Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘Living with Water’ สถานีเรียนรู้รับมือกับภัยพิบัติทางน้ำ จากงานดีไซน์ของนักศึกษา สู่การก่อสร้างจริง

ภาพความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัย อันเป็นผลมาจากพายุดีเปรสชันเตี้ยนหมู่ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทางภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลางตอนบน ทำให้สังคมไทยตั้งคำถามตัวโตต่อมาตรการรับมือน้ำท่วมของภาครัฐอีกครั้ง

ไม่เพียงแต่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างแสนสาหัส หากแต่ภาพความเสียหายได้ทำให้คนกรุงเทพมหานคร (กทม.) หวาดผวา และหวนคืนความทรงจำอันเลวร้ายจากมหาอุทกภัยเมื่อปี 2554

ท่ามกลางความรู้สึกไม่มั่นใจ ประชาชนจำนวนมากได้ลุกขึ้นมาสร้างระบบเฝ้าระวัง ตลอดจนสร้างนวัตกรรมในการอยู่ร่วมกับน้ำ หรือ ‘Living with Water’ ด้วยตนเอง

หนึ่งในนั้นคือ ‘Am (phi) bious’ ผลงานรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดแบบสถานีเรียนรู้การรับมือกับภัยพิบัติทางน้ำ ภายใต้โครงการ ‘Save Ubon’ โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ซึ่งขณะนี้กำลังจะถูกก่อสร้างและติดตั้งจริงในโรงเรียนบ้านหนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

โรงเรียนบ้านหนองกินเพล ถือเป็น ‘โมเดลต้นแบบ’ ของการปรับตัวอยู่ร่วมกับน้ำที่พื้นที่อื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามบริบทของตัวเอง โดยโรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงประถมศึกษา หากไม่มีสถานการณ์น้ำท่วม พื้นที่ของโรงเรียนจะถูกใช้ไปเพื่อให้เด็กๆ ทำกิจกรรม

นายธนบดี ธนะทักษ์ และ นายนราชิต โครตพรหม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองเห็นโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนพื้นที่ในโรงเรียนเพื่อรับมือกับน้ำท่วม จึงได้ร่วมกันออกแบบสิ่งปลูกสร้างใหม่ขึ้นมา ในลักษณะ “อาคารลอยน้ำ” ซึ่งผู้คน 20-30 ชีวิต สามารถเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน มีทั้งแปลงผัก อาหาร และน้ำสะอาดเพียงพอต่อการอยู่อาศัยในระยะยาว

อาคารดังกล่าว ยังมีโซนห้องทำกิจกรรมสำหรับให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงข้อมูล และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมเมื่อเกิดอุทกภัยอีกด้วย

(ธนบดี ธนะทักษ์)

นายธนบดี เล่าว่า รูปแบบของงานสถาปัตยกรรมได้ถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่น โดยรูปแบบการลอยน้ำของอาคารจะเหมือนกับแพที่มีถังน้ำมันอยู่ข้างล่าง ตัวอาคารเป็นระบบโมดูลาร์ทำให้สัดส่วนและขนาดของงานสถาปัตยกรรมมีความง่ายในการจัดการ และสามารถใช้วัสดุขนาดมาตรฐานที่หาซื้อได้ทั่วไป เพื่อลดปริมาณของวัสดุและลดค่าใช้จ่ายในเรื่องวัสดุลง ทำให้ต้นทุนของงานไม่บานปลายและเพิ่มความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง

“น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต เราจึงออกแบบระบบเพื่อแยกน้ำสำหรับดื่มออกจากน้ำสำหรับใช้ทั่วไป และมีพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวที่ไม่ต้องนำไปแปรรูปหรือปรุงแต่ง เมื่อเกิดน้ำท่วมก็สามารถนำพืชผักส่วนนี้มาดำรงชีวิตได้เลย โดยความจุในการรองรับคนเพื่อมาพักพิงขณะเกิดน้ำท่วมอยู่ที่ประมาณ 20-30 คน” นายธนบดี ระบุ

แน่นอนว่า ผลงาน ‘Am (phi) bious’ ได้รับความสนใจ และได้รับการต่อยอดเพื่อให้เกิดการก่อสร้างจริง แต่ด้วยงบประมาณที่มีจำกัดเพียง 2 แสนบาท ทำให้ในการก่อสร้าง ต้องปรับลดขนาดลงกว่าครึ่ง เปลี่ยนโครงสร้างบางส่วน จากแบบเดิมที่พักได้ 20-30 คน จึงเหลือแค่ประมาณ 10 คน

“โชคดีที่ตอนออกแบบครั้งแรกใช้วัสดุก่อสร้างสำเร็จรูปอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นขนาดที่สั่งทำพิเศษ จึงไม่ต้องปรับลดอะไรมากนัก หลังสร้างเสร็จอาคารนี้จะถูกตั้งไว้บริเวณหน้าโรงเรียน ขณะสถานการณ์ปกติจะเป็นจุดนัดรับเด็กนักเรียนกับผู้ปกครองได้” นายธนบดี อธิบาย

(นราชิต โครตพรหม)

นักศึกษา มธ. รายนี้ เล่าอีกว่า ได้นำความรู้ที่เรียนจากมหาวิทยาลัยทั้งหมดมาใช้ในการออกแบบ แต่เมื่อมาเจอหน้างานจริงก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน โดยต้องสอดคล้องและยึดประโยชน์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก ซึ่งในกระบวนการการก่อสร้างนั้น อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้เข้ามาช่วยดูเรื่องวัสดุโครงสร้างเพื่อทำให้ราคาถูกลง

สำหรับการก่อสร้างสถานีเรียนรู้การรับมือกับภัยพิบัติทางน้ำ ‘Am (phi) bious’ ขณะนี้พูดคุยกับผู้รับเหมาเรียบร้อยแล้ว และมีการประสานงานไปยังมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้ช่วยดูแลเรื่องการก่อสร้างด้วย เพราะอยู่ใกล้พื้นที่การก่อสร้างจริง โดยคาดว่าจะสร้างเสร็จก่อนสิ้นปีนี้

“นี่เป็นงานการออกแบบชิ้นแรกที่รับรางวัลและได้สร้างจริงๆ แตกต่างจากก่อนหน้านี้ที่ออกแบบแค่ในชั้นเรียน โดยปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นถือเป็นประสบการณ์สำคัญมากๆ ส่วนตัวรู้สึกสนุกและมีความสุขที่ได้ออกแบบ และยืนยันที่จะสร้างผลงานชิ้นใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนสังคมต่อไปอย่างแน่นอน” นักศึกษารายนี้ ระบุ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า