SHARE

คัดลอกแล้ว

ในเชิงเศรษฐศาสตร์เวลาที่ความต้องการของสินค้านั้นๆ หรือที่เราเรียกว่าดีมานด์ (Demand) และปริมาณสินค้าที่มีหรือซัพพลาย (Supply) ไม่สมดุลกัน มักทำให้เกิดวิกฤตของสินค้านั้นๆ เพราะถ้าหากดีมานด์เพิ่มขึ้นหรือซัพพลายลดลง ราคาจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าถ้าดีมานด์ลดลงหรือซัพพลายเพิ่มขึ้น ราคาจะลดลง

พูดให้เห็นภาพมากขึ้นคือตอนนี้ในจีนมีวิกฤตนมล้นตลาดเป็นเพราะซัพพลายนมมากกว่าคนดื่มนม

ย้อนกลับไปในปี 2018 ‘จีน’ เริ่มเผชิญปัญหานมล้นตลาด ทำให้ทางรัฐบาลจีนต้องริเริ่มแคมเปญส่งเสริมการผลิตนมเพื่อลดการพึ่งพานมนำเข้าและเสริมสร้างสุขภาพประชาชน 

โดยรัฐบาลจีนแก้ปัญหาด้วยการให้เงินสนับสนุนเกษตรกรในการขยายฝูงวัว เน้นผลิตนมคุณภาพสูงเต็มไปด้วยโปรตีนและแคลเซียม เน้นส่งเสริมให้คนบริโภคนมมากขึ้น 

[ ผลิตนมในประเทศได้เยอะขึ้นจริง แต่คนจีนก็บริโภคนมน้อยลง ]

ความพยายามของรัฐบาลจีนก็สำเร็จในมุมด้านการผลิต เพราะในปีที่แล้ว (ปี 2023) เกษตรกรในจีนสามารถผลิตนมเพิ่มขึ้นมากถึง 42 ล้านตัน แต่ในด้านความต้องการบริโภคนมกลับไม่สูงขึ้นตามค่าเฉลี่ยทั่วโลก 

คนจีนโดยเฉลี่ยบริโภคนมเพียง 40 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งต่ำกว่าคำแนะนำของทางการมาก 

ทำให้เกิดวิกฤตอีกครั้ง รัฐบาลจีนกระตุ้นให้เกษตรกรผลิตนมเยอะขึ้น แต่คนจีนบริโภคนมน้อยลง ส่งผลนมล้นตลาด นับตั้งแต่ปี 2021 เกษตรกรต้องลดราคานมลงถึง 28% ราคานมดิบเฉลี่ยเหลือ 3.14 หยวน หรือราวๆ 15 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการผลิต

[ ทำไมคนจีนดื่มนมน้อยลง? ]

เหตุผลหลักที่คนจีนไม่บริโภคนมมากขึ้น หลักๆ 4 ปัจจัย

        1. การแพ้แลคโตส คนจีนจำนวนมากมีพันธุกรรมที่ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้ ทำให้ทุกครั้งที่ดื่มอาจจะต้องเผชิญเรื่องท้องเสีย 
        2. วัฒนธรรมการบริโภค นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนยและชีส ไม่เป็นส่วนหนึ่งของอาหารแบบดั้งเดิมของจีน ทำให้คนจีนไม่ได้คุ้นเคยกับนม
        3. เศรษฐกิจชะลอตัว สภาพเศรษฐกิจทำให้คนมีรายได้น้อยลง จึงลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เพราะคนจีนเน้นอิ่มท้องมากกว่า
        4. อัตราการเกิดน้อยลง ในประเทศจีนมีเด็กทารกเกิดน้อยลงทำให้ความต้องการนมผงสำหรับเด็กลดลงไปอีก 

นอกจากนี้ จีนยังไม่สามารถแข่งขันในตลาดส่งออกนมได้ เพราะต้นทุนการผลิตสูงจากการต้องนำเข้าวัตถุดิบ เช่น อาหารวัว อีกทั้งยังมีประวัติเสียหายจากเหตุการณ์ปี 2008 พบว่าผู้ผลิตนมบางรายในจีนใส่สารเมลามีนลงในนมผง ทำให้มีทารกเสียชีวิตและเจ็บป่วยหลายแสนคน ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของนมจีนเสียหาย

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลานี้ก็เป็นอีกครั้งที่รัฐบาลจีนพยายามช่วยเหลือเกษตรกร โดยกระตุ้นให้ธนาคารปล่อยกู้เพิ่มขึ้น และยังพยายามสร้างความตระหนักถึงประโยชน์ด้านสุขภาพของนม แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเสนอว่าควรลดจำนวนวัวลง 300,000 ตัว เพื่อลดปัญหานมล้นตลาดแทน

ที่มา

        • https://www.economist.com/china/2024/10/03/why-china-is-awash-in-unwanted-milk

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า