SHARE

คัดลอกแล้ว

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ถูกรับรองให้เป็นอุทยานมรดกอาเซียน ผู้ว่าฯเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันอนุรักษ์อย่างเข้มแข็ง ด้านจังหวัดเตรียมจัดทำแผนการอนุรักษ์พื้นที่ไว้ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด โดยเฉพาะแผนจัดการพะยูน และหญ้าทะเลตัวชี้วัดสำคัญของความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์และทรัพยากร

จากกรณีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 30 (30th ASEAN Senior Officials Meeting on the Environment : 30th ASOEN) ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆนี้ มีการรับรองอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง เป็นอุทยานมรดกอาเซียน

วันที่ 12 ก.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง  กล่าวว่า  ถือเป็นความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวตรัง และมีความหมายที่ดีอยู่แล้วในตัว  โดยเฉพาะด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เนื่องจากทั้งอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบในการดูแลระบบนิเวศน์

โดยต้นแบบดังกล่าวทั้ง 2 พื้นที่   เกิดจากภาคประชาสังคมที่มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการอนุรักษ์ ทุกคนมีหัวใจในการดูแลมรดกของชาติ หรือของโลก ซึ่งถือเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาของอาเซียน  ซึ่งต่อไปทุกฝ่ายต้องช่วยกันดูแลอนุรักษ์พื้นที่ให้อยู่อาศัยร่วมกันได้อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ขณะเดียวกันให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์

นอกจากนี้ ตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกแห่งอาเซียนในครั้งนี้คือ ทะเลตรังทั้งในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง มีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์และถือเป็นต้นแบบสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือ เรามีพะยูนฝูงใหญ่ที่สุดในประเทศอาศัยอยู่ มีแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่เนื้อที่กว่า 18,000 ไร่  โดยเฉพาะที่บริเวณเขาบาตู ต.เกาะลิบง อ.กันตัง ทุกคนได้เห็นแล้วจากกรณีพะยูนน้อย “มาเรียม” กับการศึกษาเป็นตัวอย่างในการอนุรักษ์ เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์ มีความเหมาะสมในการดูแลห่วงโซ่อาหารทางทะเล เพราะในโลกนี้ถ้ามีพะยูนที่ไหนมาก หมายความว่าที่นั่นจะมีความอุดมสมบูรณ์  เหมือนอย่างเช่นที่ประเทศฟิลิปินส์ ที่ชาวประมงมีสัตว์น้ำทางทะเลมากมาย เช่นเดียวกับที่ ต.เกาะลิบง ทั้งนี้ แหล่งหญ้าทะเลถือเป็นแหล่งสร้างห่วงโซ่อาหารสำหรับสัตว์น้ำทางทะเลทุกชนิดมีความหลากหลายทางทะเล

ส่วนการรักษาให้ทั้ง 2 แหล่งมรดกอาเซียนแห่งนี้มีความยั่งยืนนั้น นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการให้ทุกฝ่ายร่วมกันอนุรักษ์อย่างเข้มแข็งแล้ว ทางจังหวัดจะต้องจัดทำยุทธศาสตร์ของจังหวัดขึ้นมา ทั้งเรื่องของพะยูน หอยมือเสือ หรือทรัพยากรทางทะเลที่หายาก จะต้องทำอย่างชัดเจนมากขึ้น ร่วมกับภาคประชาสังคม ภาควิชาการ หรือสถาบันการศึกษาต่างๆ

โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ด้านพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล จากที่เคยมีประมาณกว่า 170 ตัว ก็เพิ่มขึ้นเป็น 200 กว่าตัว รวมทั้งไม่มีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับพะยูนอีกแล้ว เช่น นำไปเครื่องรางของขลัง  นอกจากนั้น ล่าสุดทางจังหวัดก็ได้ให้งบประมาณกับอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จำนวน 5 แสนบาท เพื่อนำไปปลูกหญ้าทะเล  ถึงแม้จะไม่มาก แต่ก็ถือเป็นการจุดประกายด้านการอนุรักษ์

อย่างไรก็ตาม  สำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง – ปากแม่น้ำตรัง ยังได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) โดยเป็น 1 ใน 14 แห่งทั่วประเทศ ลำดับที่ 1182 มีเนื้อที่รวม 414,456.25 ไร่  เมื่อวันที่ 14  สิงหาคม 2545  ข้อมูลทั่วไปและความสำคัญของพื้นที่ ประกอบด้วย ระบบนิเวศ 3 ลักษณะคือ แม่น้ำ ปากแม่น้ำ และชายฝั่ง

มีความหลากหลายของระบบนิเวศสูง ประกอบด้วย ป่าชายเลน แหล่งน้ำกร่อย ชายหาด หาดหิน แนวปะการัง และแหล่งหญ้าทะเล เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของนกอย่างน้อย 212 ชนิด ชนิดที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ เช่น นกซ่อมทะเลอก แดง นกฟินฟุต นกหัวโตกินปู ทั้งนกอพยพและนกประเจ้าถิ่น รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน รวมทั้งเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง มีความงดงามทางธรรมชาติ ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาวิจัยที่สำคัญแห่งหนึ่ง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า