SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.47″ custom_padding=”9px|0px|22px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/08/1534425833_94251_DSC05392.jpg” _builder_version=”3.0.63″ align=”center”][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”27px|0px|11px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

แม้จะหายหน้าหายตาจากวงการกีฬาไปหลายปี แต่ความรักที่มีต่อประเทศชาติก็ไม่ได้เหือดแห้งหรือน้อยลงเลย สำหรับ “ศรสุทธา กลั่นมาลี” หรือ “ถั่วแระ เชิญยิ้ม” ตลกชื่อดัง อดีตนายกสมาคมศิลปินตลกแห่งประเทศไทย โดยอีกบทบาทหนึ่งก็คือ “ผู้นำกองเชียร์ทีมชาติไทย” ที่สร้างสีสันด้วยชุดนักรบโบราณ เจ้าของเสียงเป่าแตรและเสียงเชียร์อันกึกก้อง “ปู๊น ปู๊น ไทยแลนด์”

ล่าสุดเขาได้เปิดบ้านพักในย่านนนทบุรี ให้สัมภาษณ์ถึงการทำหน้าที่ผู้นำกองเชียร์ที่ผ่านมา ซึ่งเบื้องหลังเสียงเชียร์อันดังกระหึ่ม คึกคักสนุกสนาน ก็ยังมีอีกหลากหลายเรื่องราวสุดระทึก ทั้งประสบการณ์เสี่ยงเจ็บ เสี่ยงตีน และเสี่ยงตายในต่างแดน รสชาติของ “ระเบิดเยี่ยว” อันยากลืมเลือน รวมถึงการทำหน้าที่ผู้นำกองเชียร์ ที่ไม่ใช่แค่การนำร้องเพลง ส่งเสียงเชียร์เท่านั้น แต่ยังต้องแบกรับแรงกดดันและความรับผิดชอบต่างๆ ไว้อย่างมหาศาล

ซึ่งในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 ที่กรุงจาการ์ต้า และเมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย ถั่วแระก็ยืนยันว่า จะกลับมาทำหน้าที่ “ผู้นำกองเชียร์ทีมชาติไทย” อีกครั้ง ด้วยลีลาการเชียร์ที่สนุกสนาน เพื่อปลุกเร้าความฮึกเหิมให้กับทัพนักกีฬาไทย

จากภาระหน้าที่ในการเป็น นายกสมาคมตลกแห่งประเทศไทย” หลายสมัยติดต่อกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – 2560 ทำให้ ถั่วแระ เชิญยิ้ม” ต้องลดบทบาทตัวเองในฐานะ ผู้นำกองเชียร์ทีมชาติไทย” จนห่างหายจากวงการกีฬาไปหลายปี

แต่ในวันนี้เขาบอกกับเราว่า ได้กลับมาทำในสิ่งที่ตนรัก โดยประเดิมรายการแรกในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 ที่กรุงจาการ์ต้า และเมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย โดยสิ่งที่จุดประกายให้เขาเข้ามาทำหน้าที่นี้ ก็ต้องย้อนไปเมื่อก่อนการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ปี พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดเชียงใหม่

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/08/1534425854_13783_S__9986160.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”27px|0px|20px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“ตอนนั้นผมไปเล่นตลกที่เชียงใหม่ เข้าไปที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี แล้วไปเจอนักกีฬาที่กำลังซ้อม เพื่อเตรียมตัวแข่งขัน ผมก็ไปวิ่งเยาะๆ กับเขา พอเขานั่งลงผมก็ไปบีบนวดให้ ถามว่าพี่เหนื่อยไหม แล้วก็คุยกันไปเรื่อย”

ระหว่างนั้นสิ่งที่เขาคิดก็คือ ในฐานะคนไทย จะทำอะไรเพื่อนักกีฬาเหล่านี้ได้บ้าง ที่สู้อุตส่าห์ฝึกซ้อมอย่างหนักหน่วงเพื่อความสุขของคนทั้งชาติ ต่อมาระหว่างที่เขาได้ชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ก็เห็นกองเชียร์ประเทศต่างๆ แต่งตัวแต่งหน้าแต่งตากัน ทั้งแบบสวยงาม เอามัน และออกแนวฮา ทำให้ถั่วแระเกิดไอเดียที่จะแต่งองค์ทรงเครื่องในชุดนักรบไทยโบราณ เพื่อสร้างสีสันในการเชียร์ทัพนักกีฬาไทย โดยเริ่มต้นทำหน้าที่ผู้นำกองเชียร์ฯ ครั้งแรก ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ปี พ.ศ. 2541 ที่ไทยเราเป็นเจ้าภาพ

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”20px|0px|27px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/08/1534425847_89575_IMG_0163.jpg” _builder_version=”3.0.63″ align=”center”][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“ที่ผมเลือกแต่งชุดนักรบไทยโบราณ ไปเชียร์นักกีฬาไทย ก็เพราะเมื่อใดที่มีการรบทัพจับศึก แม่ทัพจะต้องแต่งตัวลักษณะนี้ เพื่อให้กองทัพฮึกเหิม เช่นเดียวกัน ที่ผมแต่งชุดนี้ก็เพื่อให้นักกีฬาของเรามีกำลังใจ นำชัยชนะมาสู่ประเทศชาติ”

หลังจากนั้นเราก็มักเห็นถั่วแระในชุดนักรบโบราณ ที่มือข้างหนึ่งโบกสะพัดผืนธงชาติ ส่วนมืออีกข้างถือแตรเป่า “ปู๊น ปู๊น” ก่อนร้องตะโกน “ไทยแลนด์” จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในทุกแมตช์สำคัญ ที่สร้างสีสันและความสนุกสนานให้กับผู้ร่วมชมและร่วมเชียร์ จนได้รับฉายา ผู้นำกองเชียร์ทีมชาติไทย”

โดยถั่วแระยืนยันว่า การเข้าทำหน้าที่ตรงนี้ เป็นเพราะความรักล้วนๆ จากที่เชียร์ภายในประเทศ ก็รู้สึกอินและจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้เดินทางไปเชียร์นักกีฬาไทยที่ไปทำการแข่งขันในต่างแดน อาทิ ซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ปี พ.ศ. 2542 ที่ประเทศบรูไน , โอลิมปิก ครั้งที่ 27 ปี พ.ศ. 2543 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย , ซีเกมส์ ครั้งที่ 21 ปี พ.ศ. 2544 ที่มาเลเซีย , เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 ปี พ.ศ. 2545 ที่เกาหลีใต้ , ซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ปี พ.ศ. 2546 ที่เวียดนาม , โอลิมปิก ครั้งที่ 28 ปี พ.ศ. 2547 ที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ และซีเกมส์ ครั้งที่ 23 ปี พ.ศ. 2548 ที่ฟิลิปปินส์ ฯลฯ

“ถ้าเชียร์ภายในประเทศไม่มีปัญหา แต่งชุดนี้อย่างเดียว (นักรบไทย) ไปที่ไหนเขาก็ให้เข้า รถราเราก็ขับเองได้ แต่ไปเมืองนอก ส่วนใหญ่มันก็ต้องใช้เงินตัวเอง แรกๆ ลำบากมาก ทั้งเรื่องที่อยู่ที่พัก อาหารการกิน แม้ทางภาครัฐจัดให้บ้าง แต่มันก็น้อยนิด เพราะผมไม่ได้อยู่ในสังกัดกระทรวงทบวงกรมของการกีฬา เป็นแค่ส่วนหนึ่ง เป็นแค่ติ่งหนึ่งเท่านั้น

“ตอนทำพาสปอร์ต วีซ่า ตั๋วเดินทาง ก็โอเคนะ เขาก็จัดตั๋วเครื่องบินให้ แต่พอไปถึงแล้ว บางทีที่พักไม่มี ผมต้องไปพักกับเจ้าหน้าที่ ไปพักกับนักข่าว มันไม่เป็นส่วนตัว ทำให้บางครั้งคิดว่า เราเป็นส่วนเกินของเขาหรือเปล่า”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/08/1534426257_58300_IMG_0172.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”54px|0px|21px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

แม้จะต้องหมดเงินหมดทองไปไม่ใช่น้อยๆ ในการเข้ามาทำหน้าที่ผู้นำกองเชียร์ทีมชาติไทย แต่เมื่อใจมันรักซะแล้ว ก็ถึงไหนถึงกัน เราจึงเห็นภาพของถั่วแระในชุดนักรบไทยโบราณติดต่อกันหลายปี จนกลายเป็นอีกภาพในความทรงจำของวงการกีฬา และถึงแม้จะเป็นผู้นำกองเชียร์สายฮา แต่เขาก็บอกกับเราว่า มีบ่อยครั้งที่เขาต้องตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด ที่หากควบคุมอารมณ์ตัวเองหรืออารมณ์กองเชียร์ไม่ได้ โอกาสที่จะเกิดความเสียหายหรือสูญเสียก็มีสูง

“อย่างการแข่งขันตะกร้อกับทีมชาติมาเลเซีย (ซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ปี ที่ประเทศบรูไน เมื่อปี พ.ศ. 2542) แทบจะฆ่ากันตาย คือเกือบมีเรื่อง คนของเราก็ฮึ่มๆ ที่จะเอาเรื่อง แหย่กันไปแหย่กันมา เวลาอีกฝ่ายเสิร์ฟลูก อีกฝ่ายก็จะโห่ ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน

“ตอนที่ผมไปถึง เหตุการณ์มันเกือบบานปลายแล้ว ผมก็พูดกับกองเชียร์ชาวไทยว่า ‘ฟังผมนิดหนึ่ง เรามาเพื่อเชียร์นักกีฬาไทย แพ้ชนะมันไม่สำคัญหรอก แต่ถ้าเรามีเรื่อง มันจะเสียชื่อประเทศชาติ’ แล้วผมก็บอกกับกองเชียร์ว่า ทางมาเลย์จะเชียร์แบบไหนก็ปล่อยเขาไป ส่วนฝั่งเราต้องไม่มีการโห่ ไม่มีการยั่วยุ

“ถ้าเขาโห่ ฝั่งเราต้องเงียบ อย่าไปโต้ตอบ เขาหยุดเมื่อไหร่ เราถึงค่อยส่งเสียงเชียร์ต่อ หลังจากนั้นการเชียร์ก็เป็นระบบขึ้น แม้ฝั่งมาเลย์พยายามยั่วยุ แต่ฝั่งเราก็ไม่โต้ตอบ พอเขาหยุดโห่ ฝั่งเราก็เชียร์ ก็ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน พอเขาโห่อีก เราก็เงียบ

“พอจบการแข่งขัน ผู้นำเชียร์ฝั่งมาเลย์ ซึ่งตัวใหญ่มาก มีฉายาว่า “หมอผี” ก็เดินตรงมาหาผมเลย แล้วก็ยื่นมือให้ เพื่อแสดงความยินดีที่ทีมไทยชนะ แล้วเราทั้งคู่ก็สวมกอด จูบปากกัน กองเชียร์ทั้งฝั่งไทยฝั่งมาเลย์ก็เฮกันลั่น ปรบไม้ปรบมือแสดงความชื่นชม

“และยังมีหลายครั้งนะ ต่างวาระต่างสถานที่กันไป อย่างในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมชาติไทยกับพม่า ถ้าจำไม่ผิดน่าเป็นในรอบคัดเลือก แต่ผมจำชื่อรายการไม่ได้แล้ว เกิดเหตุการณ์อลหม่านขึ้น พอไปถึงผมก็ช่วยห้ามทัพ เป่าแตร ‘ปู้น ปู้น ถั่วแระมาแล้ว’ ก็ทำให้พวกเขาสงบลงได้ ทั้งๆ ที่ตำรวจยืนเต็มไปหมด แต่ยังห้ามไม่ได้ ตำรวจพม่าก็งงว่าผมเป็นใคร ทำไมถึงห้ามคนกลุ่มนี้ได้”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/08/1534425839_76670_DSC05404.jpg” _builder_version=”3.0.63″ align=”center”][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

และอีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่เข้าข่ายเอาชีวิตไปเสี่ยง นั่นก็คือการแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ ในปี พ.ศ. 2546 ในรอบชิงชนะเลิศกับเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่คลั่งไคล้เกมกีฬาประเภทนี้เป็นอย่างมาก และในครั้งนั้นเวียดนามก็เป็นเจ้าภาพด้วย โดยถั่วแระได้หลับตาเพื่อนึกทบทวน สูดลมหายใจลึกๆ ก่อนเล่าบรรยากาศและเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า

“เรื่องฟุตบอลนี่ สำหรับเวียดนามสามารถฆ่าคนไทยได้เลยนะ ในวันนั้นตั้งแต่เช้า จะมีคนนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ถือธงชาติ แล้วขับขี่เต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด ร้านอาหารไทยก็ต้องปิดหมด เขาบอกว่า ถ้ามีการตีรันฟันแทง มันจะลำบาก ส่วนคนเวียดนาม ถ้ารู้ว่าใครเป็นคนไทย ก็จะยกนิ้วให้ แล้วบอกว่า ‘ไทยแลนด์ นับเบอร์ทู’

“ก่อนการแข่งขันก็มีกระแสข่าวที่น่ากลัวมาก จนหลายคนไม่กล้าไปเชียร์ ท่านทูตก็ขอร้องให้ไปเถอะ ผมก็ถามว่า ถ้าไป ใครรับผิดชอบชีวิตผมได้บ้าง ? ท่านทูตก็กล่าวว่า ‘อย่างผมรับผิดชอบได้ไหม’ พอท่านพูดแบบนี้ ผมก็ตัดสินใจไป

“ถึงวันแข่งขัน ระหว่างที่ท่านกำลังพาพวกผมเข้าไปในสนาม ท่านทูตก็ถูกกองเชียร์เวียดนามผลักอก ไม่ยอมให้เข้า พวกเราก็ต้องเดินวนหาทางเข้ากัน กระทั่งเข้าไปได้ในที่สุด แต่เชียร์แทบไม่ได้เลย อย่างกำลังตีกลอง กองเชียร์เจ้าถิ่นก็มาดึงไม้กลองเราออก ผมก็หันไปมอง พอเห็นสปาร์ต้าอยู่ข้างหลัง ก็ต้องเชียร์กันไปแบบหงอยๆ

“ตอนที่เขายิงประตูขึ้นนำ โอ้โห อัฒจันทร์แทบจะถล่ม กองเชียร์เวียดนามเฮกันสนั่น พอเรายิงตีเสมอได้ เขาก็ยังคึกๆ อยู่นะ กระทั่งจบการแข่งขัน ก็ต้องต่อเวลา ซึ่งตอนนั้นยังมีกฎโกลเด้นโกล ถ้าใครยิงเข้าก่อน ก็ชนะไปเลย แล้วปรากฏว่า ไทยยิงเข้าก่อน จึงเป็นฝ่ายชนะ เราก็เลยได้นัมเบอร์ทู เพราะกูได้ 2 ลูก (ฮะ ฮา ฮ่า)

“เชื่อไหมว่าในสนามนี่ เข็มกลัดตกยังได้ยิน เงียบกริบ แต่เราก็ไม่เยาะเย้ยเขานะ และสิ่งที่ผมประทับใจก็คือ ระหว่างที่รถของทีมฟุตบอลไทยกำลังขับไป คนเวียดนามจำนวนมากก็แหวกทางให้และยืนกันเป็นแถว แล้วปรบมือให้กับพวกเรา

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/08/1534425843_72789_DSC05408.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“ส่วนอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ลืมไม่ลง ก็คือที่มาเลเซีย (ซีเกมส์ ครั้งที่ 21 พ.ศ. 2544) เป็นการแข่งขันฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศระหว่างไทยกับเจ้าบ้าน โหดเหี้ยมอำมหิตมากๆ ผมยืนอยู่กลางอัฒจันทร์ โดนขวดบรรจุฉี่ (ระเบิดเยี่ยว) ปาใส่หัว พอปาลงมาที วงก็แตกฮือ พอเขาหยุดปา กองเชียร์ไทยก็กลับมารวมตัวกันใหม่ ซึ่งตอนแรกก็ปาลงมาทีละขวดสองขวด แต่พอบอลเขาแพ้ ก็เขวี้ยงลงมาเต็มเลย ผมก็ต้องถอดชุด แล้วรีบออกจากอัฒจันทร์ให้เร็วที่สุด

แต่ตอนนั้นผมไม่โกรธนะ แต่รู้สึกกูคือฮีโร่ เพราะถ้าเราใจเย็น นั่นคือชัยชนะของกองเชียร์ ของผู้เล่น แต่ถ้าเราไปโมโห ไปด่าเขา เท่ากับเราแพ้เลย เพราะภาพที่ออกไปมันจะไม่ดี กลายเป็นความเสื่อมเสีย แม้ในการแข่งขันกีฬาเราจะชนะก็ตาม”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”15px|0px|27px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/08/1534425859_52408_S__9986161.jpg” _builder_version=”3.0.63″ align=”center”][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ระหว่างกันทำหน้าที่ ที่ทุกแมตช์สำคัญเราจะเห็นภาพนักรบไทยเคราแพะ ร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนานจนกลายเป็นภาพที่คุ้นตา แต่เขาก็บอกเล่าอย่างตรงไปตรงมาว่า ถึงแม้จะมีความสุขในการทำหน้าที่ผู้นำกองเชียร์ฯ แต่เมื่อมีเหตุให้เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจหลายๆ ครั้ง ก็ทำให้เขาคิดจะวางมือ เลิกยุ่งกับวงการนี้ไปเลย

“มีหลายครั้งมาก ที่จะวางมือ ที่คิดว่าไม่เอาแล้ว น้อยใจในหลายๆ เรื่อง ทำอะไรให้เราบ้างได้ไหม ให้เราได้อยู่อย่างสบาย ให้เราได้กินอย่างสบาย ให้เรารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เพราะเราสู้มาตลอด แต่เขาก็ให้เราไม่ได้

“โดยครั้งแรกที่ผมตั้งใจจะวางมือจากการเป็นผู้นำกองเชียร์ฯ ก็หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรีซเสร็จสิ้น แต่ในครั้งนั้น รัฐบาลจัดให้มีขบวนรถเปิดประทุนแห่นักกีฬาไปตามถนนเส้นต่างๆ แล้วมีคนโทรตามผม บอกว่าต้องมาให้ได้

“และเมื่อไปถึง เขาก็จัดให้ผมอยู่ในขบวนแห่ด้วย ตลอดเส้นทางพี่น้องประชาชนก็ตะโกนว่า ‘ถั่วแระสู้ๆ ถั่วแระสู้นะ อย่าทิ้งนักกีฬานะ ถั่วแระต้องสู้’ เหตุการณ์ในวันนั้นนั่นแหละ ที่ทำให้ผมวางมือไม่ได้ และต้องหวนกลับมา ความรู้สึกตอนนั้นเราเหมือนนักกีฬาคนหนึ่งที่ได้เหรียญทอง ทำให้ผมต้องกลับมา แล้วก็อยู่อีกหลายปี”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/08/1534428262_61076_IMG_0176.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”27px|0px|17px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

แต่เมื่อปี พ.ศ. 2549 ถั่วแระได้รับการเลือกตั้งเป็น “นายกสมาคมศิลปินตลกแห่งประเทศไทย” ทำให้จำเป็นต้องลดบทบาทในฐานะผู้นำกองเชียร์ฯ จนกระทั่งหายหน้าหายตาจากวงการกีฬาไปหลายปี กระทั่งหมดวาระลงเมื่อปี พ.ศ. 2560 ทำให้เขามีเวลามากขึ้น และได้กลับมาทำในสิ่งที่รักที่ชอบอีก

แต่การกลับมาในครั้งนี้ นอกจากสถานะ ผู้นำเชียร์ทีมชาติไทย” แล้ว เขายังมีตำแหน่งเป็น นายกสมาคมเชียร์ไทย” อีกด้วย โดยถั่วแระได้เล่าถึงที่มาที่ไปของสมาคมนี้ว่า

“ท่านเจ้าคุณอลงกต (พระราชวิสุทธิประชานาถ เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ) มีแนวคิดว่า อยากให้ถั่วแระหวนกลับคืนมาในการเชียร์กีฬา ท่านจึงจัดตั้งสมาคมเชียร์ไทย โดยให้ผมเป็นนายกสมาคม ณ ปัจจุบัน ผมมีตำแหน่งเป็นนายกสมาคมเชียร์ไทย และผมพร้อมที่จะเหน็ดจะเหนื่อยกับประเทศชาติอีกครั้ง ในนามของสมาคมเชียร์ไทย นั่นหมายความว่า การแข่งขันเอเชียนเกมส์ ที่ประเทศอินโดนีเซีย เจอถั่วแระแน่นอน”

เขาบอกกล่าวเพิ่มเติมว่า สมาคมเชียร์ไทย ไม่ได้ทำกิจกรรมเฉพาะเรื่องกีฬาเท่านั้น แต่ยังให้การสนับสนุนส่งเสริมชุมชนต่างๆ อีกด้วย ภายใต้แนวคิด “ชม ช้อป ชิม เชียร์ ช่วยชาติ” ที่หากชุมชนใดมีของดีที่ภาคภูมิใจ ก็สามารถเสนอให้สมาคมเข้าไปช่วยเชียร์ได้

และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของ “ถั่วแระ เชิญยิ้ม” ผู้ที่สร้างตำนานผู้นำกองเชียร์ทีมชาติไทย ที่ได้ประกาศว่า “เขากลับมาแล้ว” และเจอกันแน่นอนใน “เอเชียนเกมส์ 2018” นี้

 

ถ่ายภาพ : บรรหาร ปรางเทศ

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/08/1534428208_87626_DSC05399.jpg” _builder_version=”3.0.63″ align=”center”][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า