Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 17 ส.ค. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะแพทย์ แถลงข่าวการตายของลูกพะยูนน้อย น้องมาเรียม

29 เมษายน มาเรียมเกยตื้นบริเวณแหล่งหญ้าทะเลอ่าวทึง-ปอดะ จ.กระบี่

นายวราวุธ กล่าวว่า  ตนเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังเจ้าหน้าที่พบมาเรียม ครั้งแรก มีความพยายามผลักดันสู่ทะะเล 3 ครั้ง แต่ทุกครั้งน้องวนกลับมา จึงตัดสินใจอนุบาลดูแลในพื้นที่ธรรมชาติ ในพื้นที่เกาะลิบง จ.ตรัง ซึ่งมีความพร้อมทุกด้าน และมีเจ้าหน้าที่ดูแล  ซึ่งเราประสบความสำเร็จเป็นประเทศแรกที่ให้นมลูกพะยูนในสภาวะธรรมชาติ ส่วนการดูแลต้องใช้ทักษะทุกด้าน ทีมเจ้าหน้าที่และประชาชนดูแลอย่างดีมาตลอดเหมือนเฝ้าดูแลคนในครอบครัว

แต่เมื่อวันที่  10 ส.ค.หลังถูกพะยูนที่โตกว่าไล่คุกคาม มาเรียมหนีกลับมาด้วยอาการเครียด ไม่ค่อยร่าเริง อัตราการเต้นหัวใจเร็ว มีการติดเชื้อในกระแสเลือด , 11 ส.ค. ต้องเฝ้าดูแล 24 ชม. และ  15 ส.ค. ทีมสัตวแพทย์ ย้ายมาในบ่อชั่วคราว จน 00.09 น.วันนี้ 17 ส.ค.   น้องจากไปอย่างสงบ ด้วยอาการช็อก และพบเศษพลาสติกขวางลำไส้จนอุดตัน

นายวราวุธ กล่าวต่อว่า ร่างของมาเรียมจะสตาฟไว้เพื่อศึกษาเรื่องการอนุรักษ์ต่อไป ซึ่งตนหวังให้การจากไปของมาเรียม เป็นตัวจุดกระแสให้คน ทั้งในประเทศ และในโลกนี้ตื่นตัว  ไม่ทิ้งขยะลงทะเล เพราะการทิ้งเศษพลาสติกเล็กๆ เพียงชิ้นเดียว ทำให้ชวัญและกำลังใจของคนไทยหลายคนจากไป

ตนได้หารือกับปลัดให้ชื่อมาเรียมเป็นสัญลักษณ์ในโครงการต่างๆ ในการดูแลสัตว์และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อไม่ให้ลูกหลานในอนาคต ต้องมาเปิดดูพะยูนและสัตว์หายากในอินเตอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม จะไม่อนุรักษ์โดยคุกคามความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ชาวประมง จะทำควบคู่กันไป เช่นที่เกาะลิบง ที่ทำทั้ง 2 อย่าง ควบคู่กันไปได้

ด้าน รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ทีมสัตว์แพทย์ที่ทำการดูแลปฐมพยาบาลมาเรียม  กล่าวว่า พบพลาสติกอัดในช่วงต่อลำไส้เล็กส่วนปลายกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ตอนแรกไม่ได้อัดแน่น แต่เนื่องจากเป็นชิ้นเล็กประสานกับอึจนแพ็กเป็นก้อนใหญ่

ประกอบกับการที่ มาเรียม ป่วยเป็นหนองในปอดด้วย ทำให้เกิดสภาพขาดน้ำอย่างหนัก ลำไส้จึงยิ่งแห้งตันระบายไม่ได้  ในลำไส้พบมีแก๊สสะสมเต็มมาก จนอักเสบเมื่อแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการช็อกและหัวใจวาย
.
ช่วงที่มาเรียมกินพลาสติก น่าจะเป็นช่วงออกไปกินหญ้าทะเล และพลาสติกที่เปื่อยเป็นเส้นยาว 8-10 ซม.ปะปนอยู่ แล้วกินเข้าไปด้วย เมื่อรวมกับการบาดเจ็บจากการถูกตัวผู้ชนเพราะล้ำถิ่น จึงทำให้มาเรียมไม่สบายและจากไป

สำหรับเรื่องขยะ ตอนนี้ยังเห็นขยะที่เกาะลิบงจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่ที่มีพะยูนอีกหลายตัว ขอให้เริ่มที่จุดนี้เลย

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศต้นๆ ที่มีปัญหาขยะทะเล เรามีโร้ดแม็ป เรื่องขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งทุกคนต้องร่วมกัน ปีหนึ่งมีขยะ 2 ล้านตัน รีไซเคิลหรือฝังได้แค่ 5 แสนตันจะทำอย่างไรให้อีก 1.5 ล้านตันที่เหลือไม่ลงไปสู่น้ำสู่ทะเล

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า