Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ความหวังของคู่สมรส LGBTQIAN+ กับการซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย เริ่มเห็นหนทางที่เป็นไปได้มากขึ้น หลังจากที่ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันมานาน ว่าคู่รักเพศเดียวกัน สามารถกู้สินเชื่อบ้านร่วมกันได้หรือไม่?

เดือนนี้เป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) และถ้าหากเรามองในมุมของภาคอสังหาริมทรัพย์ มีกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากที่เป็น LGBTQIAN+ ที่มีศักยภาพในการจับจ่ายใช้สอย แต่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยในลักษณะของการกู้ร่วม สิทธิ์การจัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน รวมถึงสิทธิ์ในการรับมรดกจากคู่สมรส เช่นเดียวกับเพศชายหญิง

คาดว่าประชากร LGBTQIAN+ จะมีจำนวนถึง 1 พันล้านคนทั่วโลกภายในปี 2593 ขณะที่ข้อมูลจาก LGBT Capital ณ สิ้นปี 2562 บอกว่าผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIAN+ มีอำนาจการใช้จ่ายรวมกันถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

ข้อมูลจาก รายงาน “Brand Purpose in Asia” ของ BBDO Asia ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่าผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ให้การยอมรับ LGBTQIAN+ อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยบริษัทเอกชนต่างๆ ได้ชูสวัสดิการ สนับสนุนพนักงานที่มีความหลากหลายทางเพศมาโดยตลอด

แต่ในด้านของภาครัฐยังเป็นความท้าทายในเชิงนโยบาย สังคมยังคงรอความชัดเจนในประเด็นการรับรองความเท่าเทียมทางเพศตามกฎหมาย เพราะจะส่งผลต่อเรื่องต่างๆ ที่สนับสนุนความเท่าเทียมได้มากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่การเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย และการจัดการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับคู่รัก

ข้อมูลจาก DDproperty (ดีดีพร็อพเพอร์ตี้) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ ในเครือ PropertyGuru Group ได้พูดถึงร่างประเด็น ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เปิดโอกาสให้คู่สมรส LGBTQIAN+ เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น

ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับ พ.ศ. … หรือ ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมเป็นร่างกฎหมาย จะเปิดโอกาสให้บุคคลเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ตามกฎหมาย พร้อมมีสิทธิในการสมรสไม่ต่างจากคู่สมรสชายหญิง

หลังจากคณะรัฐมนตรีและที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมในวาระที่ 1 ในเดือนมิถุนายน 2565 ปัจจุบันยังรอพิจารณาวาระที่ 2-3 ต่อไป หากมีการบังคับใช้เป็นกฎหมายนี้ในอนาคต จะช่วยให้คู่สมรส LGBTQIAN+ มีสิทธิ์หลายอย่าง ดังต่อไปนี้

1.) สามารถกู้ซื้ออสังหาฯ ร่วมกันได้ แม้ปัจจุบันบางธนาคารจะเปิดโอกาสให้คู่รักชาว LGBTQIAN+ สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้เช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศ หรือมีแคมเปญรองรับคู่รักกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศอยู่แล้ว แต่หาก ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมผ่านและบังคับใช้จริง จะเปิดทางให้คู่รักทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้และมีสถานะทางกฎหมายเป็นคู่สมรส สามารถยื่นกู้ร่วมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในนามคู่สมรส และมีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยร่วมกันเหมือนคู่สมรสชายหญิง

2.) มีสิทธิ์จัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะช่วยให้คู่สมรส LGBTQIAN+ มีสิทธิในการบริหารจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือโดยระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ในกรณีที่ผู้บริโภคมีการซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมตั้งแต่ตอนยังโสดจะถือว่าที่อยู่อาศัยนั้นเป็นสินส่วนตัว หากมีการจดทะเบียนสมรสภายหลัง และต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันก็สามารถทำได้ โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายตามรายการนี้

  • ค่าใช้จ่ายในการให้ 5% ของราคาประเมิน
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ผู้ให้เปรียบเสมือนเป็นผู้ขายจึงต้องนำเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะในส่วนที่ให้คู่สมรส
  • ค่าอากรแสตมป์ 5% ของราคาซื้อขาย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน โดยต้องครอบครองมากกว่า 5 ปีขึ้นไป หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หากไม่ตรงตามเกณฑ์นี้ จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ของราคาซื้อขายแทน

ในกรณีซื้อบ้าน/คอนโดฯ หลังจดทะเบียนสมรสแล้วจะถือว่าเป็นสินสมรส หากต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้วเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคน จะเสียค่าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 75 บาท หรือหากต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนจากการกู้เดี่ยวมาเป็นการกู้ร่วมนั้น ธนาคารจะนำรายได้และภาระหนี้ของคู่สมรสที่กู้ร่วมมาพิจารณาด้วยอีกครั้ง

3.) สิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรส อ้างอิงจาก พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท โดยทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีมี 5 ประเภท ได้แก่

  • อสังหาริมทรัพย์
  • หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันซึ่งอยู่ในประเทศไทย
  • ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
  • ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา

ผู้ที่ได้รับมรดกเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องของเจ้าของมรดก ดังนั้นคู่รัก LGBTQIAN+ ที่สมรสตามกฎหมายก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดกนี้เช่นกัน หรือหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ คู่สมรส LGBTQIAN+ ที่ยังมีชีวิตจะถือเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องเสียภาษีมรดก

ส่วนเทรนด์ที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน จัดว่าเป็นกลุ่ม Pet Humanization รักสัตว์เลี้ยงเหมือนลูก กันมากขึ้น เพราะครองตัวเป็นโสด หรือแต่งงานแต่ไม่มีบุตร จึงเลือกที่จะเลี้ยงสัตวเลี้ยงเป็นเพื่อนยามเหงา และดูแลอย่างดีเหมือนเป็นลูก ต้องการโครงการที่อยู่อาศัยที่มาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แบบนี้มากขึ้น

นอกจากนี้ยัง ยังมีเทรนด์ DINK (Double Income No Kid) กลุ่มคู่รักรุ่นใหม่ที่ต่างทำงานแต่ยังไม่มีลูก หรือวางแผนไม่มีลูก รวมทั้งคู่รักกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มคนเหล่านี้มักมีรายได้สองทาง และไม่มีภาระในส่วนค่าเลี้ยงดูบุตร ส่งผลให้มีกำลังซื้อสูงและมีความสามารถในการใช้จ่ายเพื่อตัวเองมากขึ้นตามไปด้วย

จึงมีโอกาสเก็บออมเงินได้มากกว่าคนทั่วไป นิยมวางแผนบริหารการเงินให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ด้วยการนำไปลงทุน หนึ่งในนั้นคือ การลงทุนอสังหาฯ ตัวเลือกที่น่าสนใจในการสร้างผลตอบแทนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ซื้ออสังหาฯ แล้วนำมาปล่อยเช่ารายเดือน ลงทุนในกองทุนอสังหาฯ ซื้อที่อยู่อาศัยมารีโนเวทแล้วขายต่อ เป็นต้น

ถึงตอนนี้ ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะต้องรอการพิจารณาในวาระอื่น ๆ แต่คู่รัก LGBTQIAN+ ที่อยากซื้อที่อยู่อาศัยร่วมกัน สามารถศึกษาเงื่อนไขการกู้ร่วมและสิทธิพิเศษในแคมเปญต่าง ๆ ของบริษัทอสังหาฯ รวมถึงธนาคารหลายแห่ง ที่มีออกมารองรับได้เช่นกัน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า