SHARE

คัดลอกแล้ว

ทีมกฎหมาย “ธรรมนัส” ยกเลิกแถลงข่าววันที่ 16 กันยายน 2562 แต่แจกเอกสารชี้แจงข้อเท็จจริงซึ่งระบุว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เคยต้องโทษตามคําพิพากษาของศาลประเทศออสเตรเลียและถูกกองบัญชาการทหารสูงสุดพิจารณาให้ออกจากราชการเนื่องจากขาดงานเกิน 15 วัน

เอกสารที่ทีมกฎหมายของร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วยข้อความ 10 ข้อ เนื้อหาระบุว่า ร.ท. พชร พรหมเผ่า (ชื่อเดิมของร.อ.ธรรมนัส) เดินทางออกจากประเทศไทย ไปประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือน เมษายน 2536 และเดินทางกลับประเทศไทยในเดือนเมษายน 2539 “หลังจากพ้น โทษตามคําพิพากษาของศาลประเทศออสเตรเลีย”

อย่างไรก็ดีมีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มีผลให้ถือว่าร้อยโทพชร พรหมเผ่า “ไม่เคยต้องโทษตามคําพิพากษาของศาล ออสเตรเลียและ ไม่เคยถูกลงทัณฑ์ทางวินัย กรณีขาดราชการ ซึ่งได้กระทําก่อนหรือใน วันที่ 9 มิถุนายน 2539”

หลังจากนั้น ร.อ. พชร พรหมเผ่า ได้ยื่นเรื่องขอกลับเข้ารับ ราชการทหาร วันที่ 11 กันยายน 2539 ซึ่งกองบัญชาการทหารสูงสุดก็ได้อนุมัติรับ ร้อยโท พชร พรหมเผ่า กลับเข้ารับราชการทหารตามระเบียบ และได้เลื่อนขั้นเป็น ว่าที่ ร.อ. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2541

ต่อมาในวันที่  24 ตุลาคม พ.ศ.2541 ได้มีประกาศถอดยศ ร.ท. พชร พรหมเผ่า เนื่องจากประพฤติตนไม่สมควรตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทางทหาร พ.ศ.2476

ปี 2550 มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ส่งผลให้นายธรรมนัส พรหมเผ่า สามารถใช้ยศ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ และไม่มีมลทินใดติดตัว ไม่ว่าจะเป็นกรณีเคยต้องคำพิพากษาศาลออสเตรเลีย ถูกกองบัญชาการทหารสูงสุดพิจารณาให้ออกจากราชการ หรือกรณีถอดยศเนื่องจากประพฤติตนไม่สมควร

เนื้อความเต็ม ๆในเอกสารมีดังนี้

https://www.facebook.com/TheReportersTH/posts/2406849469565439

ขอบคุณเอกสารจาก The Reporters

1. ร.ท. พชร พรหมเผ่า เดินทางออกจากประเทศไทย ไปประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือน เมษายน 2536

2. ร.ท. พชร พรหมเผ่า เดินทางกลับประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน 2539 หลังจากพ้น โทษตามคําพิพากษาของศาลประเทศออสเตรเลีย

3. กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้พิจารณาให้ร้อยโท พชร พรหมเผ่า ออกจาก ราชการ เนื่องจากขาดงานราชการเกิน 15 วัน

4. พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539

โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539″

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

“ผู้ต้องโทษ” หมายความว่า ผู้ต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ลงโทษหรือ ให้กักกัน และให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียว กับการถูกลงโทษโดยคําพิพากษาของศาล

“ผู้ถูกลงโทษทางวินัย” หมายความว่า ผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เพราะกระทํา ผิดวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และให้ หมายความรวมถึงบุคคลใดที่ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์โดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผล เช่นเดียวกับการถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย

มาตรา 4 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทํา ก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อน หรือในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทาน อภัยโทษ พ.ศ. 2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ

มาตรา 5 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีจึงได้กระทําก่อน หรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อน หรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยใน กรณีนั้น ๆ

มาตรา 6 สําหรับบรรดาผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย ก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และบรรดาผู้ถูกดําเนินการทางวินัยในกรณีกระทํา ผิดวินัยซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาสั่งยุติเรื่องหรืองดโทษก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกพิจารณาเพิ่มโทษหรือถูกดําเนินการทางวินัยในกรณีนั้น ๆ ต่อไป

มาตรา 7 การล้างมลทินตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับ การล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น

มาตรา 8 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้”

5. หลังวันที่ 11 กันยายน 2539 ร.อ. พชร พรหมเผ่า ได้ยื่นเรื่องขอกลับเข้ารับ ราชการทหาร และกองบัญชาการทหารสูงสุดได้อนุมัติรับ ร้อยโท พชร พรหมเผ่า กลับเข้ารับ ราชการทหารตามระเบียบ

6. กระทรวงกลาโหมมีคําสั่งที่ 360/2541 ลง 1 มิถุนายน 2541 เรื่อง เลื่อนยศ นายทหารสัญญาบัตร เลื่อนยศ ร.ท. พชร พรหมเผ่า เป็น ว่าที่ ร.อ. ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2541

7. ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดยศ ทหารมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอด ร.ท. พชร พรหมเผ่า สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุดออกเสียจากยศ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2541 เนื่องจากประพฤติตนไม่สมควรตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทางทหาร พ.ศ.2476 ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2541

8. พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550

โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

“ผู้ต้องโทษ” หมายความว่า ผู้ต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ลงโทษหรือให้ กักกันและให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับ การถูกลงโทษโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล

“ผู้ถูกลงโทษทางวินัย” หมายความว่า ผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เพราะกระทําผิด วินัยตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม ราชการ ส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และให้หมายความรวมถึง ผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์โดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการถูกลงโทษหรือ ลงทัณฑ์ทางวินัย

พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอ ดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550

มาตรา 4 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทํา ก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อน โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูก ลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ

มาตรา 5 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีจึงได้กระทําก่อน หรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือใน วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยใน กรณีนั้น ๆ

มาตรา 6 สําหรับบรรดาผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย ก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และบรรดาผู้ถูกดําเนินการทางวินัยในกรณีกระทําผิดวินัย ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาสั่งยุติเรื่องหรืองดโทษก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ให้ผู้นั้น ไม่ต้องถูกพิจารณาเพิ่มโทษหรือถูกดําเนินการทางวินัยในกรณีนั้น ๆ ต่อไป

มาตรา 7 การล้างมลทินตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับ การล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น

มาตรา 8 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้”

9. นายธรรมนัส พรหมเผ่า จึงสามารถใช้ยศ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 ดังกล่าว

10. ด้วยผลของกฎหมาย พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ ทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว มีผลให้

10.1 ร้อยโทพชร พรหมเผ่า ไม่เคยต้องโทษตามคําพิพากษาของศาล ออสเตรเลียและ ไม่เคยถูกลงทัณฑ์ทางวินัย กรณีขาดราชการ ซึ่งได้กระทําก่อนหรือใน วันที่ 9 มิถุนายน 2539 (ตามข้อ 2,3)

10.2 ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ไม่เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณี นั้น ซึ่งได้กระทําก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 (ตามข้อ 7)

10.3 ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย และไม่เคยถูก ลงโทษในกรณีความผิดตามคําพิพากษาศาล และไม่เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย ทําให้ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า มีคุณสมบัติถูกต้อง ครบถ้วน ในการลงสมัครรับ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการดํารงตําแหน่งรัฐมตรี

10.4 เมื่อปี พ.ศ.2557 พรรคเพื่อไทย ได้พิจารณาส่ง ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสังกัดพรรคเพื่อไทย

10.5 ในปี พ.ศ.2562 ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทน ในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเลือก ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็น ส.ส.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้อง ครบถ้วน ในการดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในปัจจุบันด้วย

“ล้างมลทิน” ส่งผลเสมือนว่าไม่เคยถูกลงโทษมาก่อน

สถาบันพระปกเกล้า ให้นิยามการ “ล้างมลทิน” ว่าเป็น “การลบล้างโทษที่บุคคลผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาครบถ้วนและพ้นโทษแล้ว มีผลทางกฎหมายเท่ากับบุคคลนั้นไม่เคยได้รับโทษมาก่อน แต่ไม่ได้ล้างการกระทำที่เป็นความผิด กล่าวคือ ความผิดที่เคยกระทำก็ยังคงได้ชื่อว่าเคยกระทำความผิดอยู่นั่นเอง”

การล้างมลทินต่างจากการนิรโทษกรรม ซึ่งกำหนดให้สิ่งที่เป็นความผิด ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป และมีผลให้ถือว่าคนที่เคยกระทำความผิดนั้น ไม่เคยทำความผิดนั้นมาก่อน

การล้างมลทิน แม้จะไม่ได้ล้างความผิด แต่ก็ส่งผลให้พ้นจากการจำกัดสิทธิบางประการ เช่น สิทธิในการเข้ารับราชการ ที่กำหนดว่าห้าม “ถูกลงโทษ” มาก่อน เมื่อได้รับการล้างมลทินซึ่งเปลี่ยนสถานะบุคคลให้กลายเป็นผู้ไม่เคยได้รับโทษแล้ว ก็ย่อมมีสิทธิในการเข้ารับราชการได้ แม้จะเคยถูกตัดสินว่าผิด

อย่างไรก็ดี หลายคดีศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาตรงกัน ว่าบทบัญญัติของการล้ามลทินมีผลเพียงลบล้างโทษเท่านั้น ไม่ได้ลบล้างการกระทำผิดแต่อย่างใด

เรื่องที่เกี่ยวข้อง ย้อนดูคำตัดสินศาลปกครอง แม้ผ่าน พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ ก็เป็นผู้ใหญ่บ้านไม่ได้

สื่อออสเตรเลียตั้งข้อสังเกต ปีที่ได้รับการปล่อยตัวไม่ตรงเอกสารสาร

หลังมีเอกสารจากทีมกฎหมายของร.อ.ธรรมนัส หนังสือพิมพ์ Sydney Morning Herald เผยแพร่บทความตอบโต้ทันที โดยชี้ว่าข้อเท็จจริงในเอกสารของรัฐมนตรีไม่ตรงกับข้อมูลใน “เอกสารของศาล”

เอกสารของร.อ.ธรรมนัส ระบุว่า  “ร.ท. พชร พรหมเผ่า (ชื่อเดิม ร.อ.ธรรมนัส) เดินทางกลับประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน 2539 หลังจากพ้น โทษตามคําพิพากษาของศาลประเทศออสเตรเลีย”

ขณะที่บทความของหนังสือพิมพ์ชื่อดังออสเตรเลีย กล่าวว่า “เอกสารของศาล” ออสเตรเลียระบุว่า “ถูกปล่อยตัวจากเรือนจำพาร์คลีย์ วันที่ 14 เมษายน 1997 (พ.ศ. 2540)”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า