SHARE

คัดลอกแล้ว

รองนายกฯ “วิษณุ เครืองาม” ยอมรับ นายกฯ สั่งเปรียบเทียบกฎหมายหากเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ยืนยันใช้กฎอัยการศึก หรือ พ.ร.บ.ความมั่นคงไม่ได้ ขณะที่ “ภูมิธรรม” จี้ รีบยกเลิก ก่อนเศรษฐกิจประเทศจะล้มละลาย

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายกฎหมาย) กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรีสั่งให้ไปพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบความจำเป็นในการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กับการใช้กฎหมายปกติ เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า นายกรัฐมนตรีให้ไปเปรียบเทียบว่าหากมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว จะมีกฎหมายใดมารองรับ และจะทำให้เกิดผลดีหรือผลเสียต่อการควบคุมการแพร่ระบาดหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในความเป็นจริง หากมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว ก็ยังมี พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรคติดต่อฯ ที่ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจัดการ แต่ทั้งนี้ ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะใช้กฎอัยการศึก หรือพ.ร.บ.ความมั่นคง มาแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า การให้อำนาจผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัดบริหารจัดการตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ อาจเกิดความลักลั่นได้ เช่น บางจังหวัดอาจตรึง แต่บางจังหวัดอาจหย่อน เช่น ภูเก็ต กระบี่ และพังงา ที่เคยเกิดปัญหาก่อนหน้านี้ ต้องมีการโยกย้ายของคน จึงจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาคุมอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลได้ใช้กฎหมายทั้งสองฉบับนี้คู่ขนานกันมาตลอด แต่หากเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็จะเหลือพ.ร.บ.โรคติดต่อ เท่านั้น

“หากคิดว่าเอาสถานการณ์อยู่ก็โอเค ถ้าคิดว่าเอาไม่อยู่ ก็ต้องใช้กฎหมายสองชั้นซ้อนกันอยู่ เพียงแต่การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้รัฐมีอำนาจในการประกาศใช้ข้อกำหนดถึง 9 ประการ ซึ่งวันนี้ได้ใช้ครบทั้ง 9 ประการแล้ว แต่บางโอกาสก็อาจจะใช้เพียง 1-2 ข้อกำหนดก็ได้ เหมือนกับมีการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อควบคุมการชุมนุม ก็ไม่ได้ประกาศใช้ข้อกำหนดครบทุกประการ นำมาใช้เพียงบางประการเท่านั้น เช่นเดียวกับการแพร่ระบาดโควิด ที่เมื่อมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็อาจจะไม่ประกาศข้อกำหนดใดๆ เลยก็ได้ แต่เหตุที่ต้องประกาศไว้เนื่องจากหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นก็สามารถนำข้อกำหนดมาใช้ได้ทันที แต่ถ้าจะเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปเลยก็ได้

ถ้าคิดว่าสถานการณ์มันไว้วางใจได้ เหมือนกับที่ฝ่ายค้านออกมาระบุพ.ร.บ.โรคติดต่อก็อาจเพียงพอ แต่ที่กลัวอย่างเดียวคือ 77 มาตรฐาน และพ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้ยังเป็นการช่วยงานผู้ว่าฯ ด้วย โดยเฉพาะเรื่องการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการที่จังหวัดนั้นปิดกิจการ ซึ่งผู้ว่าฯ ไม่สามารถตามไปรับผิดชอบที่เกิดขึ้นตามมาทั้งหมดนี้ได้ก็จะวิ่งมาหาให้รัฐบาลช่วยเหลือ ดังนั้นในวันนี้รัฐบาลก็ต้องมาหารือว่าควรขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีกหรือไม่ ซึ่งยังมีเวลาอีก 15 วัน” นายวิษณุ กล่าว

นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณีสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ออกประกาศให้เลื่อนการเปิดสนามบินออกไปอีก 1 เดือน ว่า มาตรการดังกล่าวไม่เกี่ยวกับการต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่เป็นการมองว่าอาจเป็นความเสี่ยงที่จะนำเชื้อเข้ามาในประเทศ ซึ่งหากยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ก็ยังสามารถควบคุมการบินได้ เพราะยังถือเป็นจุดเสี่ยง

(ภูมิธรรม เวชชชัย)

ด้าน นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กล่าสุดระบุว่า “รัฐบาลต้องยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินทันที…ก่อนที่เศรษฐกิจประเทศจะล้มละลาย เกินเยียวยา…ยื้อไว้ทำไมเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประชาชน ?

วันนี้ตัวเลขการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่า สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ค่อนข้างดีมาก แต่โรคภัยทางเศรษฐกิจที่ผู้คนในประเทศนี้กำลังเผชิญ นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ภาพเชิงประจักษ์ที่ดีที่สุดซึ่งอธิบายได้ดีกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจไหนๆ คือ ภาพที่ผู้คนจำนวนมากมายต่อแถวเพื่อยื่นเรื่องขอทบทวนสิทธิ์ในการรับเงินช่วยเหลือจากรัฐ 5,000 บาท และภาพของการเข้าคิวเพื่อรอรับบริจาคอาหาร รวมถึง ข่าวตัวเลขของการฆ่าตัวตายอันเนื่องจากพิษเศรษฐกิจที่พุ่งสูงขึ้น

นี่คือภาพสะท้อนความจริงทางเศรษฐกิจที่เป็นยอดของภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งทุกฝ่ายตระหนักดีว่า ปัญหานั้น มีความรุนแรง เพียงใด

วิธีการแก้ปัญหาส่วนหนึ่งของรัฐบาลคือการ ออก พ.ร.ก.เงินกู้ จำนวนมหาศาล เพื่อมาแก้ไขเยียวยาปัญหา …ซึ่งยังต้องตั้งข้อสังเกตถึงแผนการใช้จ่ายเงินที่มีประสิทธิภาพและสร้างผลลัพธ์ที่คืนคุณค่ากลับมาได้จริง

แต่… ผมมีความเห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลควรต้องทำอย่างเร่งด่วน คือ การยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อเร่งคลายล็อคให้การดำเนินเศรษฐกิจในประเทศ ได้ลื่นไหลไปตามระบบกลไกปกติ

วันนี้ สังคมไทยกำลังจ่ายต้นทุนที่แพงมาก หากจะยังคงยืนยันใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อเนื่องไปอีก ด้วยข้ออ้างในการควบคุมการระบาดของโควิด ทั้งๆที่มีกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้อง อย่างเช่น “พ.ร.บ. ควบคุมโรคระบาด” ก็สามารถนำมาใช้ ให้มีผลในการควบคุม ป้องกันโรคได้ ไม่แตกต่างกัน เพราะหากยังคงพ.ร.ก. ฉุกเฉินไว้ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายลงมากแล้ว นอกจากไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโอกาสทางเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลต้องตอบคำถามถึงนัยยะที่ซ่อนอยู่ของการควบคุมอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และการเคลื่อนไหวทางสังคม

หากรัฐบาลอาศัยเงื่อนไขพ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของคณะตน โดยพยายามดิ้นรนรวบอำนาจการบริหารมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี เพียงคนเดียว อำนาจนี้จะกลับกลายมาเป็นเครื่องมือ ที่กัดเซาะและบ่อนทำลาย ภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ และที่สำคัญจะกลายเป็น ปัจจัยที่เสริมสร้างความยากลำบากและปิดกั้นโอกาสในการทำมาหากินของพี่น้องประชาชนมากขึ้น”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า