Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ใครเป็นใคร คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน

1. ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ

2. ชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อและรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 1

3. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 2

4. นิกร จำนง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา กรรมการและโฆษก

กรรมการ 

5. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (หัวหน้าพรรคประชาชาติ)

6. พิชิต ชื่นบาน ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน)

7. พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม อดีตเจ้ากรมเสมียนตรา

8. พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (อดีตรองผบ.ตร.)

9. พล.ต.อ.วินัย ทองสอง กรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ผู้ทรงคุณวุฒิ และอดีตรองผบ.ตร.

10. สิริวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ (จ่านิว) นักเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง

11. ศุภชัย ใจสมุทร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (อนุทิน ชาญวีรกูล) นายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย

12. วิรัตน์ วรศสิริน รองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย

13. วิภูแถลง พัฒนภูมิไท อดีตแกนนำนปช.

14. วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

15. วัฒนา เตียงกูล ทนายความ

16. รศ.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

17. ไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ

18. ผศ.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

19. พงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคด้านการพัฒนาพรรค พรรคเพื่อไทย

20. ประวิช รัตนเพียร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (อดีตกกต.)

21. นพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย

22. ธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ

23. ธงชัย ไวยบุญญา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาค

24. เทวัญ ลิปตพัลลภ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) และหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า

25. เดชอิศม์ ขาวทอง สส.สงขลาและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

26. ฐากร ตัณฑสิทธิ์ สส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย

27. ชาติพงษ์ จีระพันธุ อดีตรองอัยการสูงสุด

28. ชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์     ประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

29. ศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

30. ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย

31. ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป

32. ผู้แทนพรรคก้าวไกล

โดยล่าสุด ที่ประชุม สส.พรรคก้าวไกล มีมติไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นกรรมการฯ เพราะรัฐบาลยังไม่ยืนยันหลักการ ‘ร่างใหม่ทั้งฉบับ-เลือกตั้ง สสร.’ หากในอนาคตรัฐบาลเดินหน้าตาม 2 จุดยืน พรรคก้าวไกลพร้อมส่งตัวแทนร่วม

33. ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ

34. นพดล เภรีฤกษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นกรรมการและรองเลขานุการ

35. ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นกรรมการและรองเลขานุการ

สรุปจากการแถลงข่าวของนายภูมิธรรม ประธานกรรมการฯ วันนี้ (3 ต.ค. 66)

– ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ในการสรรหากรรมการ

– จะร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยการทำประชามติประชาชน ก่อน

– ไม่แตะต้องหมวดพระมหากษัตริย์ หมวด 1 หมวด 2 และพระราชอำนาจที่อยู่มาตราแทรกต่างๆ

– จะเป็นกระบวนการที่จะทำให้รัฐธรรมนูญเกิดความเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้น

– คาดเสร็จภายในวาระรัฐบาล 4 ปี โดยทำกฎหมายลูกเสร็จด้วย

– เริ่มประชุมคณะกรรมการฯ นัดแรก วันที่ 10 ต.ค. 66

– จากนั้นจะไปพบกับตัวแทนกลุ่มวิชาชีพต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่ไม่สามารถจัดคน ได้ครบถ้วน เช่น ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ องค์การสภานักศึกษาของมหาวิทยาลัย กลุ่มนักธุรกิจ สมาคมต่างๆ สมาคมธนาคาร ประมง นักท่องเที่ยว กลุ่มเกษตรกร นายกสมาคมนักข่าว ล้วนเป็นผู้ได้รับผลกระทบอยากให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่กว้างขวางที่สุดเท่าที่ทำได้

– รวมทั้งจะเชิญตัวแทนพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน อื่นๆ มาหารือด้วย

– วางกรอบก่อนสิ้นปี 2566 จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการทำประชามติ

– การทำประชามติ อิงตามศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย อาจจะเหลือ 2-3 ครั้ง

– มีเวทีรับฟังความเห็น ใน 3 ประเด็นคำถาม

1. กระบวนการแก้ไขและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรเป็นอย่างไร เช่น ที่มาของ สสร.

2. หากมีกระบวนการจัดทำประชามติ เพื่อจัดทำธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องทำประชามติกี่ครั้ง ทั้งนี้อยากทำให้น้อยที่สุด แต่ภายใต้กฎหมาย เพื่อลดงบประมาณ เช่น หากปรับให้เหลือทำ 2 ครั้ง จะใช้งบ 6,000-8,000 ล้านบาท

3. คำถามในการทำประชามติครั้งแรก ควรจะเป็นอย่างไร จะครอบคลุมแค่ไหน

“รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องทำให้ผ่านเพื่อไม่ให้เสียหาย เมื่อจะทำให้ผ่านนั้นก็หมายความว่า มันก็ต้องให้ฝ่ายต่างๆ ที่มีความคิดเห็นต่างกันหาจุดร่วมที่สามารถทำได้ และผมคิดว่าประชาธิปไตยมันเป็นพัฒนาการ พอเริ่มดีที่ขึ้นก็จะสามารถพัฒนาไปได้กว้างขวางมากขึ้น นำไปสู่การปรับแก้ไขได้อีกครั้งหนึ่ง” นายภูมิธรรม กล่าวตอนหนึ่ง

ที่มา 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า