Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

Workpoint Today ได้มีโอกาสพูดคุยกับ LINE ประเทศไทย ตอนพิเศษ ‘LINE for Business’ เพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก การซื้อขายผ่านโลกออนไลน์และการปรับตัวหลังยุคโควิด-19 โดยมี คุณเบล สกุลรัตน์ ตันยงศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ SME, LINE ประเทศไทย และ คุณทิป มัณฑิตา จินดา LINE Certified Coach และผู้ก่อตั้ง Digital Tips Academy ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง

คุณเบล สกุลรัตน์ เปิดประเด็นด้วยสถิติผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน LINE ที่ได้อานิสงส์ช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 จากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม การติดต่อสื่อสารที่ดีที่สุดจึงเป็นสื่อออนไลน์ ทำให้ผู้ใช้งาน LINE ในช่วงนี้เพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะ LINE Call ทั้ง Voice Call และ VDO Call ผ่าน PC ที่ล้วนมีอัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้นเกินกว่า 200%

สอดคล้องกับคุณทิป มัณฑิตา ยอมรับว่า ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีการปรับตัวมากเหมือนกับทุกๆ คน จากปกติที่ Digital Tips Academy มีลักษณะการสอนเป็นแบบออฟไลน์ ก็ต้องปรับทุกอย่างก็มาเป็นออนไลน์ทั้งหมด และมีการใช้งาน แอปพลิเคชัน LINE มากขึ้นกว่าปกติ

และวิกฤติโควิดนี้ ทำให้เป็นจุดค้นพบว่า ความจริงแล้วการทำงานหลายอย่างไม่ต้องทำอย่างที่เคยทำมาก็ได้ และการปรับมาทำงานแบบใหม่นี้ก็สะดวกดี โดยเฉพาะ VDO Call ช่วยให้สะดวกขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่ต้องเดินทางไปประชุม ตอนนี้มีอะไรก็ทำงานผ่าน LINE VDO Call แทน ซึ่งมีฟังก์ชั่นการ Share screen แชร์ข้อมูลบนหน้าจอได้ ทำให้สะดวกในการทำงานมากขึ้น

พฤติกรรมคนเปลี่ยน จากผลกระทบวิกฤติโควิด-19

ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ SME, LINE ประเทศไทย ยอมรับว่า โรคโควิด-19 เข้ามาเปลี่ยนหรือมีผลกระทบต่อผู้บริโภคไทย 2 ส่วนซึ่งสอดคล้องกัน นั่นคือ รายได้ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการ โดยในส่วนรายได้จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลูกค้าที่ขาดรายได้หรือรายได้ถดถอยลง ส่งผลให้พฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าเปลี่ยนไป โดยเลือกซื้อสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันเท่านั้น เช่น อาหาร ยา หรือ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโควิด แต่ถ้าเป็นอีกกลุ่มที่ยังมีรายได้ประจำอยู่ ก็มักจะหันไปสนใจเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะกับการ Work from home หรือเหมาะกับการทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการสั่งอาหารมารับประทานที่บ้าน เนื่องจากมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามผลกระทบจากสถานการณ์โควิด

ด้วยประสบการณ์นักการตลาดของคุณทิป มัณฑิตา วิเคราะห์ว่า ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้เงินมากยิ่งขึ้น ตอนนี้สิ่งของที่เป็น want จะถูกชะลอการจับจ่ายลง แต่จะซื้อในสิ่งที่มันเป็น needs มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทุก ๆ วัน เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีอัตราเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน ขนาดและปริมาณการซื้อก็เปลี่ยนไป เมื่อคนอยู่บ้านมากขึ้น การซื้อของที่เป็นแพ็คขนาดใหญ่ก็จะเริ่มมากขึ้น ลูกค้าบางรายครอบครัวเดียว แต่สั่งผงซักฟอกครั้งเดียว 12 กิโลกรัมก็มี วัตถุประสงค์การซื้อแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ ช่วงแรกซื้อเพื่อกักตุน และระยะหลังซื้อของที่จำเป็น ที่ช่วยเอื้อต่อการทำงานที่บ้าน รวมถึงเรื่อง Redefine สร้างนิยามใหม่การใช้ชีวิต เช่น ในอดีตเคยออกไปหาความบันเทิงนอกบ้าน มี Friday night ซึ่งปัจจุบันนี้แทบไม่มีแล้ว คนก็จะมองหาว่าอะไรคือความสุข ความสุนทรีย์เมื่ออยู่ในบ้าน เช่น การปลูกต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ก็ขายดี ต้นกระบองเพชร กระถางต้นไม้ หรือกลุ่มตกแต่งบ้าน ก็มีส่วนที่เพิ่มขึ้นมาด้วย

คุณทิป มัณฑิตา จินดา LINE Certified Coach และผู้ก่อตั้ง Digital Tips Academy (คนซ้าย), คุณเบล สกุลรัตน์ ตันยงศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ SME, LINE ประเทศไทย (คนขวา)

 

เมื่อพฤติกรรมผู้ซื้อเปลี่ยน ผู้ขายปรับตัวอย่างไร

“จุดแข็งของ SME ไทย คือปรับตัวได้เร็วมาก” เป็นสิ่งหนึ่งที่คุณเบล สกุลรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ SME, LINE ประเทศไทย รู้สึกภูมิใจและประทับใจในประสิทธิภาพของ SME ไทยที่ส่วนใหญ่มีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว พร้อมแนะนำแนวคิดสำหรับ SME ในการปรับตัวธุรกิจ โดยสามารถเชื่อมโยงกับ LINE ได้ 4 ขั้นตอน นั่นคือ 1. Think การคิด 2. Plan การวางแผน 3. Action การลงมือทำเลย และ 4. Learning การเรียนรู้

โดยอันดับแรกต้องมาคิดก่อนว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปมีสาเหตุจากอะไร เพราะสถานการณ์บังคับ หรือเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเอง เนื่องจากวิธีการจัดการจะแตกต่างกัน พร้อมทั้งต้องคิดด้วยว่าเป็นการเกิดขึ้นระยะสั้น หรือระยะยาว เมื่อรู้แล้วว่าทำไมถึงมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น สิ่งที่ต้องทำต่อคือ Plan การวางแผน ว่าจะต้องเปลี่ยนสินค้าหรือไม่ สินค้าที่มีตอบโจทย์ลูกค้า ณ ปัจจุบันรึเปล่า หรือหาพาร์ทเนอร์ ช่องทางการติดต่อลูกค้าใหม่หรือไม่ เมื่อออฟไลน์ถูกปิด หากร้านค้าที่ไม่มีหน้าร้านจะต้องทำอย่างไร ซึ่งอย่างน้อยช่องทางออนไลน์ช่วยได้แน่นอน จากนั้นให้ Action ลงมือทำ แม้บางคนจะคิดดีมาก วางแผนดีมาก หากไม่ลงมือเริ่มทำเลย ธุรกิจก็ไปต่อไม่ได้ ขั้นตอนสุดท้ายสำคัญ เพราะหลังจากที่ลงมือทำแล้ว มักลืมกลับมาคิดว่าสิ่งที่ทำไปมันถูกรึยัง มีสิ่งไหนผิดพลาด มีอะไรที่ต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อให้ธุรกิจเราเดินหน้าได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ขั้นตอนเหล่านี้ก็จะเป็นแนวคิดที่ทำให้ธุรกิจต่อยอดนำไปฝ่าฟันทุกอุปสรรคได้

ผู้ก่อตั้ง Digital Tips Academy กล่าวว่า ในภาวะวิกฤติ SME ไทยเก่งสามารถปรับตัวได้ไวมาก ในระยะเวลากว่า 2 สัปดาห์ที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่าง ร้านอาหารแบบ Fine dining ที่ทุกคนเข้าไปนั่งรับประทาน สามารถเปลี่ยนจาก Fine dining กลายมาเป็น Delivery ในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งยังคิดค้นวิธีการรักษาคุณภาพอาหารให้มีมาตรฐานความอร่อย เหมือนนั่งรับประทานอยู่ในร้านได้อีกด้วย เช่น ร้านคอปเปอร์บุฟเฟต์ ส่งเมนูซุปเห็ดทรัฟเฟิล ให้ลูกค้าถึงบ้าน และยังคงความร้อนและอร่อย ไม่แตกต่างจากไปนั่งรับประทานในร้านได้

อีกร้านหนึ่งที่ถือเป็นตัวอย่างธุรกิจที่ปรับตัวได้ดี คือ SUITCUBE ร้านตัดสูทชื่อดังที่วางกรรไกรมาจับมีดขายหมูย่างสูตรเด็ด ด้วยการดึงความสามารถ จุดเด่นของพนักงานที่ถนัดแต่ละด้าน มาปรับตัวช่วยกันกู้วิกฤติ เช่น ย่างหมูเก่ง นึ่งข้าวเหนียวเก่ง ทำปลาร้าบองเก่ง มาร่วมกันทำอาหารสร้างธุรกิจใหม่ในยามวิกฤติชื่อ “หมูย่างสูตรคิวบ์” พ้องเสียงจาก ชื่อ SUITCUBE ร้านตัดสูท จนเป็นที่สนใจมากในสื่อออนไลน์

ดังนั้น การปรับตัวของธุรกิจ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบแรกปรับจากสิ่งที่เป็นอยู่ให้มาเป็นออนไลน์ คือ ใส่ตัว Digital Touchpoint เข้าไป กับอีกแบบนึงคือ เปลี่ยนเลย เอาสินทรัพย์ที่มีอยู่ มาคิดว่าทำอะไรได้บ้าง แล้วมาปรับเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ที่จะทำให้ได้เงินสดเข้ามา

สน จันทร์ศุภฤกษ์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์เสื้อสูท SUITCUBE ตัดสินใจปรับแบรนด์ขาย ‘สูท’ มาเป็นแบรนด์ขายหมูย่าง ‘สูตร’ คิวบ์ เพื่อประคองให้ธุรกิจและพนักงานอีกกว่าร้อยชีวิตของเขาอยู่รอดต่อไปได้

 

กลุ่มธุรกิจปรับตัวได้ดี ตัวอย่างการใช้ LINE เข้าถึงลูกค้า กระจายสินค้าได้เต็มสมรรถภาพ

3 ธุรกิจที่ปรับตัวได้ดี ในมุมมองของผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ SME, LINE ประเทศไทย ธุรกิจแรกคือร้าน SOdAPrintinG.com ธุรกิจผลิตของขวัญแบบมีชิ้นเดียวในโลก ด้วยรูปแบบการนำรูปภาพอัดเป็นของขวัญสุดพิเศษในโอกาสต่างๆ ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจที่ตอนนี้สามารถช่วยเหลือคนเพชรบุรีได้กว่า 100 ครัวเรือน ด้วยการหาดีไซน์ภาพ มาทำหน้ากากผ้าเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์แทนของขวัญรูปในแบบเดิม นอกจากช่วยเหลือชาวบ้านได้แล้ว ยังสามารถตอบโจทย์ตลาดได้เช่นกัน โดยมีการนำ LINE Official Account มาพัฒนาสินค้าและเป็นช่องทางติดต่ออีกด้วย

ธุรกิจทางการเกษตร เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ส่งออกลิ้นจี่ไปต่างประเทศใน จ.เชียงราย หลังจากเกิดการแพร่ระบาดและมีการประกาศล็อกดาวน์ประเทศ สินค้าเกษตรกรรมต่างๆ จึงไม่สามารถส่งออกสินค้าไปต่างประเทศได้ดังเดิม  เกษตรกรกลุ่มนี้จึงหันมาทำตลาดในไทยแทน โดยใช้ LINE Official Account เป็นหนึ่งในช่องทางที่ช่วยกระจายสินค้า จนสามารถเพิ่มรายได้ถึง 850,000 บาท ภายใน 2 สัปดาห์ เมื่อเริ่มมองเห็นว่าเป็นช่องทางการขายที่ใช่ มีประสิทธิภาพ จึงไปหาสินค้าอื่นในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น ส้ม ลูกไหน มาต่อยอด ขายเพิ่มเติมใน LINE Official Account อีกด้วย จนล่าสุด LINE Official Account ได้กลายเป็นช่องทางช่วยกระจายสินค้าได้มากถึงกว่า 22 ตัน

และธุรกิจร้านทำผม  โดยในช่วงที่ถูกปิดร้าน ไม่สามารถให้บริการได้ หลายร้านทำผมได้มีการปรับตัวสู่ออนไลน์ นำสินค้าที่ให้บริการในร้านจำพวก แชมพู ครีมนวดผมมาขายผ่าน LINE Official Account โดยหนึ่งในร้านทำผมชื่อดังที่เราเจอ มีการส่ง Broadcast ในรูปแบบ Card Message ที่สามารถส่งเป็นหลายรูปภาพเรียงกันให้เลือกได้ในข้อความครั้งเดียว โดยสามารถจัดวางสินค้าหลาย SKUs ลงไปลูกค้าเลือกได้ บ้างก็มีการปรับรูปแบบเป็นการขายบัตรกำนัล (Voucher) ที่เป็นส่วนลดในการดัดผม หรือทำสีผมไว้ล่วงหน้า โดยให้สามารถจองคิวไว้ก่อน แล้วมากำหนดวันทำผมอีกครั้งได้หลังสถานการณ์ดีขึ้น โดยนิยมส่ง Broadcast ในรูปแบบ Rich Content ทั้ง Rich Video และ Rich Message ด้วยผลตอบรับจากลูกค้า มีคนเข้ามา engage เยอะมาก

คุณทิป มัณฑิตา ยังได้กล่าวเสริมถึง Card-Based Message ฟีเจอร์ใหม่ของ LINE Official Account ที่พัฒนามาได้น่าประทับใจ โดยส่วนตัวชอบฟีเจอร์นี้มาก เพราะมีความสะดวกในการกดดู ธุรกิจที่เติบโตอย่างเห็นได้ชัดหลังจากใช้ฟีเจอร์นี้ คือ NPP Box ผู้ผลิตกล่องลูกฟูก กล่องไปรษณีย์ เพราะมีการปรับตัวที่น่าสนใจ ด้วยการสื่อสารกับลูกค้าผ่านการส่งข้อความแบบ Card Message และ Rich menu ที่ช่วยทำให้ข้อมูลน่าสนใจมากขึ้น มันทำให้คนที่ติดตามร้านนี้รู้สึกดีว่าสินค้านี้ไม่ได้หายไปไหน และเมื่อมีข่าวสารอะไรเขาก็จะมาคอยบอก จะสังเกตได้จากเนื้อหาที่นำเสนอ เป็นปัญหาของลูกค้าที่สะท้อนมา เพราะ LINE Official Account ทำให้คุยกับลูกค้าได้โดยตรง จากนั้นก็นำ Feedback จากลูกค้ากลับมาเป็นเนื้อหา และโปรโมชั่น เป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในช่วงนี้มากยิ่งขึ้น

 

ถ้าต้องการเริ่มต้นธุรกิจใน LINE Official Account ต้องทำอย่างไรบ้าง

เริ่มต้นง่ายๆ จากการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน LINE Official Account ทั้งระบบ android (Google Play) และ iOS (App Store) โดยมีหลายช่องทางให้ศึกษาวิธีการใช้งาน ทั้งใน LINE Official Account : LINE for Business (@linebizth) เว็บไซต์ https://www.linebiz.com/th/ และวิดีโอสอนวิธีการใช้งานต่างๆ ผ่าน https://tv.line.me/lineforbusiness รวมถึงช่องทาง Call center เพื่อรองรับแก้ปัญหาให้ลูกค้าในการใช้งาน LINE Official Account เบอร์ 02-841-5466 โดยเปิดทุกวันทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00 – 18.00 น.

และอีกช่องทางคือหนังสือ LINE for Business Handbook คู่มือการทำธุรกิจบนไลน์ เขียนโดย คุณทิป มัณฑิตา LINE Certified Coach เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ ไปจนถึงเทคนิคและเคล็ดลับการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ของ LINE Official Account ที่เหมาะสำหรับคนทำธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งทาง LINE ประเทศไทย รับรองว่าเป็นเนื้อหาที่ถูกต้อง

“จากประสบการณ์ที่ทำงานกับ LINE มา LINE นับเป็นแพลตฟอร์มที่ใส่ใจในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับคนทำธุรกิจ รวมถึง SME อย่างใกล้ชิดมากจริงๆ หนังสือ LINE for Business เล่มนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของสื่อการสอนที่เรียกได้ว่ามีเนื้อหาเยอะ คุ้มค่า สำหรับใครอยากจะเริ่มต้นการใช้งาน การที่มีหนังสือนี้ไว้เป็นคู่มือ มันทำให้อุ่นใจเหมือนมีไกด์นำทาง ส่วนคอร์สเรียนก็มี LINE Certified Coach เป็นโค้ชที่ได้รับรองจาก LINE หลากหลายท่านคอยมาให้ความรู้เยอะมาก ส่วนของตัวทิปเองก็จะมีการสอนเรื่อง Broadcast แบบเจาะลึกผ่าน Live ในวันที่ 29 พ.ค. นี้ เวลาทุ่มตรง สามารถติดตามได้ในช่องทาง LINE Official Account : LINE for Business (@linebizth) โดยแอด LINE เข้าไปฟังได้” คุณทิป มัณฑิตา กล่าวเสริมในส่วนของการเรียนรู้ใช้งาน LINE Official Account สำหรับ SME ที่เพิ่งเริ่มต้นปรับตัว

คุณเบลล์ สกุลรัตน์ ย้ำว่าผู้ใช้งานหรือผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลใจไป LINE Official Account ใช้งานง่าย เพราะเราได้พัฒนาระบบ ปรับปรุงฟีเจอร์ และฟังก์ชั่นต่าง ๆ ให้ใช้งานง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่เสมอ และพร้อมรับฟังฟีดแบคมาพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัว

“เราอยากให้ SME ใช้จุดแข็งของตัวเองให้ถูก และสามารถแก้จุดอ่อนของตัวเองให้ได้ สุดท้ายที่สำคัญอย่าลืมเรื่องของการปรับตัวให้เร็วมากที่สุด เพื่อให้ทันกับตลาด”

 

Next normal ในมุมมองของ LINE

คุณทิป มัณฑิตา LINE Certified Coach มองว่าโซเชียลมีเดียที่กำลังก้าวเข้ามาเป็นหัวใจหลัก จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทค่อนข้างมาก คนเริ่มกังวลเรื่องสุขอนามัย หันมาเป็น Cashless Society (สังคมไร้เงินสด) กันมากขึ้น ประกอบกับการประเมินจากหลายที่บอกว่าโควิด-19 จะอยู่นาน เมื่อทุกคนมีความกังวลการจับธนบัตร การใช้เงินสดจะลดน้อยลง โดยพบว่ามีการค้นหาในแพลตฟอร์มออนไลน์ ถึงเรื่องการใช้งาน Cashless เยอะขึ้น

เมื่อผู้บริโภคมาอยู่บนออนไลน์มากขึ้น แน่นอนว่าการแข่งขันก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ข้อดี คือตอนนี้มีเครื่องมือให้ศึกษาเยอะขึ้นมาก เพราะฉะนั้นการจะเข้ามาทำธุรกิจช่วงนี้ ต้องมีการศึกษา

“ที่สำคัญอย่ากลัว ให้เข้ามาได้เลยค่ะ เราไม่มีทางว่ายน้ำเป็น ถ้าเราอ่านหนังสืออย่างเดียว ต้องลองโหลดเลย แล้วลองเล่นดูเลย พอเล่นปุ๊ปมันจะงง พองงเราก็จะอ่านหนังสือ แล้วเราก็จะเก่ง มันก็จะเป็นวิถีแบบนี้”

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ต้องเปิดใจในการเรียนรู้ เพราะผู้บริโภคเน้นเรื่องความคุ้มค่า คุ้มราคา จะพูดเรื่อง Value for Money “คุณค่าของเงินที่จ่าย” มากขึ้น ดังนั้นการแข่งขัน จะไม่ใช่เรื่องของราคาถูกที่สุดอีกต่อไป แต่มันแข่งกันที่ความคุ้มค่า และที่สำคัญมากคือ ความโปร่งใส (transparency) จะมีความสำคัญในโลกยุคต่อไป คนจะเริ่มมองแล้วว่าสินค้าชนิดนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร โดยข้อมูลก็ควรจะโปร่งใส สามารถเปิดเผยและสื่อสารกับผู้บริโภคได้ ผ่านเครื่องมือที่เป็น digital tools ต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น Rich Menu เป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่มองว่ามีประโยชน์มาก มันช่วยให้เจ้าของธุรกิจประหยัดเวลา เพราะเมื่อลูกค้าแอด LINE ของร้านเข้ามา จะมีแถบด้านล่างให้คนคลิกได้เลย สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นที่แสดงความโปร่งใสของเรา ในการให้ข้อมูลได้หมดเลยว่าสินค้าเรามีที่มาที่ไปยังไง ตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างไร ทำให้สะดวกสบายขึ้น กดปุ๊บสามารถซื้อได้เลย ก็จะสามารถลดอุปสรรคในการซื้อ ทำให้การซื้อมันจบได้เลย เพียงแค่คลิกไม่กี่ครั้ง

“สิ่งที่สำคัญที่สุดให้คิดว่าตอนนี้เป็นบททดสอบสำคัญ คนที่จะไปต่อได้อาจจะไม่ใช่คนเก่งที่สุดเสมอไป แต่เป็นคนที่รู้จักปรับตัว และเหนือสิ่งอื่นใดต้องทำความเข้าใจเรื่องลูกค้า”

คุณทิป มัณฑิตา LINE Certified Coach ย้ำว่า LINE เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้เราได้ใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น เพราะสิ่งนี้เป็นหัวใจของการทำการตลาด เราจะไม่มีทางทำแคมเปญ โปรโมชั่น หรือสินค้าที่ดีได้เลย ถ้าเราไม่รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร

และบางครั้ง ไม่ใช่มองแค่ความต้องการของลูกค้าในตอนนี้ แต่ต้องดูในอนาคตด้วยว่าอะไรจะเป็นความต้องการถัดไป ยกตัวอย่าง วันนี้เราบอกว่าหม้อทอดไร้น้ำมันขายดี เราอาจจะต้องมองต่อไปอีกว่า แล้วต่อไปหลังจากหม้อทอดไร้น้ำมันคืออะไร

ดังนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดต้องทำการบ้านตลอดเวลา ต้องเป็นคนที่ติดตามข่าวสารและพยายามคุยกับลูกค้าเยอะๆ ก็จะช่วยให้ทุกคนผ่านวิกฤติไปได้อย่างแน่นอน

“มองไปข้างหน้า อย่าล้มกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะว่าทุกวิกฤติมีโอกาสเสมอ หลังฝนตกหนักย่อมมีแสงรุ้ง….. LINE เองก็จะพยายามรับ feedback มาเพิ่มเติมในทุกๆ ด้าน” คุณเบล สกุลรัตน์ ตันยงศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ SME, LINE ประเทศไทย กล่าวทิ้งท้าย

เรียบเรียงโดย: เบญจมาศ วิถี

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า