SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศฯ เตรียมจัดโครงการจับคู่เจรจาธุรกิจขยายตลาดมัลดีฟส์ ในปีงบประมาณ 2564 ภายหลังมัลดีฟส์เปิดประเทศฟื้นฟูธุรกิจท่องเที่ยวจากโควิด-19 เตรียมลดภาษีนำเข้าสูงสุดร้อยละ 50

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมได้รับแจ้งล่าสุดจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจนไน สาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมถึงศรีลังกาและสาธารณรัฐมัลดีฟส์ว่า เมื่อเร็วๆ นี้รัฐสภามัลดีฟส์ได้เห็นชอบแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการนำเข้าและการส่งออก (Import-Export Act) โดยเตรียมลดภาษีนำเข้าหลายรายการสูงสุดถึงร้อยละ 50 สำหรับสินค้าที่นำเข้าผ่านท่าเรือภูมิภาค (Regional Ports) ณ หมู่เกาะคุฮาดูฟฟูชิ (Kulhudhuffushi) เกาะหลักทางตอนเหนือใกล้กับอินเดียและตะวันออกกลาง และเมืองอัดดู (Addu City) เมืองสำคัญทางภาคใต้ของประเทศ รวมถึงสินค้าที่นำเข้าผ่านสนามบินนานาชาติในท้องถิ่นด้วย

โดยสินค้าที่เข้าข่ายได้รับการลดภาษีนำเข้า ได้แก่ วัสดุก่อสร้างประเภทเหล็กแผ่นรีดลอน (metal sheets) เหล็กแผ่น (plates) เหล็กเส้น (metal bars) ผลิตภัณฑ์เซรามิค และเครื่องครัว และจะมีการประกาศรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้ไม่รวมถึงสินค้าควบคุมการนำเข้าประเภทเนื้อหมู เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผลิตภัณฑ์ยาสูบ บุหรี่

“ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมเป็นต้นมา มัลดีฟส์นับเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียใต้ที่เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้ง ภายหลังปิดประเทศตามมาตรการล็อคดาวน์ ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพาธุรกิจท่องเที่ยวเป็นสำคัญ คิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของจีดีพี โดยกรมมองว่า การกลับมาเปิดประเทศของมัลดีฟส์หลังสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลายจะทำให้รีสอร์ตตามเกาะต่างๆ เริ่มทยอยกลับมาให้บริการนักท่องเที่ยวตามปกติอีกครั้ง ส่งผลให้มีความต้องการนำเข้าสินค้า หลายประเภทเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะขยายตลาดสินค้าและบริการไทยเข้าสู่มัลดีฟส์ที่กำลังต้องการสินค้าและบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว”

“นอกจากนี้ การแก้ไขร่างกฎหมายโดยปรับลดภาษีนำเข้าซึ่งได้รับการผลักดันจากกลุ่มการเมืองในเขตท้องถิ่นเพื่อกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปยังต่างพื้นที่นอกเหนือจากกรุงมาเล่ที่เป็นเมืองหลวงของประเทศนั้น นับเป็นโอกาสดีสำหรับรีสอร์ตที่กระจายตัวในเขตหมู่เกาะทางตอนเหนือและตอนใต้ของประเทศที่จะสามารถนำเข้าสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งหมู่เกาะดังกล่าวมีรีสอร์ทที่มีชื่อเสียง รวมถึงรีสอร์ทของไทยตั้งอยู่ด้วย จึงนับว่าการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าดังกล่าวจะยิ่งเพิ่มโอกาสให้กับสินค้าศักยภาพของไทย โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง เครื่องครัวและสินค้าไลฟ์สไตล์ต่างๆ ที่มีการออกแบบเหมาะสมกับการใช้งานของกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ทให้สามารถส่งออกไปประเทศมัลดีฟส์ได้เพิ่มขึ้นต่อไป” อธิบดีสมเด็จให้ข้อมูลเพิ่มเติม

อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวอีกว่า ประเทศมัลดีฟส์เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของโลก และนับเป็นหนึ่งในตลาดศักยภาพของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ ที่กรมให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยที่ผ่านมากรมได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อเร่งขยายโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการของไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดโครงการคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ และคณะผู้แทนการค้า เยือนมัลดีฟส์ โครงการคณะผู้แทนการค้าสินค้าอาหารและอุตสาหกรรมเยือนมัลดีฟส์ การเชิญผู้นำเข้ามัลดีฟส์เข้าร่วมการเจรจาการค้าสินค้าก่อสร้างในประเทศไทยหรืองานแสดงสินค้านานาชาติอื่นๆ ที่กรมจัดขึ้น เป็นต้น และสำหรับปีงบประมาณ 2564 ที่จะถึงนี้ กรมได้เตรียมโครงการจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้นำเข้ามัลดีฟส์ในกลุ่มธุรกิจของใช้ในโรงแรม อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ในช่วงต้นปี 2564 เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยดำเนินธุรกิจในตลาดมัลดีฟส์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป

ในปี 2562 ที่ผ่านมา ไทยและมัลดีฟส์มีมูลค่าการค้ารวม 186.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.85 จากปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกไปมัลดีฟส์ มูลค่า 119.50 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.94 จากปีก่อนหน้า นำเข้าจากมัลดีฟส์ 67.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.25 โดยสินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไป มัลดีฟส์มากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ, ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องนุ่งห่ม, เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขณะที่สินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากมัลดีฟส์แทบทั้งหมด คือสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป และกึ่งสำเร็จรูป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า