Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่มีการโทรศัพท์ติดต่อไปยังผู้ทำประกันภัย ชักชวนให้ยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิต และนำเงินไปทำกรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับใหม่ โดยมีข้อเสนอว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น การเพิ่มทุนประกัน หรือการเพิ่มเงินชดเชยค่าห้อง โดยจ่ายเบี้ยประกันภัยเท่าเดิม การนำเบี้ยประกันภัยส่วนเกินที่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้นำไปเพิ่มทุนประกันภัยและซื้อค่ารักษาเพิ่มขึ้นได้ เป็นต้น โดยกล่าวอ้างว่า เป็นการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของ คปภ.

วันที่ 5 ก.ค. นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่าเป็นการชักชวนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัย โดยผู้ชักชวนจะมุ่งเน้นไปยังผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีมูลค่าในกรมธรรม์ ให้ยกเลิกและขอเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนครบกำหนดสัญญา ซึ่งอาจจะทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับเงินคืนตามมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นจำนวนเงินที่น้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระไปแล้ว หรือหากซื้อประกันชีวิตฉบับใหม่อาจต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น เพราะมีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพที่เพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัย

ดังนั้น การชักชวนทางโทรศัพท์เพื่อให้ยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนครบกำหนดสัญญา จะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์ และส่งผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมประกันภัย จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยและประชาชนทั่วไป อย่าได้หลงเชื่อคำชักชวนดังกล่าว โดยขอให้พิจารณาด้วยความระมัดระวังและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลไปยังบริษัทผู้รับประกันภัยโดยตรง หรือ สืบค้นข้อมูลประกันภัยได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. www.oic.or.th

นายสุทธิพล กล่าวด้วยว่า หากเป็นการกระทำของตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย ถือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ คปภ. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งนายทะเบียนมีอำนาจลงโทษด้วยการเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนหรือนายหน้าได้ และหากพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดดำเนินการดังกล่าวโดยทุจริต หลอกลวงผู้เอาประกันภัยด้วยการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้นั้น ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท แต่ไม่ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตเกิดขึ้น หรือไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาสถานะสัญญาประกันชีวิตเดิม และโดยการหลอกลวงดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รวมไปถึงการกระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ย่อมเข้าลักษณะเป็นการฉ้อฉลการประกันภัย จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 114/3 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า