SHARE

คัดลอกแล้ว

รู้หรือไม่ว่าตลาดสุกี้ชาบูในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 15,000-20,000 ล้าน และแม้มีเจ้าตลาดรายใหญ่ที่มีสาขาเป็นร้อยแห่งทั่วไทยอยู่แล้ว แต่ด้วยความที่ความนิยมในอาหารประเภท ‘สุกี้-ชาบู’ ที่ไม่เคยแผ่ว และรูปแบบ ‘บุฟเฟต์’ ก็ยังเป็นที่ชื่นชอบของคนไทย

ทำให้ธุรกิจสุกี้ชาบู ดูเหมือนจะเป็นธุรกิจที่ยังพอมีโอกาสให้ ‘หน้าใหม่’ อยู่เสมอ เพราะแม้จะยังมีแบรนด์ใหม่ขอเข้ามาท้าชิงอยู่เรื่อยๆ ทั้งระดับแมสราคาย่อมเยา ไปจนถึงระดับพรีเมียม เพิ่มดีกรีความร้อนแรงให้การแข่งขันในตลาดนี้เข้าไปอีก

น้องใหม่อีกรายในตลาดนี้ก็คือแบรนด์ ‘ลัคกี้ สุกี้’ บุฟเฟต์สุกี้ราคาย่อมเยา ที่เปิดสาขาแรกได้ไม่ถึงปีก็ทำกำไรได้แล้ว จนกระทั่งเปิดสาขาที่ 2 ไปเมื่อไม่กี่วันก่อน

แล้ว ‘ลัคกี้ สุกี้’ เป็นใคร มีกลยุทธ์การทำธุรกิจอย่างไร และทำไมถึงกล้าเข้ามาตลาดนี้ TODAY Bizview ชวนไปรู้จักให้มากขึ้นกัน

จุดเริ่มต้นของ ‘ลัคกี้ สุกี้’ มาจากกลุ่มเพื่อน 4 คน คือ รสรินทร์ ติยะวราพรรณ, วิรัตน์ โรจยารุณ, รุ่งทิวา วิพัฒนานันทกุล และอิทธิพล ติยะวราพรรณ ชื่นชอบในเมนูสุกี้ และอยากให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ดี รวมถึงเห็นโอกาสในธุรกิจนี้ ทำให้พวกเขามาลงขันเปิดร้านบุฟเฟต์สุกี้ด้วยกัน แม้ทั้ง 4 คนจะไม่เคยมีใครทำธุรกิจอาหารมาก่อนก็ตาม

สาขาแรกของพวกเขาเปิดให้บริการตั้งแต่ 27 ม.ค. 2565 ที่คอมมูนิตี้มอลล์อย่าง People Park ในย่านอ่อนนุช โดยใช้ชื่อว่า ‘ลัคกี้ สุกี้’ เพราะเชื่อว่าการได้ที่ลูกค้ากินอาหารแล้วได้รับประสบการณ์ที่ดี ก็เหมือนได้รับความโชคดีกลับบ้านไปด้วย

ท่ามกลางร้านบุฟเฟต์ที่มีอยู่มากมายในท้องตลาด แต่ ‘ลัคกี้ สุกี้’ สาขาแรกก็ได้รับการตอบรับที่ดีเลยทีเดียว

ลองนึกดูว่า ร้านลัคกี้ สุกี้ สาขา People Park อ่อนนุช มีพื้นที่ราว 500 ตร.ม. รองรับลูกค้า 110 คน/รอบ ให้เวลากิน 1 ชั่วโมง 45 นาที ร้านเปิดตั้งแต่ 11.30 น. ถึงตี 2

วันหนึ่งๆ รับลูกค้าประมาณ 6-7 รอบ ช่วงพีคอย่างวันหยุดนักขัตฤกษ์ จำนวนลูกค้าพุ่งขึ้นไปถึง 10 รอบ ในราคาบุฟเฟต์หัวละ 219 บาท บวกเครื่องดื่มและ vat อีก 7% รวมเป็น 276 บาท/หัว

เท่ากับว่าสาขาแรกของลัคกี้ สุกี้ มีรายได้วันนึงประมาณ 1.82 แสนบาท ส่งผลไปถึงผลประกอบการสาขาแรกที่ ‘รสรินทร์’ บอกว่า “พ้นตัวแดงมานิดหน่อย” หรือหมายถึงไม่ขาดทุนนั่นเอง ขณะที่งบลงทุนสร้างร้านอยู่ที่ราว 20 กว่าล้านบาท

ความตั้งใจแต่แรกของพวกเขาที่คิดว่าปีนี้จะเปิดทั้งหมด 4 สาขา เมื่อได้รับการตอบรับดี ทำให้พวกเขามั่นใจขึ้นและตัดสินใจเปิดสาขา 2 ตามมาที่โลตัส บางนา-ตราด (ตรงข้ามกับเมกา บางนา) เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2565 โดยเป็นร้านขนาด 500 ตารางเมตร รองรับลูกค้าได้ราว 170 คน/รอบ

โดยจะทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท สำหรับการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างการรับรู้ให้ลูกค้า

ก่อนที่จะเปิดสาขาที่ 3 ในเดือน พ.ย. นี้ในห้างสรรพสินค้ากลางเมือง และยังวางแผนเปิดสาขาที่ 4 ในช่วงปลายปี

‘รสรินทร์’ บอกว่าความสำเร็จของลัคกี้ สุกี้ มาจากปัจจัยหลายๆ อย่างด้วยกัน คือ

1.ทำเล – ด้วยความที่เป็นแบรนด์น้องใหม่ ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ทำให้ลัคกี้ สุกี้ เลือกทำเลของร้านเป็นในคอมมูนิตี้มอลล์หรือห้างสรรพสินค้าที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน เพื่อดึงลูกค้าจากกลุ่มคนที่เข้ามาใช้บริการของห้าง

2.ราคา – รสรินทร์บอกว่า สำหรับธุรกิจบุฟเฟต์สุกี้ที่มีแนวโน้มไปได้ดี ถ้าไม่ทำแบบพรีเมียมไปเลย ก็ต้องเป็นระดับแมสไปเลย ซึ่งจากวิเคราะห์จนตกผลึกก็พบว่าราคาที่เหมาะสมกับลัคกี้ สุกี้ คือ 219 บาท/หัว เพราะเป็นราคาที่เข้าถึงคนทั่วไปได้ง่าย ผู้บริโภครู้สึกสบายกระเป๋า

ส่วนแบรนด์ที่ทำราคาระดับนี้ก็ต้องพยายามสร้าง volume ให้ได้เยอะๆ ถึงจะมีกำไรนั่นเอง

3.ความแตกต่าง – ลัคกี้ สุกี้ มองว่าทุกวันนี้ผู้บริโภคมักมาพร้อมความคาดหวังสูงเสมอ ทำให้แบรนด์นอกจากจะต้องมีมาตรฐานของร้านบุฟเฟต์สุกี้ในราคาระดับนี้แล้ว ก็ต้องสร้างความแตกต่างเพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้าด้วย

ความแตกต่างที่ว่าของลัคกี้ สุกี้ นั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การมีของทอด, มีเครื่องดื่มสมูทตี้, มีน้ำซุปใหม่ในทุก 3 เดือนมาให้ลอง หรือแม้แต่มีติ่มซำ มีการทำระบบสมาชิก มีการนำหุ่นยนต์เสิร์ฟมาใช้ รวมไปถึงการมีระบบสั่งออร์เดอร์ผ่าน QR Code เป็นต้น

4.รสชาติ – แน่นอนว่ารสชาติอร่อยย่อมเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้คนอยากไปกินอาหารร้านนั้นๆ ลัคกี้ สุกี้ เองเมนูอาหาร-ของสดต่างๆ เรียกได้ว่าอยู่ในระดับมาตรฐาน แต่ที่เป็นสูตรของร้านโดยเฉพาะก็คือ ‘น้ำจิ้ม’ ที่ผู้ก่อตั้งคิดสูตรกันขึ้นเอง และเป็นที่ถูกปากของลูกค้า

อย่างไรก็ตาม แม้จะดูมีแนวโน้มที่ดีจากสาขาแรก และแบรนด์เจ้าตลาดก็เน้นกลยุทธ์การขยายสาขาให้เร็วเพื่อเพิ่ม volume แต่ลัคกี้ สุกี้ กลับไม่ขอใช้วิธีนั้น และขอขยายสาขาแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า

สาเหตุเป็นเพราะต้องการควบคุม ‘คุณภาพ’

รสรินทร์บอกว่า จริงอยู่ที่การขยายสาขาเป็นเรื่องสำคัญ แต่สำหรับลัคกี้ สุกี้ แต่ละก้าวเราต้องมั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งเรื่องราคาและคุณภาพ และการขยายสาขาเร็วเกินไปก็อาจทำให้แบรนด์ควบคุมคุณภาพได้ไม่ดีพอนั่นเอง

รสรินทร์ยังไม่พูดอนาคตในปีหน้า แต่ที่แน่ๆ คือกลุ่มผู้ก่อตั้งทั้ง 4 คนยังไม่มีกำหนดการในการคืนทุน มีแต่อยากใส่เงินเพิ่มให้ขยายไปอย่างช้าๆ แต่ชัวร์ๆ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า