SHARE

คัดลอกแล้ว

ทำความรู้จักปรากฎการณ์ Lying Flat เมื่อคนรุ่นใหม่ในจีนถามแรง “ทำงานหนักไปทำไม?” เมื่อสังคมที่เป็นอยู่ไม่มีโอกาสให้ลืมตาอ้าปาก

แนวคิดในอดีตที่ท่องตามๆ กันมาอย่าง “ทำงานหนักตอนนี้ สบายตอนหน้า” หรือ “อดทนทำงานไว้ก่อน อนาคตจะได้สบาย” เคยขายได้ถ้าย้อนกลับไปเมื่อก่อน แต่ตอนนี้คนรุ่นใหม่ทั่วโลกเริ่มหันมาตั้งข้อสงสัยว่าเอาเข้าจริงอดทนตอนนี้จะสบายตอนหน้าจริงหรือ? 

TODAY Bizview พาไปดูปรากฎการณ์ Lying Flat ในจีน หาต้นเหตุของการที่คนรุ่นใหม่เริ่มปล่อยเกียร์ว่างให้กับการดิ้นรนเพื่อความสำเร็จ และถอดบทเรียนชีวิตการทำงานให้กับแรงงานทั่วโลก

[ Lying Flat เมื่อสังคมนอนราบ ]

ไม่นานมานี้ South China Morning Post เขียนบทความนำเสนอภาพความเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างหนึ่งในจีนคือ Lying Flat มาจากคำว่า ถั่ง-ผิง (躺平) ในภาษาจีน แปลตรงตัวว่า ‘นอนราบ’

ปรากฏการณ์นอนราบ หมายถึง ภาวะที่คนรุ่นใหม่ที่เป็นคนชนชั้นกลางในจีน หมดความทะเยอทะยาน มีความคิดที่จะเลิกอุทิศตัวให้กับงานหนัก เพราะทำงานหนักไปก็เท่านั้น หมดความหวังที่จะเลื่อนชนชั้นทางสังคม

จากเดิมที่สังคมเคยพร่ำบอกให้ตั้งใจเรียน อดทนทำงาน ก่อร่างสร้างตัว สร้างครอบครัว ซื้อบ้าน คนจำนวนไม่น้อยจึงเริ่มหันหลังและนอนราบให้กับความคาดหวังเหล่านี้ 

จีนในปัจจุบันเจอปัญหารุมเร้า เศรษฐกิจชะลอตัว ตึงเครียดจากการทำงานหนัก ความเหลื่อมล้ำพุ่งสูง การต่อสู้เพื่อเลื่อนสถานะทางสังคมจึงกลายเป็นความพยายามแสนสาหัส ได้ไม่คุ้มเสียต่อการดิ้นรน

เพราะร่างกาย จิตใจ ครอบครัว และเวลาชีวิต คือราคาที่พวกเขาต้องจ่าย ที่สำคัญคือไม่แน่นักว่าจ่ายไปแล้วจะได้อะไรกลับมา

[ พันหมื่นเหตุผล ของปรากฎการณ์ Lying Flat ]

เริ่มที่ภาพใหญ่ เศรษฐกิจจีนเริ่มแผ่วหลังโตแรงหลายปี จากความขัดแย้งที่ยังแรงไม่หยุดกับสหรัฐฯ การชะลอตัวของเอกชนจีน ไปจนถึงโควิด-19 คำว่า “อดทนไว้ ตอนแก่จะได้สบาย” จึงอธิบายสังคมได้น้อยลงเรื่อยๆ

ไม่นานมานี้ พนักงานวัย 25 ปี ของ Bilibili เสียชีวิตจากภาวะเลือดออกในสมอง สังคมพุ่งเป้าว่าสาเหตุของการตายครั้งนี้คือการทำงานแบบ 996 (แนวทางการทำของบริษัทเทคโนโลยีจีน ที่ให้เริ่มงานตอน 9 โมงเช้า เลิกงาน 3 ทุ่ม และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์) แถมก่อนหน้านี้ ก็เคยมีกรณีที่พนักงานวัย 22 ปี ของบริษัท Pinduoduo เสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ ระหว่างกลับบ้านตอนตี 1

คนรุ่นใหม่มองว่า ผลเสียจากการทำงานหนักนั้นมีต้นทุนที่สูงเกินไป เพราะมันไม่ได้แค่บั่นทอนสุขภาพเท่านั้น แต่ยังบั่นทอนจิตใจ ส่งผลต่อการหมดไฟ โรคซึมเศร้า และอาจหนักถึงการฆ่าตัวตายอย่างที่มีให้เห็นบ่อยๆ ในข่าว

แถมนับวัน คนจีนลืมตาอ้าปากได้ยากขึ้นจากค่าครองชีพที่พุ่งทะยานไม่ว่าจะเป็นค่าบ้าน ค่าเลี้ยงดูบุตร หรือแม้แต่ค่าครองชีพของตัวเอง สวนทางกับรายได้ที่โตช้า (จีนมีคนทำงานจำนวนมาก)

ที่สำคัญ ความเหลื่อมล้ำของจีนถูกฉีกห่างไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ตัวเลขล่าสุดจากทางการจีนชี้ว่ารายได้ของคนเมืองมากกว่าคนชนบทถึง 2.5 เท่า ความหวังในการเลื่อนสถานะของคนรุ่นใหม่จึงค่อนข้างเลือนราง 

และนี่คือเรื่องใหญ่มาก เพราะคนชนบทมีจำนวนถึง 500 ล้านคน หรือมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากร

นอกจากนี้ ค่านิยมทางสังคมที่มักจะกดดันให้คนดิ้นรนเพื่อประสบความสำเร็จทั้งจากครอบครัวและสังคมโดยรวมก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเงียบที่ทำร้ายคนรุ่นใหม่ (เราอาจคุ้นๆ เรื่องนี้ในรูปแบบคำถามที่ว่า อายุ 25 แล้วมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันหรือยัง?)

[ วิกฤติประชากร สะท้อนสภาพสังคมจีน ]

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สะท้อนถึงการนอนราบของคนจีนคือ ‘วิกฤติประชากร’ 

ล่าสุด อัตราการเกิดในจีนอยู่ที่ 1.3 คนต่อผู้หญิง 1 คน ลดลง 22% จากปีก่อน ที่สำคัญคืออัตราการเกิดลดลงต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐบาลจะยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวและส่งเสริมให้มีลูก 2 คน ตั้งแต่ปี 2016 

นอกจากนี้ การศึกษาจาก Jiaotong University ยังชี้ว่าคนจีนรุ่นใหม่ไม่อยากแต่งงาน แถมจำนวนการแต่งงานก็ลดลงมาเรื่อยๆ ถึง 8 ปีติดต่อกัน แถมการศึกษาจากอีกแหล่งยังชี้ว่าผู้หญิงจีนไม่มีความสุขในชีวิตแต่งงานเพิ่มขึ้น 2 เท่าในเวลา 10 ปี

นอกจากรายจ่ายของการสร้างครอบครัวและเลี้ยงดูบุตรที่เพิ่มขึ้นแล้ว สาเหตุของเรื่องนี้ยังมีที่มาจากการทำงานหนัก ไม่มีเวลา ความตึงเครียดจนเป็นปัญหาครอบครัว ไปถึงขั้นที่มองว่าการมีลูกคือภาระ

การแต่งงาน การสร้างครอบครัว และการมีลูก คือหนึ่งในความสำเร็จตามค่านิยมดั้งเดิม อัตราการเกิด ทัศนคติต่อการแต่งงาน และจำนวนการแต่งงานที่ลดลง จึงเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าสังคมกำลังนอนราบ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม

[ ทะเยอทะยานทำไม เมื่อมองไม่เห็นความสำเร็จ ]

งานหนักไม่เคยทำร้ายใคร งานหนักทำให้คนประสบความสำเร็จ นั่นคือตำราเก่า 

ทุกวันนี้ ปัจจัยในภาพกว้างหลายอย่างไม่เหมือนเดิม โลกเปลี่ยน เศรษฐกิจเปลี่ยน สภาพสังคมเปลี่ยน อะไรที่เคยเวิร์ค มาวันนี้กลับไม่เวิร์ค

คนรุ่นใหม่ในสังคมจีนต้องดิ้นรนทำงานกันแบบ 996 เอาสุขภาพกายและใจเข้าแลกเงิน แต่ก็ยังมีรายได้ไม่พอให้ลืมตาอ้าปาก ค่าครองชีพสวนทางรายได้ ความเหลื่อมล้ำทำให้ไม่มีต้นทุน แถมยังต้องเครียดจากการทำงานและค่านิยมของสังคม กลายเป็นว่าการปล่อยเกียร์ว่างคือทางเลือกที่ทุกข์น้อยกว่า

พวกเขาเลิกดิ้นรนเพื่อความสำเร็จ เพราะมองไม่เห็นความสำเร็จรออยู่ที่ปลายทาง หรือแม้จะเห็นแต่ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อแลกมาก็สูงเกินไป

ที่มา 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า