SHARE

คัดลอกแล้ว

ชาวประมงพื้นบ้านสมุทรสงครามเผยปีนี้บางรายยังไม่เจอปลาทู งงปิดอ่าวแต่ปลาเกือบสูญพันธุ์ วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาสาเหตุวางแนวทางแก้ไข ด้านประธานบริหารสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เผยก่อนหน้านี้ ปัญหามาจากอวนจมที่แม้ไม่ผิดกฎหมายแต่ใช้เกินกว่าที่ได้รับอนุญาต

วันที่ 2 ก.ค. ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่บ้านปากมาบ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งชาวบ้านประกอบอาชีพชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก พบว่าส่วนใหญ่ปีนี้ได้ปลาทูไม่ถึง 10 ตัว และบางรายยังไม่ได้แม้แต่ตัวเดียว

นางธัญลักษณ์ ตัณสกุล อายุ 46 ปี ซึ่งเพิ่งกลับจากการหาปลาจากปากอ่าวแม่กลอง กล่าวว่า ชาวประมงพื้นบ้านเรือเล็กจะนิยมใช้อวนจมที่จมหน้าดินจะติดปลากุ้ง ปู ขึ้นมาจำหน่ายสร้างรายได้จุนเจือครอบครัว ในอดีตปลาทูมีจำนวนมาก แต่มาระยะหลังที่ปิดอ่าวแทนที่ปลาทูจะอุดมสมบูรณ์ แต่กลับกลายหายไปหมด ชาวบ้านก็ยังงง หากินลำบาก กฎระเบียบเยอะเพราะปลาทูตัวเดียว และจะให้ชาวบ้านทำมาหากินอะไร คนอื่นที่ไม่เข้าใจก็กล่าวหาว่าชาวบ้านทำปลาทูสูญพันธุ์

ที่จริงชาวบ้านก็ทำประมงก็น้อยลง เนื่องจากติดขัดกฎระเบียบ ไหนจะต้องลงทุนออกหาปลาก็ไม่ได้ดี เรือลากเรือรุนก็ไม่มี แต่ไม่รู้ว่าสาเหตุที่ปลาทูหายไปจากท้องทะเลไทยเกิดจากอะไรกันแน่ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาตนยังจับปลาทูไม่ได้สักตัวเดียว ขณะที่ปีที่แล้วทั้งปีได้ประมาณ 2-3 กิโลกรัม ซึ่งตนเก็บไว้กินเองไม่ขายด้วย นอกจากนี้ยังปูม้าก็หายไป กุ้งก็ไม่มี ปลาหลายชนิดก็หายไป แต่ที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆ กลับบอกว่ามีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มขึ้นตรงไหนไปฟังข้อมูลใครมา จึงวอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาดูข้อเท็จจริงด้วยว่าเกิดอะไรกันขึ้นกับท้องทะเลไทย อยากให้มาดูแลด้วยไม่ใช่จ้องจะจับผิดชาวบ้านกันอย่างเดียว

ด้านนางอุทัย สมุทรนันทพงษ์ อายุ 56 ปี แม่ค้ารับซื้อปลาท่าเทียบเรือริมคลองปากมาบ กล่าวว่า ในอดีต โดยเฉพาะในช่วงปี 2556-2557 ที่มีการปิดอ่าว ก.ไก่ ใหม่ๆ ห้ามเครื่องมือทุกชนิดทำประมงในฤดูวางไข่ ปลาทูแม่กลองตัวใหญ่ๆ เยอะมากมีปลาทูเข้ามานับล้านๆ กิโลกรัม รับประทานกันจนเบื่อต้องเอาไปทำปลาป่นให้อาหารสัตว์ ราคากิโลกรัมละ 9-10 บาท แต่มาในช่วง 3 ปีผ่านมา ปลาทูเริ่มหายไปเรื่อยๆ ปีนี้ชาวประมงบางรายได้เพียง 2-3 ตัว บางลำ 5-6 ตัว บางลำก็ไม่ได้เลย ซึ่งชาวประมงจะไม่ขายแต่จะเก็บไว้กินเอง

มงคล เจริญสุขคณา ประธานคณะกรรมการบริหารสมาคมประมงแห่งประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ นายมงคล เจริญสุขคณา ประธานคณะกรรมการบริหารสมาคมประมงแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์ปลาทูไทยในปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤติ แม้ทุกปีกรมประมง ประกาศปิดอ่าวไทยตอนบน (อ่าวรูปตัว ก.ไก่) ตั้งแต่ จ.ชลบุรี ถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ สองช่วงคือระหว่าง 15 มิ.ย. – 15 ส.ค. และ 30 ส.ค. – 30 ก.ย. เพราะให้สัตว์ทะเลวางไข่ และได้เจริญพันธุ์เต็มวัยโดยเฉพาะปลาทู ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ที่ผ่านมาเรือประมงพาณิชย์ ถูกควบคุมไว้อย่างเข้มงวด แต่ปรากฏว่าประมงพื้นบ้าน ได้ใช้อวนจม ลักลอบจับปลาทูพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ซึ่งจะทำให้ปลาทูหมดจากอ่าวไทยใน 5 ปี จึงเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

นายมงคล กล่าวว่า แม้อวนจม ไม่ได้เป็นเครื่องมือผิดกฎหมาย แต่ชาวประมงจะใช้เกินกว่าที่ได้รับอนุญาต เป็น 10 -100เท่า เช่น ประมงชายฝั่งได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ลำละไม่เกิน 2,000-2,500 เมตร แต่ชาวประมงได้ลักลอบ นำเครื่องมืออวนจม ออกไปวางยาวถึง 10,000 – 20,000 เมตร จนทำให้ มีการดักจับพ่อแม่พันธุ์ปลาทูไปก่อนที่จะได้วางไข่จนเกือบหมด เลยทำให้เป็นการตัดวงจรชีวิต ปลาทูทำให้ไม่มีโอกาสได้ขยายพันธุ์

ปลาทูที่จับได้จำนวนมากในอดีต

นายมงคล กล่าวว่า ปลาทูเป็นปลาผิวน้ำ ในช่วงที่มีไข่และจะเข้าวางไข่จะว่ายอยู่หน้าดิน เพื่อเข้าไปวางไข่ตามแนวชายฝั่ง ในอดีตชาวประมงจะใช้อวนลอยในการจับปลาทู ซึ่งไม่มีปัญหาเพราะปลาทูได้วางไข่ไปแล้ว แต่ระยะหลัง 10 ปี ที่ผ่านมาชาวประมงได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือจากเครื่องมืออวนลอยปรับเปลี่ยนไปเป็นเครื่องมืออวนจม จึงทำให้เป็นเครื่องมือทำลายล้างตัวจริงที่ตัดวงจรชีวิตปลาทูและปลาอื่นๆทั้งหมด จนทำให้ ทรัพยากรสัตว์น้ำไม่สามารถพลิกฟื้นกลับมาสมบูรณ์อย่างจริงจัง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า