SHARE

คัดลอกแล้ว

ในขณะที่เหตุกราดยิงกลายเป็นสิ่งที่เกิดบ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับเริ่มเข้าใจมันน้อยลง เนื่องจากเป็นการแสดงความโกรธเกรี้ยวจากผู้ก่อเหตุที่ลงมือเพียงลำพัง และเริ่มแสดงพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับการก่อเหตุในครั้งก่อนๆ

นิวยอร์กไทมส์นำเสนอบทวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันเหตุรุนแรง ที่ชี้ว่าผู้ก่อเหตุกราดยิงจำนวนมาก ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการก่อเหตุกราดยิงที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และมักแสดงความชื่นชมต่อผู้ที่ลงมือ การทำงานของสื่อที่เกี่ยวข้องกับเหตุเหล่านั้น อาจเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้ที่กำลังวางแผนพร้อมที่จะก่อเหตุรุนแรง

ยกตัวอย่างเช่น เหตุสังหารหมู่ที่วิทยาลัยชุมชนในรัฐโอเรกอนของสหรัฐฯ เมื่อปี 2015 นายคริสโตเฟอร์ ฮาร์เปอร์-เมอร์เซอร์ มือปืนผู้ก่อเหตุ ได้อัปโหลดวิดีโอเกี่ยวกับเหตุสังหารหมู่ที่โรงเรียนประถมแซนดี้ ฮุก ในเมืองนิวทาวน์ รัฐคอนเนกติกัต เมื่อปี 2012 

ส่วนผู้ก่อเหตุที่โรงเรียนแซนดี้ ฮุก ได้เคยศึกษาเหตุสังหารหมู่ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตหลายครั้งอย่างละเอียด เช่นเหตุกราดยิงที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ ในรัฐโคโลราโด ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 13 คน เมื่อปี 1999 และเหตุกราดยิงเมื่อปี 2011 ที่ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย

ผู้เชี่ยวชาญกล่าว่า พฤติกรรมการเลียนแบบจำเป็นต้องได้รับการตอบสนองในทางการแพทย์ ซึ่งในเบื้องต้นต้องเน้นไปที่มาตรการในการตรวจสอบและป้องกัน เช่นเดียวกับการหาเสียงทางการเมืองเกี่ยวกับนโนยายด้านการครอบครองอาวุธปืน แต่ในบางกรณี ความพยายามในการพิสูจน์และเฝ้าสังเกตบุคคลที่มีแนวโน้มว่าอาจเป็นอันตราย อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านเสรีภาพพลเมืองได้

ด้าน ดร. เดโบราห์ ไวส์บรอต อาจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสโตนี่ บรู๊ก ซึ่งเคยทำการสัมภาษณ์กลุ่มวัยรุ่น ที่เคยมีแนวโน้มจะก่อเหตุรุนแรง กล่าวว่า หากเราพูดถึงชื่อและเปิดเผยใบหน้าของผู้ก่อเหตุทางโทรทัศน์ และกล่าวย้ำถึงชื่อเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก นั่นอาจเป็นกระบวนการในการสร้างพฤติกรรมการเลียนแบบโดยไม่ตั้งใจ

นอกจากนั้น ปัจจัยต่างๆ ที่รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพจิต อาจเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้เกิดการสังหารหมู่ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีความสนใจในการศึกษากลไกของการก่อเหตุสังหารหมู่ สามารถถอดรื้อโครงสร้างของเหตุการณ์เหล่านั้นได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ผ่านการค้นหารายงานข่าวในอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ เช่นในเว็บไซต์หนึ่งที่รวบรวมข้อมูลเหตุสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ระบุว่า เหตุกราดยิงในโรงภาพยนตร์ที่เมืองออโรร่า ในรัฐโคโลราโด ที่มีผู้เสียชีวิต 12 ราย พบว่ามือปืนมีกลุ่มแฟนคลับใน “ทัมเบลอร์” (Tumblr)

ในการศึกษาเกี่ยวกับเหตุกราดยิงในโรงเรียน 9 ครั้งในเยอรมนี ดร. เจ. รี้ด เมลอย นักจิตวิทยานิติเวช ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินภัยคุกคามสำหรับโรงเรียนและองค์กรต่างๆ พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ก่อเหตุ ลอกเลียนแบบเหตุกราดยิงที่โรงเรียนมัธยนโคลัมไบน์อย่างรอบคอบ ส่วนผู้ก่อเหตุรายอื่น เคยเดินทางไปที่โรงเรียน หรือเขียนแสดงความชื่นชมต่อผู้ก่อเหตุ 2 รายทางออนไลน์

ส่วนในกรณีของนายคริสโตเฟอร์ ฮาร์เปอร์-เมอร์เซอร์ ไม่ใช่เรื่องยากที่จะโยงเข้ากับมือปืนที่ก่อเหตุที่โรงเรียนแซนดี้ ฮุก เนื่องจากทั้งสองอาศัยอยู่กับแม่ อีกทั้งพวกเขาและแม่ต่างก็มีความชื่นชอบในอาวุธปืน และยังเคยไปฝึกยิงที่สนามยิงปืนด้วยกัน มารดาของนายฮาร์เปอร์-เมอร์เซอร์ บอกว่า ลูกชายมีอการแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger’s Syndrome) ส่วนมือปืนแซนดี้ฮุก เคยได้รับการวินิจฉัยด้วยอาการเดียวกัน นั่นหมายความว่า ยิ่งพวกเขาสามารถเชื่อมโยงตนเองเข้ากับเหตุการณ์เหล่านั้นมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น

การศึกษาอย่างน้อยหนึ่งชิ้น ชี้ให้เห็นว่า การสังหารหมู่อาจเกิดขึ้นแบบ “กระจุกตัว” โดยเมื่อเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้นเหตุการณ์หนึ่ง ก็จะตามมาด้วยอีกหลายๆ เหตุการณ์ตามมา โดยในการศึกษาวิเคราะห์เหตุสังหารณ์หมู่ที่เกิดขึ้นหลายร้อยครั้ง ระหว่างปี 1997 ถึง 2013 นักวิจัยพบว่า ความเป็นไปได้ที่จะเกิดอีกเหตุการณ์หนึ่ง จะพุ่งขึ้นสูงที่สุดในช่วง 2 สัปดาห์หลังจากเกิดเหตุการณ์หนึ่ง

ดร. เมลอย กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ภาพ และข้อความเช่น “ฉายเดี่ยว” ที่อาจทำให้กลุ่มวัยรุ่นรู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ดู “เท่” อย่างไรก็ตาม นายแมทธิว เพอร์ดี้ รองบรรณาธิการบริหารของนิวยอร์กไทมส์ กล่าวว่า การที่หนังสือพิมพ์เผยแพร่ภาพของนายฮาร์เปอร์-เมอร์เซอร์ บนหน้าหนึ่ง ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อทำให้เขากลายเป็นคนสำคัญ หน้าที่ของเราคือการอธิบายและสำรวจสิ่งที่เกิดขึ้น และภาพเหล่านั้นสามารถช่วยได้

นอกจากนั้น ยังพบว่า ผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่ “เปิดเผย” เจตนาของตนอย่างชัดแจ้ง และมักกล่าวเป็นนัยบางอย่างในบทสนทนาทางสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้น ผู้ปกครอง ครู เพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อน และคนอื่นๆ สามารถแจ้งเบาะแสดังกล่าวได้ แต่พบว่าพวกเขามักจะเพิกเฉยหรือไม่สนใจ ดร.เมลอยกล่าวว่า กลยุทธ์ที่มีชื่อว่า “เห็นอะไร บอกอย่างนั้น” ที่เกิดขึ้นในนิวยอร์ก หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน 2001 สามารถช่วยกระตุ้นให้ผู้คนสื่อสารกันมากขึ้น

สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การทำลายกำแพงระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ เช่นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และหน่วยงานด้านสุขภาพจิต และพัฒนาระบบสำหรับการเฝ้าสังเกตภัยคุกคาม และตรวจสอบว่าบุคคลที่ก่อเหตุเป็นเพียงผู้มีปัญหาทางจิต หรืออาจมีแนวโน้มก่อความรุนแรง

ที่นครลอสแองเจลิส หน่วยงานต่างๆ เช่น ตำรวจ หน่วยงานด้านสุขภาพจิต และสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ร่วมแบ่งปันข้อมูล และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และรายงานถึงพฤติกรรมที่อาจสร้างปัญหา ซึ่งในหลายกรณีเจ้าหน้าที่สามารถยึดอาวุธปืน รวมถึงควบคุมตัวนักเรียนที่เตรียมก่อเหตุรุนแรงได้ และในกรณีหนึ่งคือ เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบวัยรุ่นชาย อายุ 16 ปี ที่มีความชื่นชอบในเรื่องสารเคมีสำหรับการทำระเบิด ซึ่งเคยพูดว่า เขาจำเป็นต้องกำจัดคนเลวให้หมดไปจากโลก

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นักการศึกษาและนักสุขภาพจิต มักรู้สึกกระอักระอ่วนที่จะแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนหรือลูกค้าของตน ที่แสดงพฤติกรรมที่น่ากังวล เนื่องจากเข้าใจผิดว่ากฎหมายความเป็นส่วนตัวห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ดังนั้น หน้าที่ของพวกเขาคือการให้ความรู้แก่ครู อาจารย์ใหญ่ และนักบำบัด โดยอธิบายถึงเงื่อนไขทางกฎหมาย ที่อนุญาตให้มีการแบ่งปันข้อมูล หากเกิดกรณีความปลอดภัยของประชาชนส่วนรวมเข้ามาเกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า