SHARE

คัดลอกแล้ว

จิตแพทย์ แนะ 4 วิธีช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้คนฆ่าตัวตาย เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก ธีมหลักปี 2019 เน้นลดความสูญเสีย

นพ. อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์และโฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ เนื่องในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) ว่า ในปี 2019 (พ.ศ.2562) องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดธีมของปีนี้ คือ Working Together to Prevent Suicide เน้นการทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

ในประเทศไทยมีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสำเร็จกว่า 4,000 รายต่อปี และในแต่ละปีจะมีคนพยายามฆ่าตัวตายประมาณ 53,000 ราย ซึ่งแม้จะมีอัตราไม่ได้สูงขึ้นกว่าปีก่อนๆ แต่ทางกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ก็ยังมีความพยายามที่จะลดความสูญเสียด้านสุขภาพจิต ตลอดจนการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายให้เหลือน้อยลงมากที่สุด

นพ.อภิชาติ แนะนำวิธีการง่ายๆ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้คนฆ่าตัวตาย ดังนี้

1.เข้าใจเรื่องการฆ่าตัวตาย โดยเริ่มจากที่ตัวเราปรับความเข้าใจของตัวเราว่า ไม่ใช่เรื่องน่ารำคาญ ไม่ใช่การเรียกร้องความสนใจ แต่เป็นทางออกหนึ่งที่คนที่คิดฆ่าตัวตายเข้าใจผิดคิดว่าเป็นทางออกจากทุกข์และปัญหา

2.สังเกตคนรอบข้าง หลังจากปรับความเข้าใจของตัวเองแล้วควรสังเกตคนรอบข้างว่ามีความทุกข์ ใช้ชีวิตแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่

3.อย่าเพิกเฉย เมื่อพบคนที่มีความทุกข์หรือปัญหาอย่าเพิกเฉย รับฟังให้เยอะ เพราะการรับฟังช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายได้อย่างมาก แต่ถ้าเรารับฟังแล้วเอาไม่อยู่ให้ส่งต่อไปพบคนที่ช่วยเขาได้ นั่นคือจิตแพทย์ สำหรับคำพูดที่จะใช้ให้เลือกคำที่แสดงถึงความเข้าใจ ความรัก และความห่วงใย อย่าพูดตอกย้ำหรือพูดว่าสิ่งที่เขาคิดเป็นเรื่องน่ารำคาญ

4.อย่าส่งต่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรืออาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ช่วงหลังบางครั้งอาจพบว่า มีการส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เช่นกรณีโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย ว่า สามารถหายได้โดยไม่ต้องกินยา ใช้แค่การปรับสิ่งแวดล้อมหรือทานอาหารเสริม ซึ่งไม่จริง โรคซึมเศร้าต้องรักษาโดยการพบจิตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทานยาร่วมกับการทำจิตบำบัด ดังนั้นควรเช็คก่อนแชร์

“สุขภาพจิตเป็นเรื่องใกล้ตัว และพบว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้ปัญหาสุขภาพจิตลุกลามไปจนถึงการฆ่าตัวตาย เป็นเพราะความเข้าใจผิด กลัวการไปพบจิตแพทย์ ซึ่งความจริงแล้วการไปพบจิตแพทย์ก็เหมือนการไปพบหมอทั่วไป รีบไปรักษารีบหายกันดีกว่า หากเจอคนรู้จักไปพบจิตแพทย์ ควรสนับสนุนและให้กำลังใจ อย่าห้ามคนอื่นไปหาหมอ อย่าห้ามคนอื่นกินยา และนอกจากรับฟังคนอื่นแล้ว ต้องรับฟังตัวเองด้วย หากไม่ไหวก็ต้องพาตัวเองมาพบจิตแพทย์”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า