SHARE

คัดลอกแล้ว

พฤษภาทมิฬ (17 พฤษภาคม 2535) นับว่าเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ที่สร้างความสูญเสียให้กับประเทศเป็นอย่างมาก โดยจุดเริ่มต้นแห่งความไม่พอใจ จนมีประชาชนจำนวนมากออกมาชุมนุมประท้วง ก็นับตั้งแต่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร แกนนำ รสช. ประกาศรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งที่ก่อนหน้านั้น ยืนยันว่าจะไม่รับตำแหน่งนี้อย่างเด็ดขาด !

การกระทำดังกล่าวของ พล.อ.สุจินดา จึงถูกตีความว่า ต้องการการสืบทอดอำนาจ รสช. หลังจากนั้นก็มีการแบ่งฝ่ายพรรคการเมืองที่สนับสนุน และต่อต้าน อย่างชัดเจน

โดยพรรคที่สนับสนุน พล.อ.สุจินดา มีทั้งหมด 5 พรรค ได้แก่ สามัคคีธรรม , พรรคชาติไทย , พรรคกิจสังคม , พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ที่ถูกสื่อตั้งฉายาให้ว่า พรรคมาร

ส่วนพรรคที่ต่อต้าน มี 4 พรรค คือ พรรคความหวังใหม่ , พรรคประชาธิปัตย์ , พรรคพลังธรรม และพรรคเอกภาพ ได้รับการตั้งฉายาจากสื่อว่า พรรคเทพ

ภาพจาก pirun.ku.ac.th

การชุมนุมประท้วง เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2535 หน้าทำเนียบรัฐบาล กระทั่งมีการเคลื่อนขบวนมายังท้องสนามหลวง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตามลำดับ โดยเหตุการณ์ความรุนแรงเริ่มขึ้นเมื่อกลางดึกวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 เมื่อมีความพยายามสลายการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก อีกทั้งยังมีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งถูกจับกุม

ต่อมาวันที่ 20 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีรับสั่งให้ พล.อ.สุจินดา กับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง (แกนนำประท้วง) เข้าเฝ้า หลังจากนั้นเหตุการณ์ก็มีแนวโน้วคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี โดย พล.อ.สุจินดา ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา จึงนำชื่อ นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนายอานันท์กับคณะรัฐมนตรี ก็ได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ ในวันที่ 13 กันยายน 2535

ซึ่งผลปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนเสียงมากเป็นอันดับที่ 1 เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรค ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในสมัยแรก  

อ้างอิง th.wikipedia.org

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

17 พ.ค. 35 พฤษภาทมิฬ ปชช.ลุกฮือต่อต้าน การสืบทอดอำนาจของ รสช.

ตำนาน พรรคเทพ-พรรคมาร ค้าน-หนุน นายกฯ คนนอก ก่อนพฤษภาทมิฬ

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า