SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์จุฬาฯ เปิดผลงานวิจัยภาวะสมองฝ่อหลังติดเชื้อโรคโควิด-19 พร้อมให้ข้อมูลสำตัญเกี่ยวกับภาวะลองโควิดที่ทั่วโลกกังวล

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดข้อมูลงานวิจัยภาวะสมองฝ่อหลังติดเชื้อโรคโควิด-19 จนถึงปัจจุบันมีการศึกษาโดยทำ MRI สมอง จากสหราชอาณาจักร (UK Biobank Study) ที่เผยแพร่ในวารสาร Nature ตั้งแต่ 7 มีนาคม 2565 และล่าสุดจากบราซิล เผยแพร่ในวารสาร PNAS เมื่อ 11 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ทั้งสองการศึกษา พบภาวะเนื้อสมองฝ่อ (Cortical atrophy) และความเสื่อมถอยด้านความจำ (Cognitive decline)

แม้จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อก่อนสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) แต่ก็ประมาทไม่ได้ คงต้องติดตามเรื่องผลกระทบจากสายพันธุ์โอไมครอนต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร ดูเงื่อนเวลาแล้วคาดว่าน่าจะมีงานวิจัยประเมินผลกระทบออกมาให้เห็นช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป

  • สรุปความรู้ปัจจุบันเกี่ยวกับ Long COVID สำหรับประชาชน

นพ.ธีระ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะลองโควิด คือ ภาวะผิดปกติหลังติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่เรียกว่า Long COVID (ลองโควิด) นั้นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกกังวล และส่งผลบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการดำเนินชีวิตประจำวัน และการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายสำหรับทั้งผู้ป่วย ครอบครัว/คนรัก/คนใกล้ชิด ที่ทำงาน และสังคม

  • การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้น แม้รักษาระยะแรกหายแล้ว แต่ก่อให้เกิดความผิดปกติในร่างกายต่อเนื่อง โดยอาจเกิดขึ้นจาก

    1. มีการติดเชื้อถาวร หรือมีชิ้นส่วนหรือสารพันธุกรรมของไวรัส ค้างอยู่ในร่างกาย (persistent infection) โดยปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นยืนยัน
    2. เกิดกระบวนการอักเสบระยะยาวเรื้อรัง (chronic inflammatory process)
    3. การติดเชื้อทำให้การทำงานอวัยวะ/ระบบต่างๆ ของร่างกายผิดปกติไปจากเดิม (organ dysfunction from viral infection)
    4. เกิดภูมิต่อต้านตนเอง (autoantibody) แต่ล่าสุดงานวิจัยจาก Ishikawa A มหาวิทยาลัยเยล ชี้ให้เห็นว่ากลไกนี้อาจเป็นไปได้น้อยลง
    5. เกิดการเสียสมดุลของเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในร่างกาย และส่งผลต่อความผิดปกติของอวัยวะและระบบต่างๆ ตามมา (Dysbiosis)

• อาการผิดปกติของลองโควิด เกิดขึ้นได้แทบทุกระบบ ตั้งแต่สมอง/ระบบประสาท ภาวะสมองฝ่อ ความจำเสื่อม คิดวิเคราะห์ลำบากกว่าปกติ ปวดหัว เวียนหัว ปัญหาการนอนหลับ และความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า เครียดวิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน ปัญหาหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่กล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อบุหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจขาดเลือด หัวใจหยุดเต้น รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง และการอุดตันของหลอดเลือดตามที่ต่างๆ ระบบหายใจผิดปกติ ทำให้เหนื่อยง่าย หอบ เพราะมีความผิดปกติของสมรรถนะของปอดและการแลกเปลี่ยนออกซิเจน

ระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ การเกิดโรคเบาหวานในคนที่ไม่เคยเป็นมาก่อน รวมถึงคนที่เคยเป็นเบาหวานมาก่อนก็อาจคุมโรคได้ยากมากขึ้น, ฮอร์โมน Cortisol ต่ำกว่าปกติ, และปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศ อารมณ์ทางเพศลดลง ปัญหาในการหลั่งอสุจิ รวมถึงอาการทางระบบอื่น ได้แก่ อ่อนเพลียเหนื่อยล้าจนทำงานไม่ไหว ออกกำลังกายไม่ไหว ผมร่วง และอาการปวดที่ต่างๆ ตามร่างกายทั้งกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

• ต้องเผชิญกับอาการผิดปกติไปนานแค่ไหน อาการผิดปกติเกิดขึ้นได้ตั้งแต่หลายเดือนไปเป็นปี หรือเป็นแบบถาวร ขึ้นอยู่กับความผิดปกติที่เกิดขึ้น

• เกิดกับใครได้บ้าง ภาวะลองโควิดเกิดได้ทั้งในคนที่เคยติดเชื้อแบบไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการรุนแรง เกิดได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยผู้ที่ป่วยปานกลางและรุนแรงจะเสี่ยงกว่าป่วยน้อยและไม่มีอาการ, เพศหญิงเสี่ยงกว่าเพศชาย (ราว 2 เท่า), และวัยผู้ใหญ่เสี่ยงกว่าวัยเด็ก

• โอกาสเกิดมากน้อยเพียงใด ภาวะลองโควิด เฉลี่ยแล้วมีโอกาสเกิดขึ้นราว 5-30⁺% ขึ้นกับสายพันธุ์ที่ติดเชื้อ และปัจจัยต่างๆ เช่น เพศ วัย อาการป่วยที่เป็น การฉีดวัคซีน ฯลฯ โดย US CDC พบว่า เกิดในวัยผู้ใหญ่ได้ราว 1 ใน 5 และในวัยเด็กได้ราว 1 ใน 4

ผลวิจัยล่าสุดในเนเธอร์แลนด์ พบเฉลี่ย 1 ใน 8 แต่ไม่ได้รวมอาการสำคัญที่พบบ่อยทั่วโลกคืออาการผิดปกติทางด้านความคิดความจำ ดังนั้นจึงมีโอกาสสูงกว่านั้น

• ป้องกันได้ไหม หากฉีดวัคซีนครบตามกำหนด จะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะลองโควิดได้ราว 15% โดย
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ

• มีวิธีรักษาไหม ภาวะลอโควิดยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะเจาะจง ปัจจุบันมีงานวิจัยทั่วโลกราว 26 โครงการที่กำลังศึกษาอยู่ แต่ต้องใช้เวลา หากมีอาการผิดปกติจึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และทำการดูแลรักษาโรคหรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้น

• ปัจจุบันเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรดี สำหรับคนที่เคยติดเชื้อมาแล้ว ควรหมั่นประเมินสภาพร่างกายและจิตใจเป็นระยะ หากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ ไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ รักตัวเองและครอบครัวให้มาก ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก

อ้างอิง
1. SARS-CoV-2 is associated with changes in brain structure in UK Biobank. Nature. 7 March 2022.
2. Morphological, cellular, and molecular basis of brain infection in COVID-19 patients. PNAS. 11 August 2022

https://www.facebook.com/thiraw

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า