SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้ช่วงนี้ถนนใน กทม. จะโล่งลงไปจนแปลกตา แต่การเดินทางยังมีความจำเป็นต่อคนหาเช้ากินค่ำและผู้ประกอบอาชีพที่ Work From Home ไม่ได้ ขณะเดียวกันมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ เพื่อลดความเสี่ยงของตนเองและช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

 

แต่หลังจากที่รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวตั้งแต่ 4 ทุ่ม ถึงตี 5 ส่งผลให้รถโดยสารประจำทางต้องปรับเปลี่ยนเวลาเดินรถ รวมถึงลดจำนวนเที่ยววิ่งลง ภาพที่ตามคือ ผู้โดยสารจำนวนมากเบียดกันขึ้นรถเมล์ช่วงเช้าและช่วงเย็น ไม่ต่างจากสภาวะปกติ

 

แม้ผู้ให้บริการเดินรถจะทำสัญลักษณ์ไว้บนเก้าอี้แบบตัวเว้นตัว เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารนั่งติดกันแล้วก็ตาม แต่ด้วยจำนวนรถที่น้อยลง จำนวนเที่ยวที่น้อยลง และระยะเวลาที่บีบให้ทุกคนรีบกลับบ้าน ผู้โดยสารจำนวนมากจึงไม่มีทางเลือก ต้องเบียดตัวขึ้นรถเมล์ไปแชร์ความเสี่ยงกับเพื่อนร่วมทางอีกเต็มคันรถ

Mayday กลุ่มประชาชนซึ่งผลักดันเรื่องการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนมาตลอดหลายปี สะท้อนปัญหาดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊ก รายการ Workpoint Today จึงติดต่อสัมภาษณ์ วริทธิ์ธร สุขสบาย กราฟิกดีไซเนอร์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม Mayday เพื่อสอบถามถึงรายละเอียดของปัญหา และ 3 ข้อเสนอที่อยากให้ภาครัฐพิจารณา

รถวิ่งน้อยลง หมดเร็วขึ้น ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสาร โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็น

 

วริทธิ์ธร ระบุว่า หลังจากรัฐบาลประกาศเคอร์ฟิว รถโดยสารประจำทางก็ปรับเปลี่ยนเวลาเดินรถให้สอดคล้องกับมาตรการดังกล่าว โดยเริ่มวิ่งคันแรกตอนตี 5 จากต้นสาย และวิ่งคันสุดท้ายช่วง 4 โมง ถึง 6 โมงเย็น หรือ 1 ทุ่ม สำหรับสายที่วิ่งดึกหน่อย นอกจากนี้ จำนวนรถเมล์ที่วิ่งบริการประชาชนก็ลดน้อยลง เหลือแค่ 40 – 60% จากทั้งหมด ขณะที่รถเมล์ 1 คัน จากเดิมเคยรับผู้โดยสารได้ประมาณ 60 – 70 คน หากเบียดกันเต็มคันรถ แต่ตอนนี้รถเมล์ 1 คัน รับผู้โดยสารได้แค่ประมาณ 30 คน ทั้งนั่งและยืน

 

ส่วนตัว วริทธิ์ธร เชื่อว่าไม่มีใครอยากพาตนเองไปเสี่ยงกับโรคระบาด แต่สถานการณ์ทำให้คนจำนวนหนึ่งไม่มีทางเลือก เพราะทั้งจำนวนรถ จำนวนเที่ยว จำนวนผู้โดยสารที่ขึ้นได้ต่อคัน บีบเล็กลง คนที่ยังต้องรีบไปทำงานเท่าเดิม รีบกลับบ้านเร็วขึ้น จึงต้องยอมขึ้นรถเมล์ที่คนแน่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เห็นว่าวิธีบริหารจัดการด้านขนส่งสาธารณะหลังจากรัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวไม่สอดคล้องกับนโยบาย Social Distancing

 

จะดีกว่าไหม ถ้าภาครัฐหาวิธีการแก้ปัญหาให้ผู้โดยสารสามารถยืนห่างกันได้ นั่งห่างกันได้ ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่เรากังวลกันมากๆ อยู่ตอนนี้ริทธิ์ธร กล่าว

 

3 ข้อเสนอจาก Mayday ให้นโยบาย Social Distancing ใช้ได้จริงบนรถเมล์

 

1) เพิ่มจำนวนรถในช่วงเช้าและช่วงเย็น  เพื่อลดความหนาแน่นของผู้โดยสารที่ยังจำเป็นต้องเดินทางไปทำงานและรีบกลับบ้าน เพราะยิ่งรถน้อย ผู้โดยสารต่อคันก็ยิ่งแน่น ยิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส

ภาพโดย Mayday

2) กำหนดตารางเวลาเดินรถ  เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถวางแผนการเดินทางได้ ไม่ต้องออกไปยืนรอรถนานๆ กับคนอีกจำนวนมากที่ป้ายรถเมล์ แม้ที่ผ่านมากรุงเทพฯ จะไม่สามารถกำหนดตารางเดินรถที่แน่นอนได้ เนื่องจากปัญหาจราจรติดขัด ริทธิ์ธร จึงมองว่าช่วงเวลานี้ที่ถนนในกรุงเทพฯ โล่งมากๆ ถือเป็นโอกาสดีที่รถเมล์ไทยจะกำหนดตารางเดินรถอย่างต่างประเทศ บอกให้ผู้โดยสารรู้ว่ารถเมล์จะมาถึงป้ายกี่โมง รถคันสุดท้ายวิ่งถึงกี่โมง

ภาพโดย Mayday

3) เพิ่มพื้นที่ประชาสัมพันธ์  เพราะปัจจุบันประชาชนจำนวนมากยังไม่รู้ว่ารถเมล์มีการปรับเปลี่ยนเวลาเดินรถอย่างไรบ้าง แต่ละสายออกจากต้นทางกี่โมงและถึงปลายทางที่โมง ภาครัฐยังไม่มีแพลตฟอร์มสำหรับให้ข้อมูลอย่างเป็นทางการกับประชาชน ถ้าหากสังเกตจะพบผู้โดยสารหลายๆ คนบ่นในโซเชียลมีเดียว่า ยืนรอรถโดยที่ไม่รู้ว่ารถหมดแล้วหรือยัง

ภาพโดย Mayday

ริทธิ์ธร ทิ้งทายว่า ระบบขนส่งมวลชนยังจำเป็นต่อประชาชนจำนวนหนึ่ง ส่วนมาตรการ Social Distancing ก็สำคัญมากๆ เพราะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค หากจะทำให้นโยบาย Social Distancing เกิดขึ้นจริงๆ บนรถเมล์ ภาครัฐควรคำนึงถึงหลายๆ ปัจจัย หาวิธีการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการ – จำเป็นของผู้โดยสาร เช่น แผนการเดินรถ ถ้าภาครัฐกำหนดให้ประชาชนใช้ชีวิตได้ถึง 4 ทุ่ม รถโดยสารก็ควรจะรับส่งคนถึง 4 ทุ่ม ไม่ใช่เข้าอู่ก่อน 4 ทุ่ม เพราะถ้ารถเมล์คันสุดท้ายออกจากต้นสายช่วง 4 โมง ถึง 6 โมงเย็น หมายความว่าอีก 6 ชั่วโมง จะไม่มีรถเมล์รับส่งคน

ฉะนั้น การปรับเปลี่ยนวิธีคิดของภาครัฐก็สำคัญ เพราะจะทำให้การกำหนดตารางเดินรถมีความยืดหยุ่น สอดรับกับความจำเป็นของผู้ใช้งานมากขึ้น และจะส่งผลให้นโยบาย Social Distancing เกิดขึ้นได้จริง เป็นประโยชน์ต่อผู้โดยสาร รวมถึงพนักงานเดินรถที่ต้องเจอคนจำนวนมากๆ ทุกวันด้วย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า