SHARE

คัดลอกแล้ว

Workpoint Today คุยกับลงทุนแมน วิเคราะห์ทางออกธุรกิจหลังโควิด-19 ว่าหลังจากนี้ เมื่อรัฐบาลเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ แต่ละภาคธุรกิจจะฟื้นตัวกลับมาได้ช้าเร็วอย่างไร

 

การบริโภคภายในประเทศ จะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมาภายใน 3-4 เดือน

       ธุรกิจภายในประเทศจะกลับมา รายได้ของร้านค้าอาจหายไปในช่วงเวลาสั้น ๆ พอห้างสรรพสินค้าเปิดคนก็กลับมา แต่จะกลับมาน้อยหรือมากนั้นขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของห้าง ว่าทำได้ดีแค่ไหน

       90 เปอร์เซ็นต์ น่าจะเป็น Old Normal คือขายได้ มีคนไปกินร้านอาหาร คนโหยหาที่จะไปร้านพวกนั้นอยู่แล้ว รวมถึงร้านเสื้อผ้า ร้านอะไรต่าง ๆ มันจะค่อย ๆ กลับขึ้นมาภายใน 3 เดือน 4 เดือน

       แน่นอน Social Distancing อาจส่งผลให้ร้านค้ามีกำไรน้อยลง แต่ผมเชื่อว่ามีวิธีแก้ แล้วร้านไหนที่แก้ได้ดีจะเป็นตัวอย่างให้อีกร้านหนึ่ง แบบที่เราเห็นเป็นไวรัลอยู่ ซึ่งนอกจากร้านอาหารมันยังมีร้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีก เช่น ร้านหนังสือ เมื่อก่อนเราไม่เคยสนใจเลย หยิบหนังสือขึ้นมาเปิด ๆ ตอนนี้เราอาจจะสนใจว่า หนังสือเล่มนี้ใครหยิบก่อนหน้าเรา ร้านหนังสือก็มีหน้าที่ทำความสะอาดให้ดี ไม่อย่างนั้นคนจะไม่กล้าหยิบ

       ดังนั้น ถ้าเกิดเราคุมให้มันเป็นระบบปิด หมายความว่าไม่ไปเติมคนติดเชื้อจากประเทศที่มีความเสี่ยง เราน่าจะคุมได้ในระดับที่ไม่แย่จนเกินไป คนไม่ตกใจ แล้วสภาพอย่างนั้นเศรษฐกิจจะไปได้

 

เมื่อธุรกิจกลับมาเปิดใหม่ การจ้างงานกลับมา กำลังซื้อจะกลับมาด้วย

       การกลับมาเปิดใหม่อีกครั้งจะเกิดการจ้างงานกลับขึ้นมา มันเป็นการปิดชั่วคราว บริษัทเหล่านั้นไม่ได้ล้ม ไม่เหมือนวิกฤติต้มยำกุ้งที่สถาบันการเงินปิดตัว บริษัทต่าง ๆ ล้มละลาย อันนั้นคือโดนไล่ออก แต่ครั้งนี้พอเปิดมาใหม่ปุ๊บ พนักงานก็กลับมา เขาก็มีรายได้กลับมาเหมือนเดิม

       แต่อาจมีพนักงานบางบริษัทถูก Lay Off เขาก็น่าจะหางานใหม่ที่เกี่ยวข้องได้ ถ้าเกิดเขายังมีความสามารถ มีกำลัง มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้น

      ที่น่าเป็นห่วงอยู่ คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพราะคนยังขึ้นเครื่องบินไม่ได้ และต่างประเทศเองเขายังห้ามให้คนมาที่ประเทศเรา รวมถึงประเทศเราก็ห้ามให้คนต่างประเทศเข้ามา พอมันเป็นอย่างนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมันยังกลับมาไม่ได้

 

ถ้าธุรกิจท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นจนถึงสิ้นปี GDP อาจหายไป 10-12%

       GDP ประเทศไทยมี 16 ล้านล้านบาท ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวคือ 12 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท ตีกลม ๆ เป็น 2 ล้านล้านบาท นักท่องเที่ยวเริ่มหายไปตั้งแต่เดือนมกราคมที่เป็นคนจีน ต่อมาเป็นเกาหลี ไล่มาไต้หวัน ฮ่องกง หลังจากนั้นก็เป็นยุโรป อเมริกา สรุปหายหมดเลย ตอนนี้ทุกประเทศมาเที่ยวไทยไม่ได้

       ถ้าเกิดเราปล่อยไปเต็มปี แน่นอน GDP ติดลบ 10 เปอร์เซ็นต์ 12 เปอร์เซ็นต์ แล้วมันเกี่ยวข้องกับการจ้างงานของประเทศไทย ระดับหลายล้านคน

 

ไทยต้องบาลานซ์ระหว่าง การควบคุมไวรัส กับ ฟื้นฟูการท่องเที่ยว

      ทำยังไงให้มันบาลานซ์กัน ระหว่างการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาได้เร็ว กับ รักษาให้การแพร่ระบาดไม่มากไปกว่านี้ ผมเชื่อว่าทำได้ เราจัดการได้ดีกว่านี้ เปิดห้างแล้วยังไงต่อ ต้องมองข้ามช็อตไปว่าประเทศอะไรที่กลับมาเที่ยวไทยได้ก่อน เช่น ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน จีน เลือกประเทศที่มันดี ๆ ควบคุมได้ แล้วต้องมั่นใจว่าข้อมูลของเขาจริง ไม่หลอกเรา ซึ่งเราก็ต้องพิสูจน์ให้เขาเห็นเหมือนกันว่า ตัวเลขเราโอเค เรามีขั้นตอนอย่างไร ทำให้เป็น Closed-Loop หรือวงจรปิด วงนี้เป็นวงที่ไปมาหากันได้โดยที่ปลอดเชื้อ

       ประเทศที่แย่ ๆ อย่าเพิ่งให้เขามา เช่น อินเดีย อย่าเพิ่ง ไม่เอาเลย เพราะผู้ติดเชื้อในประเทศเขายังเพิ่มขึ้นอยู่ ถ้าเกิดเราสามารถสร้างวงนี้ขึ้นมาได้ ผมเชื่อว่าประเทศไทยจะกลับมาได้เร็ว และเป็นตัวอย่างของโลก

 

ต้องดูข้อเท็จจริง ณ ปัจจุบัน มากกว่าความกลัว

       เรายังมี Mindset กับตอนมกรา ตรุษจีน อู่ฮั่นอะไรพวกนั้นอยู่ ในขณะที่ตอนนี้อเมริกามีผู้ติดเชื้อ 1 ล้านคน จีนมีผู้ติดเชื้อไม่ถึง 90 คน จากเดิมที่จีนแย่อยู่ประเทศเดียว กลายเป็นว่า 3 เดือน จีนกลับมาได้เร็วสุด เพราะฉะนั้นเราต้อง Move ให้ทัน ส่วนเรื่องข้อมูลถูกข้อมูลผิดต้องพิสูจน์กันอีกที

       แต่ถ้าเกิดเราดูจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในมือตอนนี้ ประเทศจีนมีประชากร 1,400 ล้านคน มีผู้ติดเชื้อ 90 คน คิดเป็น 0.000001 เปอร์เซ็นต์ ผมเชื่อว่ามันจัดการได้ ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ดีกว่าปล่อยให้รีสอร์ทหรือ Facility ที่เรามีอยู่ พนักงานที่เกี่ยวข้องในธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเยอะมากเป็นล้านคน ปล่อยให้เขานั่งเฉย ๆ ขอเงินเยียวยาจากภาครัฐ มันไม่ตอบโจทย์

 

นักท่องเที่ยวชอบประเทศไทย แต่เราต้องเตรียมระบบรองรับให้ดี

       Mindset ของทุกคนที่มีต่อเมืองไทย คือ เป็นสถานที่ที่น่ามา เพราะเรามีทั้งชายหาด ทั้งอากาศ ทั้งคน อาหาร นวดสปา เรามีพร้อมหมดแล้ว ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ สมมติถ้าเราผลิตรถใช่ไหมครับ เราต้องไปยืมดีไซน์ของญี่ปุ่นของยุโรป พึ่งพาอิเล็กทรอนิกส์ของจีน แต่ธุรกิจการท่องเที่ยวเราพึ่งพาคนไทยทุกคนที่ช่วยกันคอยต้อนรับเขา มันเป็นภาพรวม

       แต่หน้าที่ของเราคือต้องทำกฎเกณฑ์ ควบคุมไม่ให้คนแออัดเกินไป นี่เป็นโอกาสของประเทศไทย เพราะมันจะมีทั้งมาเที่ยวแล้วมาซื้อบ้านในนี้ ทำงานในนี้ รวมไปถึงรักษาพยาบาลในนี้ จะเกิดการจ้างงานวนลูป แล้วพวกนี้ Margin มันสูงเพราะ Copy ไม่ได้ เราสามารถเรียกราคาได้สูง

       ยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศส บริษัท 10 อันดับแรกของเขาเกี่ยวกับแบรนด์หรูหมดเลย LVMH Hermès ส่วนของเยอรมันมีแต่พวกยานยนต์ BMW Volkswagen แล้วขนาดความใหญ่ของบริษัทพอ ๆ กันเลย 2 ประเทศนี้เขารู้ว่าจุดแข็งของเขาคืออะไร ก็เหมือนกัน เรามีสิทธิใหญ่พอ ๆ กับญี่ปุ่นได้

       ความหวังคือ Productivity ต่อหัว Margin จะต้องสูงกว่านี้ แต่เราจะทำยังไงให้การท่องเที่ยวของไทยมี Value สามารถเพิ่มรายได้ เพิ่มอนาคตให้กับประเทศ เราต้องมียุทธศาสตร์ว่าต้องเพิ่มนะ ไม่ใช่ใช้ชีวิตเรื่อย ๆ ไปวัน ๆ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า