SHARE

คัดลอกแล้ว

คนไทยบางกลุ่มอาจจะไม่คุ้นเคยกับคำว่า ‘Live house’ มากนัก ทั้งที่เป็นการจัดอาร์ตซีนรูปแบบหนึ่ง คล้ายมินิคอนเสิร์ต หรือพื้นที่แสดงสดให้กับศิลปินหน้าใหม่ หรือกลุ่มคนรักเสียงดนตรีให้มาใช้พื้นที่เหล่านี้เพื่อแสดงอารมณ์ ความสุนทรีทางเสียงดนตรี โดยในหลายประเทศ Live House เป็นหนึ่งในงานอีเวนต์ดนตรีที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้

Live House ในความหมายที่หลายคนนึกถึงก็คือ กิจกรรมการรวมกลุ่มของคนที่รักในเพลงที่อาจจะยังไม่แมส หรือคนส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคย หลงใหลการเสพดนตรีร้องสด สเกลงานอาจจะเล็กหรือใหญ่ก็ได้ (ในระดับมินิคอนเสิร์ต) แต่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้

[ Live House ในไทยเริ่มมากขึ้น แต่ยังไม่มากพอ ]

‘มอย-สามขวัญ ตันสมพงษ์’ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลงคนรุ่นใหม่ What The Duck บอกกับ TODAY Bizview เกี่ยวกับการจัดอีเวนต์แบบ Live House ในเมืองไทยว่าตอนนี้เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพฯ เช่น เชียงใหม่ และขอนแก่น

“สเกลงาน Live House ตอนนี้มีตั้งแต่ 300 คน ไปจนถึง 1,000 คน จำนวนมากขึ้นเพราะสามารถจัดในพื้นที่ที่เป็น Live House จริงๆ ไม่ต้องจัดในร้านเหล้าอย่างเมื่อก่อนแล้ว”

“มีวงอินดี้มากมายจากต่างประเทศที่เข้ามาในไทย ทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ซึ่งมาร้องในพื้นที่ที่รองรับ Live House โดยเฉพาะ”

มอย What The Duck เล่าว่าแม้แต่ศิลปินคนไทยเองก็บินไปเล่นต่างประเทศบ่อยๆ เกือบทุกอาทิตย์ จะพูดว่าตอนนี้คนไทยและเมืองไทยเริ่มซึมซับความเป็น Live House มากขึ้นก็คงไม่ผิด

[ Live House ไทย = งานวัด ]

ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่า Live House ในไทยเกิดขึ้นนานแล้ว ซึ่งก็คือ ‘งานวัด’ โดย ต้อม – พงศ์สิริ เหตระกูล  ผู้บริหาร NYLON Thailand เขาอยู่เบื้องหลังงานอีเวนต์หรือเทศกาลดนตรีมากมายที่ผ่านมา เช่น Siam Music Fest

เขาพูดว่า จริงๆ ถ้าจะพูดว่าอีเวนต์ที่คล้ายกับ Live House มากที่สุดในไทยก็คงจะเป็นงานวัด และเป็นอีเวนต์ที่แข็งแรงมากๆ ด้วย

“ถ้าเป็น Live House ที่เหมือนในต่างประเทศในไทยอาจจะเกิดขึ้นยากหน่อย คนไทยยังชอบการฟังดนตรีสดที่มีเนื้อร้อง ยังเสพงานเพลงแมสๆ”

“Live House จะเติบโตมากๆ ถ้าคนอินกับเพลงที่ไม่รู้จัก ไม่ต้องร้องตามก็ได้ คือถ้าคนไทยเปิดใจมากกว่านี้ Live House จะมีโอกาสมากกว่านี้”

‘ต่อ-ธรรศ จันทกูล’ A&R โซนี่มิวสิคไทยแลนด์, อดีตหุ้นส่วน Brickhouse ซึ่งอยู่ในวงการเพลงมาแล้ว 20 ปี เขาเองก็มองว่า ไม่ว่าจะเป็น Live House หรือฟรีคอนเสิร์ต ถ้ามี ‘ความถี่’ ที่สม่ำเสมอ มีไอเดีย จัดงาน เกิดเป็นอีเวนต์ใหม่ๆ เพื่อให้คนไทยคุ้นชินกับ ‘ความใหม่’ สร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง Live House ก็อาจจะเกิดขึ้นมากกว่านี้

“ปัญหาสิ่งแวดล้อมของธุรกิจมิวสิคมันไม่ใช่แค่ความถี่ในการจัดงาน หรือไอเดีย แต่มันยังต้องคิดไปถึงโครงสร้างเรื่องการเข้าถึง การเดินทางที่ดึงดูดคน”

ต่อ-ธรรศ ยังมองด้วยว่า ตอนนี้ในเมืองไทยมีพื้นที่ที่เหมาะกับเป็นพื้นที่ Live House เยอะมาก One Bangkok, สามย่านมิตรทาวน์ ฯลฯ แต่อีเวนต์ดนตรีจะยั่งยืนไหมต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือกันด้วย

“ปีหน้าคนจะเรียกร้องความเป็นยูนิคมากขึ้น circle ของธุรกิจดนตรียังไม่ครบ ต้องดูว่าปี 2025 จะเปลี่ยนแปลงไปทางไหน หนึ่งในนั้นก็คือ T-POP ตอนนี้มีเยอะขึ้น ต้องดูว่าอนาคตของ T-POP จะเป็นอย่างไร จะไปถึงขั้นระดับโลกได้มากน้อยแค่ไหน?”

“Live House จะเกิดหรือไม่ อยู่ที่ mindset ความเป็น local ของคนไทยที่อยากจะอนุรักษ์ เช่น เราสามารถให้หมอลำเล่นกลางกรุงเทพฯ ได้มากน้อยแค่ไหน หรือ สนับสนุนให้หมอลำไปเมืองนอกได้อย่างไร เพื่อให้เกิด circle ของธุรกิจดนตรีของไทยที่แข็งแรง เหมือนที่เกาหลีใต้เขาปั้นศิลปินและส่งออกความเป็น soft power ออกไป”

ถามว่า Live House จะมาช่วย หรือมีบทบาทมากขึ้นกับเศรษฐกิจของไทยได้อย่างไร คำให้สัมภาษณ์ของแต่ละคนสะท้อนคำตอบต่างมุม แต่รวมๆ แล้วก็คงเป็นคำแนะนำ หรือการกระตุกต่อมคิดต่อจากนี้ ก็คือ

  • พื้นที่ Live House ในไทยมีมากขึ้น แล้วเราจะต่อยอดได้อย่างไร
  • Live House บางส่วนเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่จะยูนิคได้อย่างไร
  • ความถี่ของการจัดงานอีเวนต์ดนตรี อาจไม่ใช่แค่ Live House แต่ควรต้องสม่ำเสมอ
  • หมอลำของไทยไม่ต่างจาก Live House จะช่วยสนับสนุนให้ไปไกลระดับสากลอย่างไร
  • T-POP ในปี 2025 น่าจะเห็นมากขึ้นอีก แต่เราจะทำให้ต่างประเทศเห็น soft power ตรงนี้ได้มากน้อยแค่ไหน
  • คนไทยเปิดรับและรู้จัก Live House มากแค่ไหน
  • ใช้โอกาสและประโยชน์จากความเป็น Live House สไตล์ไทยต่อจากนี้อย่างไร

และทั้งหมดนี้เป็นบางส่วนจากการสัมภาษณ์กูรูทั้ง 3 คนกับ TODAY

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า