SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนเปิดปฏิทินแล้วอาจนึกสงสัย ที่ปีนี้ ‘มาฆบูชา’ ตรงกับวันที่ 6 มีนาคม แต่ทว่าเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ไม่ใช่เดือน 3 อย่างที่คุ้นเคยของชาวพุทธ

เรื่องนี้มีคำตอบเป็นเพราะการกำหนด วันมาฆบูชา ตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 โดยมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมนั่นเอง

[ทบทวนความสำคัญของวันมาฆบูชา]

มาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อน้อมระลึกถึงวันที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม โอวาทปาติโมกข์ แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากพระองค์ตรัสรู้แล้วเวลา 9 เดือน โดยเป็นหลักคำสอนที่สำคัญสำหรับมนุษย์ปุถุชน คือ “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์”

นอกจากนี้ ยังระลึกถึง 4 เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในวันมาฆบูชา ดังนี้

1. เป็นวันที่ตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าา หรือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา

ดังนั้นวันมาฆบูชา จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวันจาตุรงคสันนิบาต โดย ‘จาตุร’ แปลว่า 4, ‘องค์’ แปลว่า ส่วน และ ‘สันนิบาต’ แปลว่า ประชุม

[กระทรวงวัฒนธรรมและกทม. จัดงาน ณ ลานคนเมือง]

พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานบนมณฑปและเวียนเทียนรอบมณฑป เปิดงานประทีปแห่งพระธรรม นำศรัทธา บูชาเพ็ญเดือน 3 ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา พุทธศักราช 2566 โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ร่วมพิธี

ทั้งนี้ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จัดงานในส่วนกลาง ร่วมกับวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร และองค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนา ระหว่างวันที่ 4 – 6 มี.ค. 66 ณ ลานคนเมือง และวัดสุทัศนเทพวราราม โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 99 องค์ ที่กรมการศาสนาได้ขอรับประทานจาก สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มาประดิษฐาน ณ มณฑป บริเวณลานคนเมือง และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาประดิษฐานด้วย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เวียนเทียนสักการะบูชา

นอกจากนี้ ภายในงานยังจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับเด็กและเยาวชน ได้แก่ การประกวดบรรยายธรรม การประกวดสุนทรพจน์ การประกวดอาราธนาศาสนพิธี และกิจกรรม “มีเทศน์ มี talk” จากพระธรรมวิทยากรเครือข่ายธรรมะอารมณ์ดี เกมคุณธรรม ตอบปัญหาธรรมะ การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมจากศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ชมภาพยนตร์ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การสาธิตและแสดงผลงานผลิตภัณฑ์จากชุมชน

อ้างอิง : ประวัติความเป็นมา มาฆบูชา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า