Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิเคราะห์ “เมย์แบงก์ กิมเอ็ง” แนะ 2 กลยุทธ์ รับมือธปท.สั่งธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผล-ห้ามซื้อหุ้นคืน  ให้ลงทุนสลับกลุ่ม และเลี่ยงการลงทุนหุ้นในกลุ่มธนาคาร

วันที่ 23 มิ.ย. นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ประเมินว่าผลกระทบที่มีต่อนโยบายใหม่ จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกคำสั่ง ธนาคารพาณิชย์งดปันผลซื้อคืนหุ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกคำสั่งขอให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในไทย จัดทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนในระยะเวลา 1-3 ปี  พร้อมกับงดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานปี 2563 และห้ามซื้อหุ้นคืนหรือไถ่ถอนตราสารหนี้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือชั้นที่ 2 ก่อนครบกำหนด

การออกมาตรการเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์รักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งและควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างระมัดระวังมากขึ้น สะท้อนมุมของ ธปท. ที่ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังแย่กว่าที่คาดไว้ บวกกับมีความกังวลต่อผลของมาตรการต่างๆที่มีออกมาเพื่อช่วยเหลือเยียวยาลูกหนี้ช่วงก่อนหน้านี้ อาจส่งผลกระทบต่อสถานะเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งประเมินว่าผลจากมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้ กดดัน Sentiment ตลาดหุ้นไทยในภาพรวม จากการส่งสัญญาณของ ธปท.สะท้อนมุมมองที่เปลี่ยนไปในเชิงลบต่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะเศรษฐกิจ บวกกับการเข้าแทรกแซงของผู้กำหนดนโยบายที่เป็นปัจจัยลบที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ กระทบเชิงลบมากกว่าต่อธนาคารพาณิชย์ที่จ่ายปันผลระหว่างกาล

โดยปกติธนาคารพาณิชย์ ที่มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ได้แก่ BAY BBL KBANK KKP SCB (ส่วน TCAP ที่ถือหุ้น TMBThanachat ที่ 20.4% หลังควบรวมระหว่าง TMB และ TBANK ไม่อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท.) โดยคาดว่า ปันผลระหว่างกาลที่จะหายไปรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 1.43 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลในปี 2563 สำหรับ SET Banking ลดลงประมาณ 1.15% และสำหรับ SET ลดลงเล็กน้อยประมาณ 0.1%

อีกทั้งยังอาจเกิด Sector Rotation สู่หุ้นขนาดใหญ่/ปันผลสูงกลุ่มอื่นแทน ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารฯ ปัจจุบัน (19 มิ.ย.) ปิดที่ 304.21 จุด ปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 23 มี.ค. ที่ 235.81 จุด ประมาณ 29% ถือเป็นจุดที่นักลงทุนบางกลุ่มมีกำไรซึ่งพบว่าเม็ดเงินที่ไหลเข้ามา ในช่วงเวลาดังกล่าวมาจากนักลงทุนสถาบันฯ ซื้อสุทธิ 5.8 หมื่นล้านบาท และโดยส่วนใหญ่คือกองทุนรวมในประเทศที่โดยปกติจำป็นต้องปรับพอร์ทการลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นปันผลเป็นกลุ่มที่มีโอกาสสูงที่จะสลับเข้าซื้อหุ้น High Yield อื่นทดแทนเงินปันผลกลุ่มธนาคารที่หายไป โดยเงื่อนไขที่น่าจะถูกเข้าซื้อคือมีอัตราการจ่ายปันผลระหว่างกาลสูงเทียบเคียงกับระดับ 1.15% ของกลุ่มธนาคารฯและแนวโน้มกำไร 2H63 ฟื้นตัวหรือดีต่อเนื่อง

ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)

คำแนะนำในเชิงกลยุทธ์

1. เลือกลงทุนสลับกลุ่ม : หุ้น Big Cap ปันผลระหว่างกาลสูง แนวโน้มกำไร 2H63 ดี เป้าหมายการสลับกลุ่มเข้าซื้อของนักลงทุนสถาบันฯ เลือก INTUCH, SCC, PTTGC, CPF

2. กลุ่มธนาคาร : เลี่ยงการลงทุน จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในเชิงลบ บวกกับการเข้าแทรกแทรงของ ธปท. ที่จะลดทอนความน่าสนใจในมุมมองนักลงทุนต่างชาติเมื่อเทียบกับภูมิภาค

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า