Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เรื่องราวชีวิตที่ยิ่งกว่านิยายของเจ้าหญิงลาติฟา (Latifa) แห่งดูไบ ซึ่งสื่อชั้นนำของอังกฤษนำมาตีแผ่ว่า เธอถูกพระบิดา ซึ่งเป็นเจ้าผู้ปกครองนครดูไบกักขังภายในวังนานหลายปี จากความพยายามหลบหนีออกจากวัง กำลังตกอยู่ในความสนใจของคนทั้งโลก ที่บางส่วนออกมาเรียกร้องให้ราชวงศ์ดูไบปล่อยตัวเจ้าหญิงให้เป็นอิสระ และเรียกร้องให้มีการสอบสวนราชวงศ์ดูไบอย่างจริงจัง

เกิดอะไรขึ้นกับเจ้าหญิงพระองค์นี้ และมีอะไรที่ซับซ้อนอยู่ภายในราชวงศ์ดูไบอีกหรือไม่ วันนี้ workpointTODAY จะสรุปเรื่องนี้มาให้อ่านกัน

1.) สถานีโทรทัศน์บีบีซี เผยแพร่วีดีโอที่ระบุว่าเป็นเจ้าหญิงลาติฟา (Princess Latifa) พระธิดาในชีค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล-มักตูม เจ้าผู้ครองนครดูไบ ขณะที่พระองค์มีท่าทีตื่นกลัว พยายามอัดวีดีโอด้วยพระองค์เองในห้องน้ำ

บีบีซีระบุว่า วีดีโอชิ้นนี้ถูกอัดมาตั้งแต่หลายเดือนก่อน จากโทรศัพท์ซึ่งเธอได้มาอย่างลับๆ หลังถูกกักขังภายในตำหนักในดูไบ โดยเนื้อหาในวีดีโอ เจ้าหญิงลาติฟาได้เปิดเผยเรื่องราวที่น่าตกใจอย่างหมดเปลือก

2.) เจ้าหญิงลาติฟาเปิดเผยว่า ในตอนนี้เธอถูกขังอยู่ภายในวัง โดยมีห้องน้ำที่ดูเหมือนจะเป็นห้องเดียวที่เธอรู้สึกปลอดภัย เพราะไม่ถูกจับจ้องและสามารถปิดล็อกประตูได้เอง พร้อมเล่าย้อนไปถึงสาเหตุที่เธอถูกขังว่า มาจากความพยายามที่เธอต้องการหนีออกไปจากชีวิตในวังดูไบแห่งนี้

เจ้าหญิงลาติฟาเล่าว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เธอพยายามหนีออกจากราชสำนักดูไบ ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนคนหนึ่ง โดยทำทีออกจากวังไปร้านกาแฟ ก่อนจะขับรถหนีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อข้ามพรมแดนไปยังโอมาน และเดินทางต่อด้วยเรือหวังออกไปสู่น่านน้ำสากล เพื่อหาหนทางลี้ภัยต่อไป

อย่างไรก็ตาม เจ้าหญิงลาติฟาไม่รอดจากการจับกุม โดยเธอระบุว่า ขณะที่เรือของเธอกำลังลอยอยู่ในทะเลในมหาสมุทรอินเดีย มีหน่วยทหารจากทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอินเดียจำนวนมาก บุกไปจับกุมเธอและส่งตัวเธอกลับดูไบ

3.) เจ้าหญิงลาติฟาเล่าว่า ระหว่างที่เธอถูกส่งตัวกลับด้วยเครื่องบินเจ็ท เธออยู่ในสภาพไม่รู้สึกตัวแล้ว โดยเธอสลบไปตลอดทางจนถึงดูไบ และถูกนำตัวมาขังภายในวัง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจำการรอบวัง รวมทั้งไม่ได้รับการเข้าถึงทางกฎหมายและทางการแพทย์ด้วย

4.) ในขณะที่เจ้าหญิงลาติฟาถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เพื่อนซึ่งเคยช่วยเธอหนีได้เริ่มการรณรงค์ ‘Free Latifa’ เพื่อเปิดโปงเรื่องราวทั้งหมด พร้อมๆ กับหาทางส่งโทรศัพท์เข้าไปให้เจ้าหญิงลาติฟา จนเกิดเป็นคลิปวีดีโอที่เธอเล่าเรื่องราวของตัวเองเผยแพร่สู่ประชาคมโลก

5.) สำหรับราชวงศ์ดูไบปัจจุบัน มีชีค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล-มักตูม (Sheikh Mohammed bin Rashid al-Maktoum) เป็นเจ้าผู้ปกครองนครดูไบ และยังเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ด้วย ซึ่งที่ผ่านมาชีค โมฮัมเหม็ด ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงนครดูไบให้กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการท่องเที่ยว

ชีค โมฮัมเหม็ด มีความใกล้ชิดกับชาติตะวันตกหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร โดยพระองค์เป็นพระสหายของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่สอง และด้วยความที่เป็นเจ้าผู้ปกครองที่มีฐานะร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของโลก ทำให้พระองค์มีทรัพย์สินมากมาย และส่วนหนึ่งก็ถือครองอยู่ในอังกฤษด้วย

6.) ชีค โมฮัมเหม็ด มีพระชายาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการมากมาย โดยน่าจะมีโอรสธิดาไม่ต่ำกว่า 25 พระองค์ โดยเจ้าหญิงลาติฟาเป็นพระธิดาในพระชายาที่เป็นทางการพระองค์ที่ 2

ข้อมูลจากกลุ่มรณรงค์ ‘Free Latifa’ ระบุว่า เจ้าหญิงลาติฟาประสูติเมื่อปี 2527 ทำให้ปัจจุบันน่าจะมีอายุ 37 ปี ขณะเดียวกันยังให้ข้อมูลด้วยว่า การหนีออกจากวังจนทำให้ถูกกักขังในวันนี้ ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกของเจ้าหญิงลาติฟาที่จะออกจากชีวิตในกรงทอง

โดยกลุ่ม ‘Free Latifa’ เปิดเผยว่า เจ้าหญิงลาติฟาเคยพยายามหลบหนีออกจากวังมาแล้ว 1 ครั้งเมื่อปี 2545 ซึ่งในขณะนั้นเจ้าหญิงลาติฟามีอายุ 16 ปี แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและส่งกลับเข้าวัง โดยในครั้งนั้น พระองค์ถูกพระบิดาสั่งกักบริเวณภายในวังเป็นเวลานานกว่า 3 ปีทีเดียว

7.) เจ้าหญิงลาติฟาไม่ใช่เจ้าหญิงพระองค์แรกที่มีชะตากรรมเช่นนี้ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีเรื่องราวของเจ้าหญิงแชมซา (Princess Shamsa) ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่สาวของเจ้าหญิงลาติฟา ที่ถูกลักพาตัวขณะพำนักอยู่ในอังกฤษเมื่อกว่า 20 ปีก่อน

โดยเมื่อปี 2543 เจ้าหญิงแชมซา ซึ่งในตอนนั้นมีอายุ 18 ปี ตัดสินใจขับรถออกจากที่พักในอังกฤษเพื่อหนีออกจากวัง แต่สุดท้ายก็มีสายลับติดตามตัวและจับกุมเธอกลับดูไบได้สำเร็จ

รายงานระบุว่า เจ้าหน้าที่ได้นำตัวเจ้าหญิงแชมซานั่งเฮลิคอปเตอร์จากอังกฤษไปยังฝรั่งเศส ก่อนจะนั่งเครื่องบินเจ็ทเพื่อส่งตัวกลับไปยังดูไบ และตั้งแต่วันนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นเจ้าหญิงแชมซาในที่สาธารณะอีกเลย

8.) ตำรวจอังกฤษพยายามสอบสวนเหตุลักพาตัวเจ้าหญิงแชมซา แต่ติดอุปสรรคที่ราชสำนักดูไบไม่อนุญาตให้ทีมสอบสวนเข้าไปเก็บข้อมูลในนครดูไบ ประกอบกับหลักฐานที่ไม่มากพอ ทำให้การสอบสวนเหตุนี้ถึงทางตัน โดยในปี 2561 ศาลประจำราชสำนักดูไบระบุเพียงว่า เจ้าหญิงแชมซาได้รับการดูแลอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ได้จากการเปิดเผยโดยเจ้าหญิงลาติฟา ผ่านการแอบติดต่อกับคนใกล้ชิดภายนอกระบุว่า เจ้าหญิงแชมซาไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไปหลังถูกกักบริเวณ เพราะเธออยู่ในสภาพที่ไม่ต่างจากซอมบี้ ลืมตาไม่ได้และต้องกินยาตลอดเวลา

9.) กรณีของเจ้าหญิงลาติฟาที่ปล่อยวีดีโอขอความช่วยเหลือจากการถูกขังในวัง ทำให้มีท่าทีจากนานาชาติมากมาย โดยนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ออกมาแสดงความกังวลกับเรื่องดังกล่าว

ส่วนนายโดมินิก ราบ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษที่ชี้ว่า วีดีโอดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเผชิญความทุกข์ยากขั้นสุด และให้คำมั่นว่ารัฐบาลอังกฤษจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด แต่ยังเลี่ยงที่จะตอบว่า รัฐบาลอังกฤษจะมีมาตรการตอบโต้ เช่นการคว่ำบาตรหรือไม่ โดยอ้างว่า ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนแน่ชัด

เช่นเดียวกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ระบุว่า จะส่งเรื่องของเจ้าหญิงลาติฟาสอบถามไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พร้อมจะวิเคราะห์หลักฐานต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลต่อไป

ขณะที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประจำอังกฤษแถลงว่า เจ้าหญิงลาติฟาได้รับการดูแลที่ตำหนัก โดยได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมหวังว่าเจ้าหญิงจะฟื้นพระองค์และออกสู่สาธารณะในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป

10.) สำหรับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แม้จะเป็นประเทศที่ให้สิทธิเสรีภาพกับผู้หญิงมากกว่าชาติอื่นๆ ในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โดยผู้หญิงในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีสิทธิ์ขับรถ ลงคะแนนเสียง ทำงานและเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ด้วยตัวเอง แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าชาติอื่นๆ ในโลก

โดยเฉพาะข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งงานที่ฝ่ายหญิงจะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้คุ้มครอง (Guardian) ก่อน เช่นเดียวกับการหย่าที่ฝ่ายหญิงต้องมีคำสั่งศาลเพื่อดำเนินการหย่าได้ แตกต่างจากฝ่ายชายที่ไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากศาลเพื่อขอหย่า ทำให้ปัจจุบันสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ถูกจัดอันดับด้านความเท่าเทียมทางเพศอยู่ที่ 120 จากทั้งหมด 153 ประเทศ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า