Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มาเรียม… “พะยูนน้อย” ซุปตาร์โซเชียลที่กำลังมีแฟนคลับเป็นมนุษย์ จากความน่ารักขี้อ้อนปนความน่าเอ็นดูของลูกพะยูนเพศเมียที่พลัดหลงจากแม่แล้วยังหาทางกลับบ้านไม่ได้ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ และอาสาสมัคร มาช่วยกันเลี้ยงมาเรียม ถ่ายภาพ คลิปวิดีโอลงโซเชียลเกือบทุกวัน 

(มาเรียม อ้อน หมอล็อต 11 มิ.ย. 62)

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2562 เป็นวันแรกที่มีลูกพะยูนตัวหนึ่ง อายุประมาณ 4-5 เดือน ร่างกายสมบูรณ์ ภายนอกไม่มีบาดแผลและว่ายน้ำได้ปกติ ขึ้นมาเกยตื้น บริเวณแหล่งหญ้าทะเลอ่าวทึง-ปอดะ จ.กระบี่ ชาวบ้านได้อุ้มลูกพะยูนไปปล่อยในน้ำที่ลึกพอที่จะว่ายกลับทะเลได้ แต่วันต่อมา กลับพบลูกพะยูนตัวเดิม ว่านวนเวียนใต้ท้องเรือหางยาว และเรือคายัค บริเวณปากคลองใกล้กับที่เกยตื้นครั้งแรก

ชาวบ้าน จึงแจ้งเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ มาช่วยกันนำลูกพะยูนกลับลงไปปล่อยในทะเลอีกครั้ง บริเวณแหล่งหญ้าอ่าวทึง-ปอดะ เหมือนเดิม แต่แล้ววันรุ่งขึ้นเจ้าพะยูนน้อยก็ว่ายกลับมาอีก จึงทำให้แน่ใจได้ว่า ลูกพะยูนตัวนี้พลัดหลงกับแม่พะยูนแล้วจริงๆ เจ้าหน้าที่วางแผนนำพะยูนไปปล่อยบริเวณบ้านแหลมจูโหย หมู่ 1 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง

(พะยูนน้อยมาเกยตื้น)

(ชาวบ้านช่วยอุ้มไปปล่อยในน้ำ)

ที่มาของชื่อ มาเรียม

เมื่อเจ้าพะยูนน้อยเดินทางจากกระบี่ มาถึง เกาะลิบง จ.ตรัง นายสุเทพ ขันชัย หัวหน้ากลุ่มพิทักษ์ดุหยง ต.เกาะลิบง ได้ตั้งชื่อให้ว่า “มาเรียม” ซึ่งแปลว่า “ผู้หญิงที่มีความสง่างามแห่งท้องทะเล” เนื่องจากเป็นลูกพะยูนตัวเมีย

ด้วยความที่มาเรียม ยังไม่หย่านมแล้วพลัดหลงกับแม่อย่างนี้ เจ้าหน้าที่จึงต้องผลัดเปลี่ยนกันมาป้อนหญ้าทะเล ป้อนนม 4 มื้อต่อวัน เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่มาดูแลมาเรียมจึงกลายเป็น “แม่นมจำเป็น” ที่สำคัญในช่วงเวลากลางคืน ต้องพามาเรียมว่ายน้ำไปอยู่บริเวณน้ำลึก เพื่อป้องกันมาเกยตื้นแล้วมาเรียมจะเป็นอันตราย

ความน่ารักของพะยูนน้อยที่ทำให้ชาวโซเชียลหลงเอ็นดู ก็เพราะมาเรียมเห็นอะไรก็จะว่ายเข้าไปคลอเคลียหมด โดยเฉพาะเรือคายัคสีส้ม ที่ชาวโซเชียลเรียกกันว่า “แม่ส้ม” เวลามาเรียม เห็นเรือคายัคจะชอบว่ายน้ำเข้าใต้ท้องเรือ นอนหงายเอาครีบกอดเรือ หรือบางทีก็ว่ายไปข้างๆ เรือ นอกจากนี้ยังมีภาพที่ มาเรียมนอนหลับคาอกเจ้าหน้าที่ และอยู่ในอ้อมกอดอย่างอบอุ่นด้วย

(มาเรียมว่ายน้ำกับแม่ส้ม)

อย่างไรก็ตาม มาเรียม ยังต้องอยู่กับมนุษย์อีกอย่างน้อย 6 เดือน โดยนายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง เปิดเผยเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ว่า แม้ขณะนี้สุขภาพมาเรียมจะแข็งแรงแล้ว แต่ยังเป็นพะยูนเล็กมาก หากปล่อยคืนสู่ทะเลอาจเกิดอันตรายขึ้นได้

(ชมคลิปกิจวัตรของ “มาเรียม” ให้จุใจกัน)

หมอล็อตมาเยี่ยม “มาเรียม” เจอน้องอ้อนนอนกรนใส่

 

พะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในน้ำ อายุเฉลี่ยนประมาณ 70 ปี น้ำหนัก 300-500 กิโลกรัม กินพืชในน้ำเป็นอาหาร โดยเฉพาะหญ้าทะเลบริเวณชายฝั่ง พะยูนจะหาอาหารทั้งกลางวัน และกลางคืน เวลาน้ำขึ้นจะรวมตัวกันมากินหญ้าทะเลที่ขึ้นเป็นแนวบริเวณน้ำตื้น

พะยูนถูกจัดเป็นสัตว์หายาก และสัตว์สงวน มีประชากรเหลืออยู่ในน่านน้ำไทยราว 200 ตัวเท่านั้น จึงห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่่อศึกษา วิจัย และเพาะพันธุ์เท่านั้น

ขอบคุณภาพและคลิปวิดีโอส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า