Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นี่คือประเด็นใหญ่ ที่สร้างกระแสสังคมอย่างรุนแรง เมื่อเจ เค โรว์ลิ่ง ผู้เขียน แฮร์รี่ พอตเตอร์ ไม่ยอมรับผู้ชายที่แปลงเพศเป็นหญิง ว่าเป็นผู้หญิง

การถกเถียงกลายเป็นดราม่าที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีคนสนับสนุนมากพอๆ กัน เรื่องราวทั้งหมดเป็นอย่าง workpointTODAY จะสรุปสถานการณ์ให้เข้าใจ ใน 27 ข้อ

1) ตุลาคม 2018 ฮอลแลนด์ ประกาศอนุญาตให้พาสปอร์ตไม่จำเป็นต้องระบุว่าเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง โดยถ้าเจ้าของพาสปอร์ตมองว่าตัวเองไม่ใช่ทั้งสองเพศนี้ สามารถระบุได้ว่า เป็นเพศ X

2) ซึ่งไม่ใช่แค่ฮอลแลนด์เท่านั้น แต่นอกทวีปยุโรป พาสปอร์ตหลายๆชาติเช่น อาร์เจนติน่า, ออสเตรเลีย, แคนาดา, เดนมาร์ก, เนปาล, นิวซีแลนด์ ชาติเหล่านี้ ไม่บังคับให้เจ้าของพาสปอร์ตระบุเพศว่าเป็นชาย หรือหญิง แต่สามารถเลือก เพศ X ได้ ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางว่า เพศไม่ได้มีแค่ชายและหญิงเท่านั้น

3) คำว่า LGBT หรือกลุ่มความหลากหลายทางเพศนั้น L ย่อจาก เลสเบี้ยน (หญิงรักหญิง), G ย่อจาก เกย์ (ชายรักชาย) , B ย่อจาก ไบเซ็กช่วล หรือรักได้ทั้งสองเพศ และ T ย่อจาก ทรานส์เจนเดอร์ (ชื่อย่อคือทรานส์) แปลว่าคนข้ามเพศ เช่นชายที่ต้องการเป็นหญิง หรือหญิงที่ต้องการเป็นชาย

4) ที่อังกฤษ กลุ่มทรานส์ และน็อนไบนารี่ (คนที่ไม่ระบุว่าตัวเองเป็นชายหรือหญิง) มีความพยายามผลักดันให้ประเทศ มีทางเลือกเพศ x เช่นเดียวกัน ในเอกสารทางการ อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทยของสหราชอาณาจักร ได้เบรกเรื่องนี้ไว้ และยืนยันตามเดิมว่าในพาสปอร์ตของ UK จะต้องระบุเพศ ตามเพศแรกเกิดของตัวเองเท่านั้น คือมีแค่ชาย กับหญิง

5) ธันวาคม 2019 มายา ฟอร์สเตเตอร์ นักวิจัยวัย 45 ปี ทวีตข้อความว่า เธอไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของกลุ่มทรานส์ และกลุ่มน็อนไบนารี่ เพราะมองว่า เพศต้องถูกแบ่งแยกตามสรีระร่างกาย ไม่ใช่ความรู้สึก ตัวอย่างเช่น กะเทยที่อยากเป็นผู้หญิง ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองเป็นผู้หญิง เพราะสรีระของตัวเองคือผู้ชาย

6) เมื่อมายา ฟอร์สเตเตอร์ ทวีตไปแบบนั้น เธอถูกโจมตี ว่ามีทัศนคติเหยียดเพศ ไม่พยายามยอมรับการมีอยู่ของคนเพศอื่นๆ และจงใจกีดกันกลุ่มเพศที่สาม ไม่ให้เข้าไปมีบทบาทในสังคม ซึ่งการโดนโจมตีอย่างหนัก ทำให้สุดท้าย เธอไม่ได้รับการต่อสัญญาจากองค์กรของตัวเอง ซึ่งก็เชื่อว่าเป็นการโดนไล่ออกทางอ้อมนั่นเอง

7) คนที่คิดว่ามายาสมควรโดนลงโทษทางสังคมก็มีไม่น้อย แต่ก็มีคนจำนวนมากเข้าใจเธอเช่นกัน มีการตั้งแฮชแท็กชื่อ #IStandWithMaya ขึ้นมา เพื่อประท้วงว่าทำไมมายา จึงไม่มีสิทธิ์จะพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด และหนึ่งในคนดังที่เข้ามาสนับสนุนแนวคิดของมายา ก็คือ เจ เค โรว์ลิ่ง นักเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ นั่นเอง โดย โรว์ลิ่ง ทวีตข้อความว่า

8) “คุณจะแต่งตัวอย่างไรก็ได้ที่คุณต้องการ จะเรียกแทนตัวเองว่าอะไรก็ได้ จะมีเซ็กส์กับใครก็ได้ที่เขาโอเคกับคุณ และคุณก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุขและปลอดภัย คุณสามารถทำอะไรก็ได้ที่ตัวเองต้องการ ดังนั้นการไปกดดันไล่บี้ให้ผู้หญิงคนหนึ่งต้องโดนไล่ออกจากงาน เพียงเพราะเธอบอกว่า เพศที่แท้จริงมีแค่ชายกับหญิงน่ะหรอ มันถูกต้องจริงๆหรือเปล่า?”

9) ในครั้งนั้น เจ เค โรว์ลิ่ง ก็โดนวิจารณ์อย่างหนัก ว่าเป็นเธอเป็นคนประเภท TERF หรือที่แปลว่า นักสิทธิสตรีหัวรุนแรงที่เชื่อว่าเพศในโลกแบ่งเป็นแค่ชายกับหญิง ซึ่งการประกาศจุดยืนของโรว์ลิ่ง สร้างความผิดหวังให้แฟนหนังสือที่เป็นกลุ่มทรานส์อย่างมาก เพราะแนวคิดของโรว์ลิ่ง เท่ากับว่าไม่ยอมรับการมีอยู่ของกลุ่มทรานส์

10) เหตุการณ์ในครั้งนั้นผ่านไป แต่ก็มีดราม่าเกิดขึ้นอีก ในวันที่ 7 มิถุนายน เมื่อเจ เค โรว์ลิ่ง ไปเห็นข่าวเกี่ยวโควิด-19 โดยพาดหัวข่าวมีคำว่า People who menstruate หรือคนที่มีประจำเดือน ซึ่งผู้เขียนนั้นเลือกใช้คำนี้ เพราะมองว่าคนที่มีประจำเดือน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น แต่ผู้ชายข้ามเพศก็ยังสามารถมีประจำเดือนได้

11) อย่างไรก็ตาม เจ เค โรว์ลิ่งได้ออกมาทวีตว่า ทำไมใช้คำว่า “คนที่มีประจำเดือน”ล่ะ? ในเมื่อคุณก็สามารถใช้คำว่าผู้หญิงไปได้เลยแท้ๆ เพราะคนที่สามารถมีประจำเดือนได้ ยังไงก็ต้องมีเพศสภาพเป็นหญิงอยู่แล้ว ซึ่งนัยยะแฝงของโรว์ลิ่ง คือความเชื่อที่ว่า เพศต้องแบ่งเป็นเชิงชีววิทยา มีแค่ชายกับหญิง

12) โรว์ลิ่งทวีตข้อความว่า “ฉันเคารพคนข้ามเพศนะ ไม่ได้รู้สึกรังเกียจอะไร และเข้าใจในแนวทางการใช้ชีวิตเป็นอย่างดี และถ้าพวกคุณโดนความอยุติธรรมในสังคมกดขี่ ฉันพร้อมจะเดินขบวนประท้วงไปด้วยกันแน่นอน แต่ในเวลาเดียวกัน ชีวิตฉันเติบโตมาด้วยความเป็นผู้หญิง ดังนั้นการที่ฉันพูดเรื่องนี้ ก็ไม่คิดว่าตัวเองผิดนะ”

13) โรว์ลิ่งโดนโจมตีว่าเป็น Transphobia หรือคนเกลียดกลุ่มทรานส์ เป็นพวกที่ไม่ต้องการให้คนข้ามเพศมีสิทธิมีเสียง หรือมีตัวตน เทียบเท่ากับชายหรือหญิง อย่างเรื่องประจำเดือนที่โรว์ลิ่งบอกว่าเป็นสิ่งที่ผู้หญิงเท่านั้นที่จะมีเมนส์ได้ ก็มีคนแย้งว่า คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้หญิงก็มีเมนส์ได้ อย่างเช่นผู้ชายข้ามเพศ ที่มีรูปลักษณ์ภายนอกเหมือนผู้ชายหมด แต่ก็ยังสามารถมีประจำเดือนได้เช่นกัน

14) ณ จุดนี้ จึงเป็นการดีเบทกันของสองฝ่าย ฝั่งเจ เค โรว์ลิ่ง มองว่าโลกนี้ควรกำหนดเพศแค่ 2 เพศ คือชายกับหญิง คนข้ามเพศอยากนิยามอะไรของตัวเองก็ทำไป แต่ในแง่ชีววิทยา หรือเอกสารทางการของรัฐ ต้องบอกว่าตัวเองเป็นชายหรือหญิงตามเพศสภาพของตัวเองเท่านั้น ไม่ใช่บอกจากความต้องการ หรือความรู้สึก

15) ฝั่งที่สนับสนุนโรว์ลิ่งชี้ให้เห็นว่า หญิงข้ามเพศ (ชายแปลงเป็นหญิง) ไม่ควรได้รับสิทธิทุกอย่างเหมือนผู้หญิง เพราะลองคิดดูว่า ถ้าหากมีโอกาสได้เปลี่ยนคำหน้าชื่อจาก นาย ให้เป็นนางสาวได้ แบบนี้ก็จะไม่ยุติธรรมกับผู้ชายในกรณีที่มาคบหา แล้วอยากมีลูกไปด้วยกัน หรือถ้าต่อไป ผู้หญิงข้ามเพศนิยามตัวเองว่าเป็นหญิง จะสามารถลงแข่งกีฬาของฝ่ายหญิงได้หรือไม่ ดังนั้นการนิยามเพศ ด้วยเพศสภาพแต่แรกเกิดน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

16) อย่างไรก็ตาม มีคนจำนวนมาก ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของโรว์ลิ่ง ตัวอย่างเช่น แดเนียล แรดคลิฟฟ์ หรือแฮร์รี่ พอตเตอร์เวอร์ชั่นภาพยนตร์ที่กล่าวว่า “ผู้หญิงข้ามเพศ ก็คือผู้หญิง” เช่นเดียวกับ เอ็มม่า วัตสัน หรือนักแสดงบทเฮอร์ไมโอนี่ ที่ระบุว่า “กลุ่มทรานส์ สามารถเป็นอะไรก็ได้ที่พวกเขาอยากเป็น และสมควรที่จะใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องถูกใครสั่ง ว่าพวกเขาเป็นอะไรได้ หรือเป็นอะไรไม่ได้” มุมมองของวัตสัน ชี้ว่าคนข้ามเพศ สามารถระบุได้ว่าตัวเองคือเพศอะไร โดยไม่มีใครมีสิทธิมาตั้งกรอบทั้งนั้น ว่าเกิดเป็นผู้ชาย แล้วห้ามบอกคนอื่นว่าตัวเองเป็นผู้หญิง

17) รวมถึงเอ็ดดี้ เรดเมย์น นักแสดงเจ้าของรางวัลออสการ์ ที่ครั้งหนึ่งเคยรับบทเป็นหญิงข้ามเพศมาแล้วจากเรื่อง The Danish Girl ให้สัมภาษณ์ว่า “ผมไม่เห็นด้วยกับเจ เค โรว์ลิ่ง ผมคิดว่าผู้หญิงข้ามเพศคือผู้หญิง และผู้ชายข้ามเพศคือผู้ชาย ส่วนคนที่เป็นน็อนไบนารี่ หรือไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นทั้งเพศชายและหญิงมันก็มีอยู่ในสังคมจริงๆ และผมคงไม่สามารถพูดแทนพวกเขาได้ แต่ผมก็พอรู้มาว่าเพื่อนๆข้ามเพศของผม คงเหนื่อยมากกับการโดนตั้งคำถามว่าพวกเขาเป็นเพศอะไรกันแน่ พวกเขาแค่อยากจะใช้ชีวิตอย่างสงบสุข และเราก็ควรปล่อยให้เขาได้เจอชีวิตแบบนั้น”

18) ณ เวลานี้ จึงเป็นการดีเบทของกลุ่มคนสองแนวคิด กลุ่มแรกมองว่า ในโลกนี้ใครจะเป็น LGBT ใดๆก็แล้วแต่ แต่เมื่อพูดถึงเพศสภาพ โดยเฉพาะกับเอกสารราชการ มันมีแค่ 2 เพศเท่านั้น คือชาย และหญิง ถ้าหากทุกคนบอกว่าตัวเองเป็นเพศอะไรก็ได้ โดยไม่มีหลักเกณฑ์อะไรเลย มันจะสร้างความวุ่นวายมาก

19) ถ้าคิดถึงกรณี เช่น ห้องน้ำ หรือ ห้องลองเสื้อ ผู้หญิงทุกคนจะรู้สึกปลอดภัยหรือไม่ ถ้าต้องใช้สถานที่เหล่านี้ร่วมกับทรานส์ ที่บางคนยังมีลักษณะคล้ายผู้ชายอย่างมากอยู่ คือจริงๆผู้หญิงไม่ได้กลัวทรานส์ แต่มันก็มีโอกาสที่จะมีผู้ชายที่ไม่หวังดี แสร้งว่าตัวเองเป็นทรานส์ และฉวยโอกาสทำร้ายหรือเอาเปรียบผู้หญิง

20) ส่วนอีกกลุ่ม ตั้งโจทย์ว่าสิทธิในการระบุว่าเป็นเพศอะไร ไม่ควรโดนตีกรอบจากเพศที่ถือกำเนิด ถ้าหากคุณมีความต้องการและพยายามที่จะเป็นผู้หญิง คุณก็คือผู้หญิง เช่นกัน ถ้าคุณต้องการและพยายามที่จะเป็นผู้ชาย คุณก็คือผู้ชาย

21) กลุ่มนี้มองว่า เพศสภาพที่แท้จริง ไม่ควรถูกกำหนดเพียงเพราะโครโมโซมของคนคนนั้นตอนเกิด คือเมื่อใครสักคนที่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว เขาควรได้รับโอกาสที่จะเป็นเพศที่ตัวเองต้องการ ผู้หญิงข้ามเพศก็ควรถูกเรียกว่าเป็นผู้หญิงจริงๆ การนิยามว่าเพศควรมีแค่หญิงกับชายมันล้าหลังเกินไป

22) การโดนโจมตีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ เจ เค โรว์ลิ่ง ออกมาสรุปความในใจในเว็บไซต์ของตัวเอง อธิบาย 5 เหตุผลที่เธอต้องแสดงจุดยืนในเรื่องเพศ

เหตุผลข้อ 1 – เธอเชื่อว่า โลกนี้แบ่งเป็น Gender กับ Sex โดย Gender คือเพศสภาพที่ผู้คนเชื่อว่าตัวเองเป็น ส่วน Sex คือเพศจริงๆตามเชิงชีววิทยา แต่ในปัจจุบัน จะมีการผลักดันในแง่กฎหมายให้ใช้ Gender แทน Sex ซึ่งในมุมของเธอคิดว่า มันไม่ถูกต้อง

เหตุผลข้อ 2 – เธอมองว่า สังคมยังตั้งคำถามอยู่เลยว่าทรานส์ จริงๆแล้วคือผู้หญิง หรือจริงๆคือกลุ่มเฉพาะของตัวเองที่เรียกว่าทรานส์ ดังนั้นรีบด่วนสรุปว่าทรานส์คือผู้หญิง ก็เท่ากับไม่เคารพจุดยืนของคนที่มองว่า ทรานส์เป็นเพศเฉพาะของตัวเอ

เหตุผลข้อ 3 – โรว์ลิ่งชี้ว่า เธอกล้าพูดความคิดของตัวเอง เพราะเชื่อในสิทธิเสรีภาพในการพูด ว่าคนทุกคนจะพูดอะไรก็ได้ที่ตัวเองต้องการ ตราบเท่าที่ไม่ได้สร้างความขัดแย้งเกลียดชัง

เหตุผลข้อ 4 – โรว์ลิ่งอ้างงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่า การแปลงเป็นทรานส์ โดยขาดความไตร่ตรองให้ดี ส่งผลเสียหายหลายอย่าง เช่น บางคนอาจจะยังไม่ได้อยากแปลงเพศเลยก็ได้ แต่โดนสื่อต่างๆบิ้วความรู้สึกจนตัดสินใจไปแปลงแล้วมารู้สึกเสียใจทีหลัง

เหตุผลข้อ 5 – โรว์ลิ่งเล่าให้ฟังว่าในอดีตเธอเคยถูกผู้ชาย (สามีเก่า) ทำร้ายร่างกายมาก่อน และกลายเป็นปมแผลในใจจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีเงินทองมากมายแค่ไหน ก็ยังเป็นปมในใจเสมอ ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยให้เพศหญิงจึงมีความสำคัญสำหรับเธอ

“ผู้หญิงจำนวนมากที่เคยมีประสบการณ์แบบฉันมาก่อน เราจะถูกประณามเพียงเพราะต้องการพื้นที่สำหรับคนเพศเดียวกัน (Single-sex Spaces)”

“ฉันอยากให้ผู้หญิงข้ามเพศรู้สึกปลอดภัย แต่ก็ไม่อยากให้ผู้หญิงธรรมดารู้สึกปลอดภัยลดลง อย่างเช่น ถ้าคุณเข้าห้องน้ำหญิง แล้วไปเจอผู้ชายสักคนที่เชื่อว่า เขาเป็นผู้หญิง แบบนี้มันโอเคหรือ แล้วก็อย่างที่ฉันบอก การจะกำหนดเพศ ถ้ายึดตาม Gender แปลว่าคุณอาจตีความไปด้วยตัวเองได้เลยว่า เป็นเพศหญิงโดยไม่จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมน หรือทำศัลยกรรม มันเหมือนกับว่าคุณเปิดประตูให้ผู้ชายทุกคนที่อยากเข้ามา สามารถเข้ามาได้ง่ายๆ”

23) อย่างไรก็ตาม โรว์ลิ่ง ยังโดนวิจารณ์อยู่ โดยชาวเน็ตในต่างประเทศมองว่า เธอมีความไม่ชอบกลุ่มคน Trans มาตั้งแต่อดีตแล้ว คืออาจยอมรับ เลสเบี้ยน หรือ เกย์ แต่กับกลุ่มคนแปลงเพศจากชายเป็นหญิง โรว์ลิ่งจะออกมาแสดงจุดยืนเสมอ เนื่องจากเธอเชื่อว่าเพศ คือ Biological sex สังเกตได้จากในแฮร์รี่ พอตเตอร์ จะไม่มีตัวละครที่เป็นกลุ่มทรานส์เลย อย่างดัมเบิ้ลดอร์ กับ กรินเดวาลด์ เป็นความสัมพันธ์แบบชายรักชายก็จริง แต่เป็นในรูปแบบของเกย์ ไม่ใช่การข้ามเพศ (ทรานส์)

24) ดราม่าที่ถกเถียงกันอยู่ยังมีอีกหนึ่งประเด็นคือ โรว์ลิ่งเชื่อในประโยคว่า Sex is Real หรือโลกนี้มีเพศอยู่จริง (คือชาย และหญิง) ซึ่งขัดแย้งกับความคิดของหลายคนที่มองว่า Sex isn’t Real หรือเพศไม่มีจริง เพราะคนเราจะเป็นเพศอะไรก็ได้ที่อยากเป็น เจเค ตั้งคำถามว่าถ้าเพศไม่มีจริง เรื่องสิทธิสตรีก็ไม่มีจริงเช่นกัน และผู้หญิงก็ต้องได้รับการปฏิบัติตัวที่เท่าเทียมกันในสังคม แต่ในความจริงแล้ว แทบทุกประเทศในโลก เพศหญิงมีความเสียเปรียบตั้งแต่เกิด นั่นทำให้จึงเกิดมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มสิทธิสตรีขึ้น ซึ่งถ้าเพศไม่มีจริง สิทธิสตรีก็ไม่มีจริงเช่นกั

25) กลุ่มผู้สนับสนุนทรานส์มองว่า การที่โรว์ลิ่ง ต้องการให้โลกนี้มีแค่ชาย กับหญิง เป็นการลบตัวตนของคนกลุ่มทรานส์ออกไป ทั้งๆที่คนเหล่านี้ก็มีเรื่องราว และมีประวัติศาสตร์ของตัวเอง เป็นการกดกลุ่มทรานส์ ให้อยู่ในกรอบของความเป็นชายและหญิง

26) ณ เวลานี้ ความเห็นจึงแตกออกเป็นหลายแขนงมาก มีคนทั้งสนับสนุนและต่อต้าน เจ เค โรว์ลิ่ง โดยคำถามส่วนหนึ่งในโลกออนไลน์ที่น่าสนใจคือ

– ถ้ากะเทยที่ยังไม่แปลงเพศ แต่รู้สึกว่าตัวเองเป็นหญิง แบบนี้ควรนับว่าเป็นเพศหญิงหรือไม่ เราควรอ้างอิงตามเพศที่แท้จริง หรือตามความรู้สึกที่ต้องการของคนคนนั้น

– แล้วผู้ชายที่แปลงเพศแล้วเรียบร้อย มีสภาพภายนอกเหมือนผู้หญิงทุกอย่าง แบบนี้ ในเอกสารราชการเช่นพาสปอร์ต สามารถระบุได้ไหมว่าเป็นเพศหญิง

– ถ้ามีการสร้างโซนของเพศที่สามขึ้นมาเลย สำหรับกลุ่มทรานส์โดยเฉพาะ เช่นห้องน้ำของกลุ่มทรานส์ ห้องลองเสื้อของกลุ่มทรานส์ จะเป็นการดูหมิ่นกลุ่มทรานส์หรือไม่

– ความรู้สึกของผู้หญิงข้ามเพศ จริงๆแล้ว อยากเป็นหญิง หรืออยากเป็นทรานส์กันแน่

– ในเชิงกฎหมาย ควรอ้างอิงจาก Sex ตามที่กำเนิด หรืออ้างอิงจากเพศที่แต่ละคนต้องการ

27) สำหรับในเรื่องนี้ก็ยังเป็นดีเบทต่อไป แต่การประกาศจุดยืนของเจเค โรว์ลิ่งในครั้งนี้ ก็ทำให้เธอเสียฐานเสียงแฟนหนังสือของกลุ่มทรานส์ไปจำนวนไม่น้อย และถึงวันนี้ แนวทางของทรานส์ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าควรถูกวางโพสิชั่นไว้ในจุดใดกันแน่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า