SHARE

คัดลอกแล้ว

กระแสข่าวการเลิกจ้าง ปลดพนักงาน หรือการประกาศปิดกิจการของบริษัทหลายแห่งทั้งในไทยและต่างประเทศ ทำให้คนทำงานอย่างเราใจเต้นตุ่มๆ ต่อมๆ เพราะไม่รู้เมื่อไหร่จะถึงคิวของเราบ้าง

ซึ่งสถานการณ์แบบนี้ก็เป็นความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้ แม้บางคนอาจจะเห็นสัญญาณมาก่อนแล้วแต่ก็มีบางคนที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเลย

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เผยผลสำรวจสาเหตุการออกจากงานหรือหยุดทำงานของคนไทยในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 พบว่า 59.25% คือการตัดสินใจลาออก รองลงมา 16.16% องค์กรเลิก/หยุด/ปิดกิจการ

ในขณะที่ 13.15% หมดสัญญาจ้างงาน และมี 5.47% ถูกให้ออก/ไล่ออก/ปลดออก รวมถึงอื่น ๆ 4.71%

แต่ไม่ว่าจะกำลังทำงานอยู่หรืออาจถูกเลิกจ้างในอนาคต สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมพร้อม รับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และความท้าทายที่เกิดขึ้นให้ได้

ต่อไปนี้คือ 5 สิ่งที่ควรทำเมื่อคนที่ถูกเลิกจ้างคือคุณ

1) จัดการกับอารมณ์ 

การเลิกจ้างเป็นเรื่องที่รับได้ยาก แต่สิ่งที่สำคัญคือการตระหนักรู้และจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องรู้ว่าเราสามารถรู้สึกเศร้า โกรธ กลัว หงุดหงิด หรือมีอารมณ์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับเราได้

ซึ่งข้อดีของการรับรู้และเข้าใจอารมณ์เหล่านี้ จะช่วยให้สามารถยอมรับความรู้สึกของตัวเองได้ง่ายขึ้นและนำไปสู่การมีความคิดเชิงบวก

2) อ้างสิทธิ์ของตนเองให้เต็มที่

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าต้องได้รับค่าชดเชยเท่าไหร่ สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าได้รับทุกอย่างที่เป็นของเราอย่างถูกต้อง ซึ่งรวมถึงประกันสุขภาพ เงินเดือนล่าสุด

นอกจากนี้ อย่าลืมสิ่งอื่นๆ ที่ควรจะต้องได้รับขณะทำงานด้วย เช่น เงินค่าคอมมิชชั่นและโบนัสพิเศษเพิ่มเติม

3) ลงทะเบียนเพื่อรับเงินชดเชยการว่างงาน

เมื่อดำเนินการเลิกจ้างแล้ว ก็ถึงเวลาประกันความมั่นคงทางการเงิน การลงทะเบียนขอรับเงินสนับสนุนการว่างงานเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญมากในการจัดการค่าใช้จ่ายในช่วงเวลานี้

เพราะหากมีคุณสมบัติก็จะได้รับสวัสดิการการว่างงานซึ่งเป็นเงินไว้ช่วยค่าใช้จ่ายหลังจากถูกเลิกจ้าง ที่สำคัญบางรัฐยังมีแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการหางานใหม่อีกด้วย

4) ขอข้อมูลการทำงานจากบริษัทเก่า

เมื่ออำลาสถานที่ทำงานเดิม อย่าลืมขอข้อมูลอ้างอิงการทำงานจากผู้จัดการหรือเพื่อนร่วมงานเพื่อทำเรซูเม่สมัครงานใหม่ โดยข้อมูลอ้างอิงเหล่านี้จะเป็นตั๋วทองที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความประทับใจให้กับนายจ้างในอนาคตได้

ซึ่งข้อมูลอ้างอิงเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเน้นย้ำถึงทักษะการทำงานเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเริ่มต้นใหม่ ซึ่งจะทำให้เราโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้นในสายตานายจ้าง

5) อัปเดตโปรไฟล์และเริ่มค้นหางานใหม่

ถึงเวลาที่ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับงานใหม่ ด้วยเรซูเม่และโปรไฟล์ที่ดีและน่าสนใจ และจะต้องไม่ลืม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลต่างๆ ได้รับการอัปเดตเป็นปัจจุบันแล้ว

โดยการหางานใหม่ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ ซึ่งในระหว่างนี้ให้ลองพิจารณาดูงานชั่วคราวหรืองานพาทไทม์ไปก่อนได้ ก็จะถือว่าเป็นการเปิดโอกาสในการได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ ในขณะที่กำลังรองานประจำได้ด้วย

สุดท้าย แม้ว่าการเลิกจ้างจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เริ่มต้นใหม่ แต่แทนที่จะเร่งรีบจัดการกระบวนการต่างๆ ให้เสร็จโดยเร็ว อาจใช้จังหวะเวลานี้ในการทบทวนตนเองให้มากขึ้น

ด้วยการถอยออกมาทีละก้าวและให้อิสระกับตัวเองในการจินตนาการและไตร่ตรองถึงสิ่งที่ต้องการจะทำจริงๆ เพื่อหาเส้นทางอาชีพในอุดมคติและก้าวไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น

ฉะนั้น การถูกเลิกจ้างเป็นความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้และค่อนข้าง ‘น่ากลัว’ แต่ต้อง ‘มีสติ’ รู้จักปรับตัวและยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นให้ได้

ที่มา : https://www.forbes.com/sites/goldiechan/2024/03/06/5-ways-to-handle-being-laid-off-and-secure-your-future/

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า