Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 เห็นชอบร่างแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ.2563-2565) โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพภายใต้หลักคุณธรรม จริยธรรม ประชาชนใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ และรู้เท่าทันสื่อ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว้าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน ร่วมกับ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายธนกร ศรีสุกใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และนางธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะอเนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน เป็นผู้บรรยาย รวมทั้งมีตัวแทนหน่วยงานสื่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานศึกษา ศาสนา เข้าร่วมอีกว่า 200 คน

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว้าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนแผนพพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ ซึ่งทางรัฐบาลโดยคณะกรรมการพัฒนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ ได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จัดการประชุมเครือข่าย เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในแผนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาสื่อให้มีคุณภาพดี เนื่องจากปัจจุบันการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดสื่อได้ง่ายขึ้น เครื่องมือสื่อสารกลายเป็นสื่อได้ จึงเน้นการสร้างระบบนิเวศน์สื่อที่ดี ต่อมาเป็นเรื่องของการสร้างโอกาสให้สามารถเกิดสื่อที่ดีได้นั่นคือการสร้างความเท่าเทียม ก็จะเน้นเรื่องการเข้าถึงการสนับสนุนโครงการที่เป็นสื่อดี และที่สำคัญคือการบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่าย ซึ่งจะมีคณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นตัวแทนด้วย

“และอีกหนึ่งเรื่องที่เป็นส่วนสำคัญคือเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นประเด็นที่อยากให้คนในสังคมได้เห็นว่าเรื่องการรับรู้ของสื่อ หรือการส่งต่อ แชร์ข้อมูลต่างๆ ต้องใช้วิจารณญาณและมีการตรวจสอบเนื้อหาก่อนที่จะสื่อสารออกไปด้วย ซึ่งปัจจุบันมีหลายเหตุการณ์ที่เป็นกรณีศึกษาที่ส่งผลกระทบ อาจจะเป็นเรื่องของการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรืออาจเกิดจากความตั้งใจ หรือว่ามีความรู้ด้านกฎหมายที่ไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ เรื่องกฎหมายอาญาทั่วไป เรื่องหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ก็จะเกี่ยวกับเรื่องของสื่อ เพราะฉะนั้นในเรื่องของการขับเคลื่อนแผนจึงเป็นการที่อยากให้ทุกภาคส่วนเห็นเป้าหมายร่วมกัน และมีขั้นตอนการขับเคลื่อนร่วมกัน เนื่องจากแผนฉบับนี้เป็นฉบับที่ 1 แล้วเริ่มตั้งแต่ปีนี้ ไปจนถึง พ.ศ. 2565 ก็จะต้องมีความเข้าใจที่สอดคล้องกัน” นายอิทธิพล กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเรื่องการพัฒนาประเทศชาติ ความเข้าใจในทิสทางเดียวกันของประชาชนทั้งที่เป็นผู้ผลิตสื่อ และผู้รับสื่อ ภาครัฐอยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมทำแผนพัฒนานี้ขึ้น ไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานราชการ หรือเอกชน แต่เป็นการพัฒนาร่วมกัน พร้อมฝากถึงประชาชนช่วยรณรงค์ให้เกิดสื่อที่ปลอดภัยสร้างสรรค์ โดยเฉพาะในเรื่องการรับรู้ของเยาวชนรุ่นใหม่ ให้สามารถใช้ความรู้ มีวิจารณญาณในการแยกแยะสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวเองและสังคมต่อไป

นายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า หน่วยงานที่มาร่วมการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 ภาคส่วน คือหน่วยงานที่ทำงานร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม ส่วนที่สองคือภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกัน คือให้สื่อที่ไม่ดี สื่อที่ไม่สร้างสรรค์ได้ลดบทบาทลง หรือถูกจำกัดบทบาทลง ในขณะเดียวกันกันหลายภาคส่วนก็จะช่วยพัฒนาสื่อที่ดีให้มากขึ้น โดยเน้นไปที่สื่อทุกแฟลตฟอร์ม เพราะสื่อมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนในสังคม

“จริงๆ เรื่องของสื่อ มีพัฒนาการมานานมาก ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2540 แล้วมีการตกผลึกมาเป็นระยะๆ ช่วงแรกไปตกอยู่ที่ กสทช. เป็นหลัก แล้วมาพบว่า กสทช. ก็เน้นบทบาทในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายคือการออกใบอนุญาต การจัดสรรคลื่นความถี่ แล้วเกิดคำถามว่าแล้วบทความในการสร้างสรรค์ไปอยู่ตรงไหน เมื่อไปดูกฎหมาย กสทช. มาตรา 52 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ใน วงเล็บ 5 เขียนไว้ชัดเจนว่าให้กองทุนของ กสทช. ไปสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หมายความว่าในแง่ภาครัฐเห็นความสำคัญตรงนี้มาตั้งแต่ต้น ในที่สุดยุคแรกก็ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งมีมาก่อน พ.ร.บ. จากนั้นหลายหน่วยงานก็ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีไป แต่ยังเล็งเห็นความสำคัญของระเบียบนี้ว่าจะต้องมีต่อไปเพื่อดูแลเชิงนโยบาย กระทั่งเมื่อ 18 สิงหาคม คณะรัฐมนตรีก็มีมติออกมา” ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าว

ด้าน นางธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะอเนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน กล่าวว่า วันนี้เรามีแผนที่เป็นทางการ ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็ง ชัดเจน เป็นรูปธรรม มีการชี้วัดผล มีกลไกระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ในการร่วมขับเคลื่อน ซึ่งการขับเคลื่อนนี้ไม่ใช่เพียงการผลิตสื่อ แต่การสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำคัญ เพราะถ้าเรามีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร  ปัญหาก็จะไม่เกิด ต่อให้มีข่าวปลอม ข่าวลวง หรือพนันออนไลน์ เราก็จะรู้ตัวเองได้ ซึ่งต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในทุกๆ กลุ่ม ยกตัวอย่างผู้สูงอายุ เข้าสู่ Fake news แล้วแชร์ต่อ หรือเล่นพนันโดยไม่รู้ตัว เล่นเกมแล้วเสียสุขภาพ เราจะทำให้ทุกกลุ่มรู้เท่าทันในทุกๆ มิติ และวันนี้ได้เห็นกลไกการขับเคลื่อน รวมไปถึงกฎหมายที่ต้องมีการปรับแก้ซึ่งตอนนี้มีความพยายามปรับแก้กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อหลายส่วน ทั้งที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงวัฒนธรรมและไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงวัฒนธรรม เช่น พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 การแก้กฎหมายอาญา มาตรา 237 เพื่อเอาผิดคนที่ล่อลวงเขียนข้อความจีบเด็ก เพื่อล่อลวงมาอนาจาร ก็สามารถเอาผิดได้ ไม่ต้องรอให้เกิดเรื่อง ไม่ต้องรอให้เด็กถูกกระทำก่อน และกำลังจะมีการร่างกฎหมายคุ้มครองเด็กจากการกระทำผิดบนออนไลน์ คาดว่ากระบวนการอาจจะใช้เวลา 1-2 ปี เราจะมีกฎหมายที่เท่าทันต่อเหตุการณ์ ในระหว่างนี้เราก็จะทำการพัฒนาสื่อดีไปพร้อมๆ กัน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า