Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘สมรสเท่าเทียม’ ผ่านสภาฯ แล้ว ขั้นต่อไปส่ง สว. พิจารณา มุ่งหน้าประเทศแรกในอาเซียน อันดับ 3 ของเอเชีย

วันนี้ (27 มี.ค.) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบร่างกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ หรือ ‘ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์’ ในวาระ 3 ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 400 เสียง ไม่เห็นชอบ 10 เสียง งดออกเสียง 2 คน ไม่ลงคะแนน 3 คน

“กฎหมายฉบับนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเท่าเทียม และพวกเราเข้าใจกันดีครับว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่ยาที่จะรักษาได้ทุกโรค แต่อย่างน้อยเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในการที่จะสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมไทย …เราจะเป็นประเทศที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม เราจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเราจะภาคภูมิใจในเวทีโลก ว่าประเทศไทยวันนี้เห็นความสำคัญของความเหลื่อมล้ำในสังคม เห็นความสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเพศ” ดนุพร ปุณณกันต์ ประธานกรรมาธิการกล่าว

การพิจารณาร่างกฎหมายในวาระ 2-3 ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) ได้พิจารณาร่างกฎหมายที่ผ่านวาระแรกทั้ง 4 ฉบับ ทั้งร่างของ สส.พรรคก้าวไกล ร่างของ สส.พรรคประชาธิปัตย์ ร่างของภาคประชาชน และร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยนำเอาร่างของ ครม. เป็นหลักในการพิจารณา

อย่างไรก็ตามสาระสำคัญที่มีการปรับเปลี่ยน เช่น อายุของผู้หมั้นและผู้สมรส จาก 17 ปี เป็น 18 ปี เพื่อให้ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก แต่สภาฯ โหวตตามมติ กมธ. เสียงข้างมาก ให้คงไว้ในข้อความที่มีการอนุโลมให้เด็กต่ำกว่าอายุที่กำหนดสมรสได้ในบางกรณีหากมีเหตุอันสมควร

ทั้งนี้ข้อเสนอของภาคประชาชนเรื่องเสนอให้เพศใดก็ได้เป็น “บุพการีลำดับแรก” เพิ่มเติมจากคำระบุแค่ บิดา มารดา เพื่อความเป็นกลางทางเพศนั้น ที่ประชุมฯ มีมติเห็นด้วยกับกมธ.เสียงส่วนมากไม่เพิ่มคำดังกล่าว เนื่องจาก กมธ.เสียงข้างมากเห็นว่าอาจเกิดความลักลั่นและความซ้ำซ้อนกันในตัวเนื้อหาของข้อกฎหมายฉบับอื่นๆ

ณชเล บุญญาภิสมภาร กรรมาธิการจากภาคประชาชน ระบุว่า “สมรสเท่าเทียมเราเดินทางมาไกลมาจริงๆ เราเริ่มการเดินทางเมื่อปี 2555 และเมื่อปี 2555 เราถูกบอกให้รอ ตอนนี้ปี 2567 เรากำลังจะได้สมรสเท่าเทียมอย่างที่เราฝัน แต่ความฝันของเราไม่เป็นจริงทั้งหมด เพราะว่าพวกเราได้รับสิทธิของการเป็นคู่สมรส แต่เราไม่ได้รับสิทธิของการเป็นบุพการี เราถูกบอกให้รออีกครั้ง และอยากจะฝากบอกพี่น้องประชาชนที่อยู่นอกสภาแห่งนี้ค่ะว่า พวกเราจะไม่หยุดต่อสู้เพื่อจะได้มาซึ่งสิทธิของการจัดตั้งครอบครัว และการเป็นบุพการีรวมถึงการรับบุตรบุญธรรมด้วย”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า