SHARE

คัดลอกแล้ว

โรคมะเร็งปอดยังคงเป็นหนึ่งสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั่วโลก แค่เฉพาะในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดเฉลี่ย 40 คนต่อวัน

แต่งานวิจัยล่าสุดพบข้อมูลที่น่าตกใจกว่านั้นคือคนที่ไม่มีประวัติการสูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งปอดมากขึ้นสาเหตุสำคัญมาจากมลพิษทางอากาศที่เราสูดดมกันอยู่ทุกวันนี้

นี่เป็นผลการศึกษาของนักวิจัยจาก The Lancet ร่วมกับ International Agency for Research on Cancer (IARC) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่าปัจจุบันพบการป่วยโรคมะเร็งปอดในกลุ่มคนที่ไม่มีประวัติเคยสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่มีประวัติการสูบบุหรี่

ที่สำคัญคือโรคมะเร็งปอดชนิดนี้มักพบในผู้หญิงและประชากรในทวีปเอเชีย

งานวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicine พบว่า ในปี 2565 มีผู้หญิงทั่วโลกถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปอด  908,630 คน ในจำนวนนี้มี 541,971 คน (คิดเป็น 59.7%) ที่ป่วยเป็นมะเร็งปอดชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) ซึ่งเป็นชนิดที่มักพบในกลุ่มคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้หญิงที่ได้รับการวิจัยว่าเป็นมะเร็งปอดชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา อย่างน้อย 80,378 คน ยังมีประวัติสืบค้นได้ว่าสาเหตุของการป่วยมีความเกี่ยวข้องกับมลพิษจากฝุ่นละออกขนาดเล็กในอากาศ หรือที่รู้จักกันว่า ‘PM 2.5’

นักวิจัยอธิบายว่า สาเหตุที่สัดส่วนการเกิดโรคมะเร็งปอดในกลุ่มผู้ที่ไม่เคยมีประวัติสูบบุหรี่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนทุกวันนี้เปลี่ยนไปจากเดิม และปัจจุบันอัตราการสูบบุหรี่ในหลายประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง 

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสูบบุหรี่และการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้อุบัติการณ์ของมะเร็งเปลี่ยนไปเป็นตามที่เราพบเห็นในปัจจุบันดร. เฟรดดี้ เบรย์ หัวหน้าฝ่ายเฝ้าระวังมะเร็งของ IARC ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยชิ้นนี้ ระบุ พร้อมเสริมว่ามะเร็งปอดในกลุ่มผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ คาดว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งอันดับ 5 ของโลก

 

คนไทย 40 คน ตายจากมะเร็งปอดทุกวัน

หากย้อนมาดูสถานการณ์ในประเทศไทย นายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยในวารสารกรมการแพทย์ เมื่อเดือน พ.. 2567 ว่า มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในไทย รองจากมะเร็งตับและท่อน้ำดี

และจากการเปิดเผยของเรืออากาศเอกนายแพทย์สมชายธนะสิทธิชัยผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดคือการสูบหรือรับควันบุหรี่มือสองซึ่งมีทั้งบุหรี่ทั่วไปและบุหรี่ไฟฟ้า

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านพันธุกรรม การสัมผัสสารก่อมะเร็ง ได้แก่ แร่ใยหิน ก๊าซเรดอน (เกิดจากการสลายตัวของธาตุเรเดียมซึ่งนำมาใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน) รังสี ควันธูป ฝุ่นไม้ และมลภาวะทางอากาศต่าง ๆ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 ซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นสารก่อเกิดมะเร็ง

ทั้งนี้มะเร็งปอดถือว่าเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคค่อนข้างมากส่งผลกระทบต่อชีวิตสูงอีกทั้งการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งในระยะแรกค่อนข้างลำบากทำให้ประสิทธิภาพของการรักษามีข้อจำกัด

ทางที่ดีที่สุดคือควรมุ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา เช่น การหยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่ อยู่อาศัยในสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายหากต้องปฏิบัติงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และหมั่นตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา

thaihealth

thelancet

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า