากจีนหรือไม่ หลังจากได้รับเงินทุนสนับสนุนโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หลายโครงการในประเทศ เรามาสำรวจดูเรื่องนี้กัน

[ ลาวกู้ยืมเงินจากรัฐบาลจีนมากเกินไป ]

โครงการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่ลาวได้รับทุนสนับสนุนจากจีน คือโครงการรถไฟเชื่อมต่อเมืองคุนหมิงทางตอนใต้ของจีนกับเวียงจันทน์ของลาว มูลค่าโครงการ 5.9 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.99 แสนล้านบาท) 

ซึ่งโครงการนี้เป็นหนึ่งในอภิมหาโปรเจ็กต์ยักษ์ของจีน “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” Belt and Road Initiative หรือ  BRI ที่เปิดตัวขึ้นเมื่อปี 2556 เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางการค้าระหว่างเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน 

โครงการนี้เป็นแผนการลงทุนระยะยาวของจีนที่เสนอตัวเป็นนายทุนให้เงินกู้ยืมแก่ประเทศต่าง ๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้างในประเทศนั้น ๆ 

‘ลาว’ เป็นหนึ่งในประเทศที่กู้ยืมเงินหลายพันล้านดอลลาร์จากจีนเพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับทางรถไฟ ทางหลวง เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 

โดยจีนลงทุนการเงิน 70% ของมูลค่าโครงการ ส่วนที่เหลือลาวรับผิดชอบ ซึ่งระหว่างกระบวนการก่อสร้าง เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของลาวก็หร่อยหรอลงไปด้วย เพราะแบ่งไปจ่ายหนี้ที่ติดค้างจีนไว้ 

ขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังซ้ำเติม ทำให้ลาวเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ ราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินกีบของลาวอ่อนค่าที่สุดในรอบ 20 ปี (100,000 กีบอยู่ที่ 169.23 บาท) 

สภาพตอนนี้จึงทำให้ลาวกำลังเผชิญวิกฤตหนี้ครั้งใหญ่ด้วยมูลค่าก้อนหนี้ราว 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

และน่าห่วงว่ากำลังเป็นหนี้ที่ไม่สามารถจ่ายได้ 

นักวิเคราะห์ในต่างประเทศห่วง  ‘วิกฤตหนี้ลาว’ ว่าอาจจะใหญ่เกินกว่าที่คิดไว้ และเสี่ยงเผชิญภาวะเศรษฐกิจล่มสลาย สิ่งที่ต้องรีบคือลาวต้องเร่งทำข้อตกลงลดหนี้สินอย่างจริงจังกับจีนเพื่อที่จะสามารถชำระหนี้ในระยะยาวได้ดีขึ้น

นอกจากเงินที่จมอยู่ในโครงการรถไฟ ลาว-จีนแล้ว หากย้อนไปดูปัญหาหนี้สาธารณะของลาวนั้นก็ทยอยสะสมมาก่อนหน้า จากการที่ลาวสร้างเขื่อนหลายสิบแห่ง 

โดยได้รับทุนสนับสนุนจากต่างประเทศตามวิสัยทัศน์ที่ลาวจัดวางสถานะตัวเองเพื่อมุ่งหน้าสู่ “แบตเตอรี่แห่งอาเซียนและเอเชีย” ส่งออกพลังงานไฟฟ้าไปขายประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค 

แต่ต่อมาบริษัทผลิตไฟฟ้าของรัฐมีหนี้ 5 พันล้านดอลลาร์ เมื่อขาดเงินทุน ลาวจึงให้สัมปทาน 25 ปี กับบริษัทที่มีสัดส่วนชาวจีนถือหุ้นจำนวนมาก เพื่อจัดการโครงข่ายไฟฟ้าส่วนใหญ่ในประเทศ รวมถึงการควบคุมการส่งออกด้วย

[วิกฤตหนี้ทำผู้คนสิ้นหวัง]

สถานการณ์วิกฤตหนี้ของลาวที่อาจบานปลายจนผู้คนในประเทศรู้สึกสิ้นหวัง สะท้อนผ่านรายงานของ บีบีซี ที่ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจและพูดคุยกับประชาชนในลาวที่มองว่าชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขารู้สึกไม่มั่นคง ผู้คนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ตั้งคำถามและไม่เชื่อมั่นรัฐบาล ตลอดจนเกิดข้อวิจารณ์ถึงอำนาจอิทธิพลของจีนในลาว 

รายงานชิ้นนี้ระบุว่า คนรุ่นใหม่ในลาวกำลังรู้สึกสิ้นหวัง โดยเฉพาะกลุ่มเจนซี (GEN Z) เริ่มไม่เห็นอนาคตตัวเองในประเทศบ้านเกิดและคิดที่จะหาทางโยกย้ายไปใช้ชีวิตทำงานในต่างแดนเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มคนสูงวัยก็ใช้ชีวิตแบบหาเงินเลี้ยงชีพให้รอดไปแต่ละวัน 

“ความรู้สึกท้อแท้ในหมู่คนรุ่นใหม่ของลาวควรต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน” ตัวแทนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ที่ประจำในลาวให้ความเห็น

[ นักวิเคราะห์คาดการณ์ ]

‘ณัฐนิชา เทพพรพิทักษ์’ นักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บล.เกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์ถึงสถานการณ์นี้ว่า ลาวมีหนี้สินต่างประเทศสูง และเงินสำรองระหว่างประเทศไม่เพียงพอต่อการชำระคืนหนี้เหล่านั้น

เศรษฐกิจลาวจะล่มหรือไม่ ตัวแปรสำคัญขึ้นอยู่กับประเทศจีนที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของลาว โดยที่ผ่านมามีการผ่อนผันชำระคืนหนี้ให้ลาวมาตลอดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา 

แม้เราคาดว่าจีนจะยังคงให้ความช่วยเหลือลาวต่อไป แต่ก็เป็นความเสี่ยงหากในอนาคตจีนเปลี่ยนท่าทีไปก็อาจส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลาว และลาวต้องไปหาทางออกด้วยการขอรับความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการจากองค์กรระหว่างประเทศได้

[ ผลกระทบเศรษฐกิจลาวที่มีต่อไทย ]

ผลกระทบต่อไทยคาดว่าจะจำกัด เนื่องจากไทยส่งออกสินค้าไปยังลาวเพียงแค่ 1-2% ของ GDP เท่านั้น ขณะที่การซื้อไฟฟ้าจากลาวก็ทำเป็นสกุลเงินบาทและไทยไม่ได้ขาดแคลนพลังงาน 

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่ต้องจับตามากที่สุดคือความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรสกุลเงินบาทที่ลาวมาระดมทุนในไทย โดยเฉพาะในอีก 2 ปีข้างหน้าที่จะมีปริมาณพันธบัตรครบกำหนดค่อนข้างมากและลาวอาจเผชิญความยากลำบากมากขึ้นในการระดมทุนใหม่เพื่อนำเงินไปชำระเจ้าหนี้ (roll over) 

 

ที่มา 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า