SHARE

คัดลอกแล้ว

จากภาพของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทำมือเป็นสัญลักษณ์หัวใจและมินิฮาร์ต หลังจบการแถลงที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ เกี่ยวกับเหตุการณ์การกราดยิงและจับตัวประกัน ในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ที่จังหวัดนครราชสีมา จนนำไปสู่กระแสการถกเถียงในทวิตเตอร์

เราจึงเกิดความสงสัยว่า จริงๆ แล้ว การแสดงท่ามินิฮาร์ตนั้น มีที่มาและต้นกำเนิดอย่างไร รวมถึงมันสามารถสื่ออะไรได้มากกว่าหัวใจหรือไม่

มินิฮาร์ต (Mini Heart) หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟิงเกอร์ ฮาร์ต” (Finger heart) เป็นการแสดงท่าทางที่บุคคลหนึ่ง ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้วางไขว้กันเป็นรูปหัวใจขนาดเล็ก

โดยในเกาหลีใต้ มินิฮาร์ตเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับความนิยมในหมู่ศิลปินเคป๊อป และบรรดาแฟนเพลง การแสดงท่าทางนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากความนิยมในเคป๊อป และละครเกาหลี จากแฟนคลับทั่วเอเชีย มินิฮาร์ตยังเริ่มได้รับความนิยมไปทั่วโลก อันเนื่องมาจากกระแสการแพร่ของวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลีใต้ไปทั่วโลก หรือที่เรียกกันว่าโคเรียน เวฟ” (Korean Wave)

ทั้งนี้ ในระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว ที่เมืองพยองชางของเกาหลีใต้ เมื่อปี 2018 แบรนด์เสื้อผ้าและอุปกรณ์สำหรับการท่องเที่ยวผจญภัยชื่อดังอย่าง “เดอะ นอร์ธเฟซ” (The North Face) ได้ผลิตถุงมือขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยบริเวณนิ้วโป้งและนิ้วชี้ จะเป็นสีแดง เพื่อทำให้การทำท่ามินิฮาร์ตดูชัดเจนยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ท่ามินิฮาร์ต อาจดูมีความคล้ายคลึงกับท่าทางการขอเงินซึ่งอาจก่อให้เกิดการตีความผิดได้

ทั้งนี้ จากข้อมูลตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเคป๊อป พบว่า เริ่มมีการทำมินิฮาร์ตมาตั้งแต่อย่างน้อยปี 2015 เพื่อเป็นการแสดงรูปหัวใจระหว่างการถูกถ่ายภาพ ที่คาดว่าง่ายและสะดวกกว่าการใช้มือโค้งเข้าหากันเป็นรูปหัวใจ หรือที่เรียกกันว่าแฮนด์ฮาร์ต” (hand heart) หรือ บิ๊กฮาร์ต (big heart)

ด้าน ควอน จียง หรือ จี-ดรากอน ศิลปินเค-ป๊อปชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า เขาเริ่มทำท่ามินิฮาร์ตมาตั้งแต่ยังเด็ก โดยแสดงหลักฐานเป็นภาพถ่าย เมื่อปี 2016 ซึ่งเป็นช่วงที่เทรนด์นี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในเกาหลีใต้ เพื่อเป็นการแสดงความรัก การขอบคุณ หรือการชื่นชม

 

 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

내가손가락하트원조였다니

โพสต์ที่แชร์โดย 권지용(權志龙) (@xxxibgdrgn) เมื่อ ต.ค. 5, 2016 เวลา 1:27am PDT

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากอีกแหล่งหนึ่งระบุว่า “คิม ฮเย-ซู” นักแสดงหญิงชาวเกาหลี เคยทำท่ามินิฮาร์ต ย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 ส่วนแหล่งข่าวอื่นๆ คาดว่า การแสดงท่ามินิฮาร์ต อาจย้อนกลับไปได้ถึงช่วงต้นยุค 2000

ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ wikitree.co.kr ระบุว่า รูปการทำมินิฮาร์ตที่เก่าที่สุดที่พบในกูเกิล คือเมื่อเดือนมกราคม 2005 และการโพสต์ข้อความที่เกี่ยวข้องกับการทำมินิฮาร์ต คือการโพสต์ที่คาเฟ่แห่งหนึ่ง เมื่อเดือนกันยายน 2004 ซึ่งในช่วงนั้นเริ่มมีชาวเน็ตบางรายรู้จักมินิฮาร์ตแล้ว

อย่างไรก็ตาม มีผู้แย้งว่ามิน คยองฮุนอดีตนักร้องนำวงบุซ” (Buzz) ทำท่ามินิฮาร์ตในระหว่างการออกอัลบั้มแรก ที่มีชื่อว่ามอร์นิ่ง ออฟ บุซ” (Morning of Buzz) เมื่อปี 2003

นอกจากนั้น ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่ระบุว่า “พัก จิน-ย็อง” ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ เจวายพี เอนเตอร์เทนเมนต์ หนึ่งในบริษัทด้านความบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ คือผู้ริเริ่มทำมินิฮาร์ต หลังจากปรากฏภาพของเขาที่แสดงท่าทางนี้ในการถ่ายภาพในช่วงกลางยุค 1990 ซึ่งหากพิจารณาแล้ว ภาพถ่ายนี้เกิดขึ้นในระหว่างการออกอัลบั้มแรกของเขา เมื่อปี 1994

สำหรับชาวเอเชียแล้ว การแสดงท่าทางโดยใช้มือต่อหน้ากล้องถือเป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับชาวตะวันตกที่พูดว่า “เซย์ ชีส” (say cheese) การทำมินิฮาร์ต อาจมีจุดเริ่มต้นมาจากการทำสัญลักษณ์รูปตัววีในภาษาอังกฤษ ซึ่งแสดงถึงชัยชนะหรือสันติภาพ ก่อนที่จะเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในวัฒนธรรมป๊อป

ข้อมูลจากทฤษฏีหนึ่งชี้ว่า จุดกำเนิดของสัญลักษณ์รูปตัววีของชาวเอเชีย อาจมีจุดเริ่มต้นมาจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองซัปโปโรของญี่ปุ่น เมื่อปี 1972 เมื่อนักฟิกเกอร์สเก็ตหญิงชาวอเมริกันเจเน็ต ลินน์ล้มลงระหว่างการแข่งขัน แต่เธอก็สามารถลุกขึ้นมาได้ พร้อมกับยิ้มให้กับผู้ชม และชูนิ้วเป็นรูปตัววี และไม่นานหลังจากนั้น ท่าทางดังกล่าวก็เป็นที่นิยมทั่วไปในหมู่นักกีฬา และบรรดาชาวญี่ปุ่น

เราอาจกล่าวได้ว่า ความนิยมในการแสดงท่าทางด้วยมือเป็นผลพลอยได้มาจากวัฒนธรรมคาวาอิ” (kawaii) ของญี่ปุ่น ซึ่งเรามักพบว่ามันถูกใช้เพื่อการหลีกหนีทางอารมณ์จากแรงกดดันในสังคมญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมในเอเชีย ระหว่างช่วงยุค 1980 และ 1990 ตัวอย่างที่เห็นได้คือ ตัวการ์ตูนชื่อดังอย่างเซเลอร์มูนที่มักโพสต์ท่าและชูนิ้วเป็นรูปตัววี

ต่อมาในยุคที่กระแสเคป๊อป กำลังได้รับความนิยมอย่างสุดขึด การชูนิ้วเป็นรูปตัววีก็แทบไม่ได้รับความนิยมอีก นอกจากนั้น ได้มีผู้แสดงความเห็นว่า เหตุผลที่ท่ามินิฮาร์ตได้รับความนิยม ก็เพราะท่านี้เป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมแบบเกาหลีที่เรียกว่า “เอ-กโย” (애교) หรือการแสดงท่าทางเพื่อแสดงความรักในแบบน่ารัก ผ่านการพูดด้วยเสียงที่น่ารัก การแสดงออกทางสีหน้า และท่าทางต่างๆ หรือเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรม “คาวาอิ” แบบเกาหลี

การแสดงท่าทางด้วยมือเป็นรูปหัวใจ ยังอาจแสดงออกได้อย่างหลากหลาย เช่นชู” (Chuu) หนึ่งในสมาชิกของวงลูน่า” (Loona) ที่ใช้มือทั้งสองข้างประสานกันเป็นรูปวงกลม ก่อนที่เธอจะกัด เสมือนว่ามันคือเบอร์เกอร์ และกลายเป็นรูปหัวใจ 

นอกจากศิลปินและคนดังแล้ว เรายังได้เห็นท่ามินิฮาร์ตจากผู้นำระดับโลกอย่างนายคิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ โดยเมื่อเดือนกันยายนปี 2018 ในระหว่างการประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ นายคิมและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเกาหลีใต้ ได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันบริเวณยอดเขาเพ็กตู และทำมือเป็นรูปมินิฮาร์ต

pastedGraphic.png

เมื่อได้ดูภาพนี้ เราได้แต่หวังว่า สันติภาพและความสงบสุขจะเกิดขึ้นกับโลกในเร็ววันนี้

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า