SHARE

คัดลอกแล้ว

เจ้าหน้าที่อุทยานฯเผย พะยูนน้อยมาเรียมมีสภาวะเครียด มีอาการอ่อนเพลีย ดื่มนมได้น้อย ไม่ค่อยว่ายน้ำ  หลังจากพบพะยูนตัวเต็มวัยอีกตัวในพื้นที่ จึงตกใจและว่ายน้ำหนีกลับเข้าอ่าว ล่าสุดอาการดีขึ้นแล้ว สามารถออกมาว่ายน้ำเล่นกับแม่ส้มได้ตามปกติ แต่ต้องเฝ้าระวัง 24 ชม.

วันที่ 10 ส.ค. 2562 เพจเฟซบุ๊ก “ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช”ได้โพสต์ข้อความพร้อมรูป ส่งกำลังให้มาเรียม หลังมีอาการป่วยอยู่ในภาวะเครียด ซึ่งในขณะนี้อาการเริ่มดีขึ้น แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

นายดำรัส โพธิ์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 รายงานเข้ามาว่า ได้รับรายงานจากหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง พบมาเรียมมีภาวะเครียด ซึ่งมีสาเหตุมาจากในช่วงเย็นของวันที่ 7 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ระหว่างสัตวแพทย์พามาเรียมกินหญ้าทะเลอยู่หน้าอ่าว พบว่ามีพะยูน ขนาดโตเต็มวัย ทำให้มาเรียม ตกใจและว่ายน้ำหนีกลับเข้ามาในอ่าว

เบื้องต้นพบว่ามาเรียมมีอาการอ่อนเพลีย ดื่มนมได้น้อย และไม่ค่อยจะว่ายน้ำ ทางทีมสัตว์แพทย์จึงมีความเห็นว่าต้องทำการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด24 ชั่วโมง ซึ่งเริ่มดูแลมาแล้วตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค.62 เป็นต้นมา

ด้านสัตวแพทย์กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งระบุ อาการล่าสุด น้องมาเรียม วันนี้มีอาการดีขึ้นแล้ว สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดีขึ้น ออกว่ายน้ำคู่ไปกับเรือแม่ส้มได้อย่างช้า ๆ โดยมีการสลับกับการพัก จากการตรวจร่างกาย พบลมหายใจมีกลิ่น ตรวจปอดข้างซ้ายปกติ โดยมีการพิจารณาเก็บตัวอย่างลมหายใจเพื่อวิเคราะห์เซลล์และเพาะเชื้อต่อไป อัตราการเต้นของหัวใจปกติ การลอยตัว และการจมตัว สามารถทำได้ปกติ นอกจากนี้ ทีมพี่เลี้ยง ได้วางแผนเฝ้าระวังโดยจะใช้เรือแม่ส้มอีกลำพายประกบไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้พะยูนตัวอื่นเข้ามาในพื้นที่

ที่ผ่านมาทางทีมสัตวแพทย์ได้พิจารณาป้อนกูลโคส และเกลือแร่เสริมให้ และปล่อยให้พักกับเรือแม่ส้ม สลับกับการให้อาหาร โดยป้อนกูลโคสและเกลือแร่ทุกๆ 1 ชั่วโมง มีการป้อนนมให้อย่างต่อเนื่องทั้งคืน พบว่า น้องมาเรียม กินนมเพียง 100 มล. กินหญ้าทะเลเพียงเล็กน้อย ทางทีมสัตวแพทย์ต้องเฝ้าอยู่กับน้องมาเรียมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรอดูอาการ ทั้งนี้ หากอาการไม่ดีขึ้นจะมีการพิจารณาในขั้นต่อไป

สำหรับแผนการดำเนินการที่เตรียมไว้ ทช. ระบุ จะร่วมกับกองทัพเรือ กรมอุทยานฯ และมหาวิทยาลัยราชมงคล วิทยาเขตตรัง คือ การเปลี่ยนพื้นที่ดูแล เนื่องจากพื้นที่บริเวณที่น้องมาเรียมอยู่ในปัจจุบัน พบว่าเป็นเขตผสมพันธุ์ Mating Zone จะพบพะยูน เพศผู้ อยู่เดี่ยวๆ หลายตัว หรือเคลื่อนย้ายไปพักในบ่อของมหาวิทยาลัยราชมงคล วิทยาเขตตรัง หรือเคลื่อนย้ายไปที่โรงพยาบาลของศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามัน ที่แหลมพันวา จ.ภูเก็ต ทั้งนี้ จะพิจารณาตามความเหมาะสม และความพร้อมของ น้องมาเรียม ทีมสัตวแพทย์ และสภาพคลื่นลมในพื้นที่ต่อไป

ข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก : ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า