Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติ ให้ส่งเรื่องนายกรัฐมนตรีนำครม.ถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ ไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ชี้รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าต้องกล่าวคำใด 

(รักษ์เกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน)

ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน วันที่ 27 ส.ค. นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผย มติที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นำคณะรัฐมนตรีกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วน

โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้ส่งคำชี้แจงมายังผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า ได้กระทำครบถ้วนทุกกระบวนการขั้นตอนแล้วทั้งพฤตินัยและนิตินัย ผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า ในการเข้ารับหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ในมาตรา 161 ก่อนเข้ารับหน้าที่คณะรัฐมนตรีจะต้องกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณ โดยมีถ้อยคำที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามจากสิ่งที่ปรากฎในคำถวายสัตย์ปฏิญาณของนายกรัฐมนตรี ได้บอกว่า

“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนตลอดไป”

แต่มาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ว่า ให้กล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนตลอดไป ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”

จะเห็นความแตกต่างของถ้อยคำ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเห็นว่า แม้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี จะกระทำไปตามกระบวนการขั้นตอนแล้ว แต่ยังต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำที่บัญญัติในมาตราดังกล่าวให้ครบถ้วนด้วย เมื่อปรากฎข้อเท็จจริง นายกรัฐมนตรผู้ถูกร้องเรียน กล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 ด้วยถ้อยคำที่ไม่ครบ แม้จะมีคำชี้แจงจากนายกรัฐมนตรีว่าได้ทำตามกระบวนการขั้นตอนแล้วก็ตาม

แต่ว่าเมื่อคำกล่าวยังขาดถ้อยคำ ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ จึงเป็นการกล่าวถ้อยคำไม่ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำนั้นใช้บังคับไม่ได้ตามมาตรา 5 วรรค 1 อันจะส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการแผ่นดินมีปัญหาความชอบและมีอุปสรรคไปด้วย รวมทั้งปัญหาเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ เพราะฉะนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า ผู้ร้องเรียน (ภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง) จะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย อาจจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 46 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ถือได้ว่า เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ที่ได้รับการคุ้มครองไว้ ตามมาตรา 263

ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงมีมติร่วมกัน อาศัยอำนาจตามาตรา 46  แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่ละเมิด ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเรียนในฐานะประชาชน การกระทำนั้นจึงเป็นอันบังคับใช้มิได้ตามมาตรา 5 วรรค 1

(วันนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญปมคำถวายสัตย์ปฏิญาณนายกรัฐมนตรี)

“สาเหตุที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิ เพราะได้พยายามร้อยเรียงถ้อยคำ 1 เห็นว่า นายกรัฐมนตรี ไม่ได้กล่าวคำทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ถึงแม้จะครบตามกระบวนการในรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญบอกไว้ว่าให้กล่าว คำว่าอย่างไร เพราะฉะนั้นการที่ไม่ทำอย่างนั้น ถือเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญบอกว่า นายกรัฐมนตรีต้องทำตามรัฐธรรมนูญ พอไม่ทำตามมาตรา 5 บอกว่า การกระทำใดที่ขัดรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่ใช้บังคับมิได้ก็เท่ากับว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณครั้งนั้นยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ พอการกระทำไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ การกระทำที่ต่อเนื่องมาที่มีผลผูกพันจะทำให้ประชาชนได้รับสิทธิ์หรือออกคำสั่งแต่งตั้ง มีผลมิชอบไปด้วย และผู้ร้องเรียนในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ที่จะต้องได้รับสิทธิ์จากนโยบายรัฐ เขาก็ถูกกระทบไปด้วย” ส่วนคำร้องของ นายศรีสุวรรณ จรรยา และนายอัยย์ เพชรทอง มีมติยกคำร้อง

นอกจากนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาคำร้องของ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ที่ว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้ทำการรวบรัดขั้นตอน ที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา159 วรรค2และมาตรา272 วรรค 1 ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้ว มีความเห็นให้ยุติไม่เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

โดย ผู้ตรวจการแผ่นดิน พิจารณาว่า การกระทำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นไปโดยชอบของรัฐธรรมนูญ และไม่สามารถรับฟังได้ว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า