SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยติดโควิด-19 และมีผู้เสียชีวิตในแต่ละวันติด Top 5-10 ของโลก สสส.เตือนภาวะลองโควิดมีมากกว่า 200 อาการ ขณะที่แพทย์ระบุลองโควิด อาจไม่ได้เกิดแบบปุ๊บปั๊บ แต่เป็นความเสี่ยงระยะยาว

วันที่ 20 เม.ย. 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อัปเดตงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะลองโควิด-19 ผ่านเฟซบุ๊กสาระสำคัญระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ของไทย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวานสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก

ทั้งนี้ จำนวนคนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 28.73% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

อัปเดตงานวิจัย

1. อาการอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้าหลังติดเชื้อโควิด-19 พบบ่อยกว่าไวรัสชนิดอื่น

Khatib S และคณะจากสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์สากล Irish Journal of Medical Science เดือนเมษายน 2565 นี้ โดยทำการประเมินผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 มานานเกินกว่า 4 สัปดาห์จำนวน 157 คน ตั้งแต่พฤษภาคม 2564 ถึงมกราคม 2565 พบว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จะมีปัญหาเรื่องอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้ามากถึง 43.3%

ด้วยอัตราความชุกที่พบนี้ ถือว่าสูงกว่าไวรัสชนิดอื่นๆ ที่เคยมีการศึกษามาถึง 3.6 เท่า เช่น EBV, Coxiella burnetii (Q fever) และ Ross River virus ซึ่งพบปัญหาอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้าราว 12% ในขณะที่เคยมีการศึกษาในคนที่เคยติดเชื้อไวรัส Ebola ก็พบอาการอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้าประมาณ 28% ซึ่งก็น้อยกว่าที่พบในโควิด-19

ทั้งนี้ งานวิจัยในช่วงที่ผ่านมาจากประเทศไอร์แลนด์ก็เคยรายงานว่าพบความชุกของอาการนี้ในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ถึง 52.8% ซึ่งก็อยู่ในระดับเทียบเคียงกับงานวิจัยนี้จากอเมริกา
ดังนั้นปัญหา post-viral fatique หรืออ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า หลังการติดเชื้อจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นความผิดปกติที่พบบ่อยในกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 และเป็นเรื่องหนึ่งที่เราน่าจะนำมาใช้ประเมินสถานะสุขภาพของตนเองได้ด้วย หากเคยติดเชื้อมาก่อน

2. ถ้าติดเชื้อโอไมครอน (Omicron) ผู้ที่ฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนล้วนมีระดับปริมาณไวรัสไม่แตกต่างกัน

Hirotsu Y และทีมงานจากประเทศญี่ปุ่น เผยแพร่ผลการศึกษาใน medRxiv เมื่อ 19 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ศึกษาในผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron จำนวน 611 คน (199 คนไม่ได้รับวัคซีน 370 คนได้รับไป 2 เข็ม และ 42 คนได้รับไป 3 เข็ม) พบว่าทั้งสามกลุ่มนั้นมีปริมาณไวรัส (viral load) และค่า Cycle threshold (Ct values) ไม่แตกต่างกัน

งานวิจัยนี้สะท้อนให้เราเห็นว่า แม้การฉีดวัคซีนนั้นมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต แต่หากไม่ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ และเกิดการติดเชื้อขึ้นมา ปริมาณไวรัสก็อยู่ในระดับเทียบเท่ากันกับคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ชิด และคนอื่นในสังคมได้

ด้วยสถานการณ์ระบาดของไทยยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กระจายทั่วจำนวนการติดเชื้อและจำนวนการเสียชีวิตในแต่ละวันก็ติด Top 5-10 ของโลก การใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวันในช่วงเวลานี้

และในอนาคตปัญหา Long COVID จะพบมากขึ้น และบั่นทอนสมรรถนะการดำเนินชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ และสมรรถนะการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมในระยะยาว

คนที่เคยติดเชื้อมาแล้ว ยังต้องป้องกันตัว เพราะจะติดเชื้อซ้ำ (reinfection) ได้ และควรประเมินสถานะสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติต่างจากอดีต ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะความเสี่ยงของ Long COVID อาจไม่ได้เกิดแบบปุ๊บปั๊บ แต่เป็นความเสี่ยงระยะยาว

อ้างอิง
1. Khatib S et al. Post‑COVID‑19 fatigue as a major health problem: a cross‑sectional study from Missouri, USA. Irish Journal of Medical Science. April 2022.
2. Hirotsu Y et al. Similar viral loads in Omicron infections regardless of vaccination status. medRxiv. 19 April 2022.

https://www.facebook.com/thiraw/posts/10224197546278842

ขณะที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพออกมาเผผยแพร่ข้อมูลระบุว่า หลังจากรักษาการติดเชื้อโควิด-19 หายเรียบร้อยแล้ว หลายคนพบว่าทุกระบบของร่างกายไม่เหมือนเดิม แต่ละคนอาจมีอาการไม่เหมือนกัน แม้อาการป่วยอาจไม่รุนแรง แต่ผลกระทบจากลองโควิดยังเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง ล่าสุด สสส. ได้ออกมาระบุเกี่ยวกับอาการลองโควิด (Long Covid) หลังพบว่ามีผู้ป่วยโควิดรักษาหายแล้วมีอาการลองโควิดมากขึ้น

อาการลองโควิดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลักๆ คือ

  1. อ่อนเพลีย
  1. หายใจไม่เต็มอิ่ม ทำกิจกรรมปกติได้ลดลง เหนื่อยง่ายขึ้น
  1. ภาวะสมองเสื่อม เช่น ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อในสิ่งที่จะทำ ความจำลดลง มีปัญหาการนอนหลับ ความสามารถในการควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมลดลง

นอกจากนี้ อาจจะพบอาการอื่น ๆ อีก เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน ลิ่มเลือดอุดตันในอวัยวะต่าง ๆ เช่น

ปวดหู หรือมีเสียงในหู

ปวดท้อง ท้องเสีย กินอาหารได้น้อยลง

ชา ปวดกล้ามเนื้อและข้อ

ไม่ได้กลิ่น รับรสได้ไม่ดี

ผื่นตามตัว ผมร่วง

รอบประจำเดือนมาไม่ปกติ

 

https://www.facebook.com/socialmarketingth/posts/310143554596919

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า