SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่กี่วันก่อน จีนได้ประกาศข้อกำหนดใหม่ ให้หน่วยรัฐยกเลิกใช้คอมพิวเตอร์ของต่างประเทศ และหันมาใช้คอมพิวเตอร์ท้องถิ่นของจีนเท่านั้น

ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อยกเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ และหนุนให้หันมาใช้สินค้าท้องถิ่นมากขึ้น

มาตรการที่เพิ่งออกล่าสุดนี้ เป็นการเคลื่อนไหวอีกก้าวหนึ่งของรัฐบาลจีน ที่อยากจะประทับตรา Made-in-China ลงไปในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่เป็นเซ็กเตอร์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศ

ซึ่งจีนพยายามอย่างมากที่จะก้าวเป็นผู้นำในเรื่องเทคโนโลยีอยู่แล้ว โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จีนได้เข้าไปควบคุมบริษัทที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตมากมาย

ซึ่งรวมไปถึงยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba เพื่อควบคุมธุรกิจเหล่านี้ให้เป็นไปตามมาตรการของรัฐ

การออกประกาศแบนคอมฯ จากต่างชาติ นั่นหมายความว่า อีกไม่กี่ปีข้างหน้า คอมพิวเตอร์ที่มีระบบเทคโนโลยีจากต่างประเทศจำนวน 50 ล้านเครื่อง จะถูกแทนที่ด้วย PC แบรนด์ของจีนที่ใช้ระบบปฏิบัติการท้องถิ่นแทน

ถึงแม้ข้อกำหนดนี้จะช่วยกระตุ้นยอดขายคอมพิวเตอร์ที่ผลิตในจีนได้อย่างแน่นอน แต่คำถามก็คือ นโยบายนี้จะช่วยให้จีนสามารถเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีในระดับโลกได้จริงหรือ?

[ แล้วจีนใช้ชิปของต่างประเทศได้มั้ย? ]

ถ้ามองเข้าไปในประกาศดังกล่าว กฤษฎีกาที่ออกมานี้ไม่ได้มีการพูดถึง หรือห้ามใช้ไมโครโปรเซสเซอร์จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ซับซ้อนและสำคัญมากในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

ทำให้นี่อาจจะเป็นช่องโหว่สำหรับหน่วยงานที่ถูกบังคับให้ซื้อคอมพิวเตอร์จีน

คือใช้เครื่อง ใช้ระบบในประเทศ แต่ชิปก็ยังใช้ของต่างประเทศอยู่ดี

ทั้งนี้ แม้ว่าจีนจะพยายามพัฒนาและลงทุนในชิปหลายแสนล้านเหรียญมากว่า 20 ปี แต่อุตสาหกรรมชิปของจีนยังคงตามหลังประเทศอื่นๆ

แม้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตท้องถิ่นบางราย เช่น Yangtze Memory Technology Corp. จะเริ่มผลิตชิปหน่วยความจำแล้ว

แต่นั่นเป็นชิปที่ได้มาตรฐานทั่วไป มีความซับซ้อนน้อยกว่าชิปลอจิกขั้นสูงที่สามารถประมวลผลข้อมูลมากๆ ได้ ซึ่งจีนมีชิปประเภทนี้น้อยกว่า 1% ของตลาดโลกด้วยซ้ำ

ดังนั้น การบังคับให้หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีชิ้นส่วนจากต่างประเทศ ก็คงไม่ทำให้สมการของเรื่องนี้เปลี่ยนแปลงเท่าไหร่

และถ้าดูในตอนนี้ มาตรการนี้ก็อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์สัญชาติจีนอย่าง Lenovo และ Huawei มากกว่า (เพราะคุณภาพได้มาตรฐาน) ซึ่งตอนนี้ Lenovo ก็ครองตลาดในจีนไปแล้ว 40% หรือสามเท่าของ Dell

แต่มาตรการใหม่นี้ จีนหวังที่จะดันผู้ผลิตระบบปฏิบัติการท้องถิ่นอย่าง China Standard Software ในเซี่ยงไฮ้ ที่ออกแบบโดย NeoKylin ซึ่งเป็นคู่แข่งกับ Windows ของ Microsoft Corp. มากกว่าพวก Lenovo หรือ Huawei

โดยในปี 2015 ที่ผ่านมา มีพีซีอย่างน้อย 40% ของ Dell ในประเทศจีน มีการติดตั้งระบบของ NeoKylin ที่ติดตั้งกับ Linux ไว้ล่วงหน้า

บ่งบอกว่า คอมพิวเตอร์ท้องถิ่นกำลังได้รับความนิยม และจีนเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หลักที่ใช้ในการรันคอมพิวเตอร์

แต่การสร้างระบบปฏิบัติการไม่ใช่ความสำเร็จทางเทคโนโลยีเหมือนในอดีต

อย่าง Linux เองเป็นซอฟต์แวร์ระบบแบบ open source ซึ่งหมายความว่าบริษัทไหนๆ ก็สามารถนำโค้ดหลักของ Linux มาดัดแปลงเป็นระบบของตัวเองได้ เช่น ระบบปฏิบัติการ Android ของ Alphabet Inc. ก็ใช้โค้ดของ Linux เช่นกัน

[ ผลกระทบของมาตรการใหม่กับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ ]

ถึงแม้มาตรการนี้จะทำให้ยอดซื้อซอฟต์แวร์ และคอมพิวเตอร์ของ Microsoft กับ Dell และบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ ในสหรัฐฯ ลดลง แต่ก็ไม่น่าจะสร้างแรงกระเพื่อมอะไรให้บริษัทอเมริกันที่แข็งแกร่งทางเทคโนโลยีได้

เพราะถึงแม้จีนจะมีประชากรมากที่สุดในโลก และมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 แต่รายได้ของ Microsoft ก็มาจากจีนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

โดยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว Microsoft บอกว่ามีสัดส่วนรายได้จากจีนเพียง 1.8% และหลังจากนั้นตัวเลขก็ไม่ได้ขยับขึ้นมากมายเท่าไหร่

รวมถึง Dell และ HP เองก็คงไม่ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะมีรายได้จากจีนเป็นสัดส่วนเพียง  0.16% และ 0.23% ตามลำดับเท่านั้น

นอกจากนี้ พีซีไม่ได้มีความสำคัญต่อผลกำไรของบริษัทอีกต่อไป อย่าง Dell ที่ตอนนี้โฟกัสกับบริการฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เช่น เซิร์ฟเวอร์และสวิตช์เครือข่าย จึงทำให้พีซีมีบทบาทค่อนข้างน้อย

กลับกัน บริการคลาวด์กลายเป็นศูนย์กลางและเป็นที่สนใจของการพัฒนาเทคโนโลยี อย่าง Microsoft ที่ตอนนี้ครองตลาดระบบปฏิบัติการสำหรับผู้บริโภค ได้ย้าย Windows ไปอยู่กลุ่มสินค้าและบริการ ‘More Personal Computing’ ที่คิดเป็น 32% ของรายได้ แต่ยังมีสัดส่วนน้อยกว่ากลุ่มสินค้าและบริการธุรกิจคลาวด์อัจฉริยะซึ่งอยู่ที่ 36%

[ สรุปว่าจุดประสงค์ของมาตรการนี้ต้องการจะสื่ออะไร? ]

ในปีที่ผ่านมา แล็บท็อปและคอมพิวเตอร์ระบบท้องถิ่นในจีนขายไปเพียง 57 ล้านเครื่อง เพราะฉะนั้นมาตรการคำสั่งซื้อคอมพิวเตอร์ระบบท้องถิ่นจำนวน 50 ล้านเครื่องในช่วง 2-3 ปี จะเป็นโอกาสอันดีสำหรับแบรนด์พีซีในประเทศ

อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบใหม่นี้เป็นตัวอย่างของการกระตุ้นเศรษฐกิจ มากกว่าจะเป็นการกระตุ้นการพัฒนาของเทคโนโลยีของประเทศอย่างแท้จริง

เพราะคู่แข่งยักษ์ใหญ่ในหลายๆ แบรนด์ แทบไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการใหม่นี้เลย

หรือจริงๆ แล้ว จีนอาจจะต้องกลับไปคิดถึงจุดประสงค์และผลกระทบของมาตรการนี้ใหม่หรือไม่?

ที่มา : 

https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2022-05-10/made-in-china-pc-rule-won-t-advance-nation-s-tech-prowess

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า