Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อพูดถึงคำว่าวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว หลายคนย้อนคิดไปถึงช่วงปี 2540 ซึ่งวิกฤตครั้งนั้น ทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ หลายอย่างหนึ่งในนั้นคือเรื่องของ “ศูนย์กลางการแพทย์”

วิกฤตปี 2540 ทำให้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง เริ่มเบนเข็มไปหาลูกค้าจากต่างประเทศ เพราะแม้ว่าโรงพยาบาลเหล่านั้นจะมีราคาที่แพง แต่เมื่อเทียบกับมาตรฐานในการรักษาและราคาแล้ว ยังนับว่าถูกกว่าการรักษาในประเทศตนเองมาก และนับว่าเป็นจุดแข็งที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ที่พยายามผลักดันความเป็น Medical Hub เช่นเดียวกับไทยด้วย

สอดคล้องกับการขยายตัวของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ (Medical Tourism) ในระดับสากล ประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงผลที่ได้คือการขยายตัวอย่างมากของอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยในรอบหลายปี และทำให้ประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2546 ที่เริ่มมีการธงเรื่องนี้

ซึ่งสิ่งนี้ก็ปรากฎอย่างชัดเจนในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ที่ออกมาในปี 2559 ที่มีการกำหนดให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในระดับสากล เคียงคู่กันไปกับศูนย์กลางของสุขภาวะที่ดี(Wellness Hub) ด้วย

อุปสรรคสู้เป้าหมายผู้นำ Medical Hub โลก

การขยายตัวนี้ใช่ว่าจะดำเนินไปอย่างราบรื่น เพราะหลายครั้งนโยบายจากประเทศต้นทาง เช่น ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางที่เริ่มลดการสนับสนุนผู้ป่วยที่ออกไปรักษานอกประเทศตนเอง ย่อมทำให้โรงพยาบาลที่มีเป้าหมายเป็นผู้ป่วยกลุ่มนี้ ได้รับผลกระทบไปด้วย นอกจากนั้นยังเผชิญหน้ากับการแข่งขันจากประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2563 ย่อมสร้างผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับโรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้ แต่ในเวลาเดียวกันก็ต้องยอมรับว่า ประเทศไทยยังคงเป็นเป้าหมายหลักของผู้ป่วยอีกหลายรายที่ต้องการเข้ามารักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ย่อมพิสูจน์ว่า ระบบสาธารณสุขของไทยมีความเข้มแข็งเพียงใดก็ตาม

สิ่งที่เป็นความท้าทายในเวลานี้ จึงเป็นเรื่องของการปรับตัวของอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทย ที่จะต้องคิดไปไกลกว่าการรักษาแบบเดิมๆ เพื่อให้ประเทศไทย สามารถผลักดันตัวเองให้กลายเป็นศูนย์กลางสุขภาพของโลกได้อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต

วิเคราะห์ 3 ผู้เล่นหลัก BDMS-สมิติเวช-เมดปาร์ค

สำหรับโรงพยาบาลสมิติเวช และ BDMS Wellness Clinic แม้จะอยู่ภายใต้บริษัทเดียวกัน คือ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ หรือ BDMS กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ที่สุดในไทยและอาเซียน แต่ทิศทางของทั้งสองที่นั้นดำเนินการแตกต่างออกไป

ฝั่งของสมิติเวช ที่แต่เดิมเน้นคนไข้ที่มีรายได้สูงและชาวต่างชาติ ใช้ยุทธศาสตร์นวัตกรรมและการเข้าอกเข้าใจผู้ป่วยเป็นหลักในฝั่งของนวัตกรรมคือการสร้างหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาในการรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น Virtual Hospital + TytoCare หรือระบบ Samitivej Prompt และ Pace โดยไม่ละทิ้งความเข้าอกเข้าใจ (empathy) ต่อทั้งผู้ป่วยและญาติ

ความจริงจังของยุทธศาสตร์นี้ ทำให้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา สมิติเวชจัดตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ Digital Health Venture ขึ้นมา เพื่อรับผิดชอบงานด้านนี้โดยเฉพาะ ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท และการ “ฉวย” จังหวะที่ COVID-19 แพร่ระบาดใหม่ๆขยายบริการ Virtual Hospital กับพันธมิตรทั้งประกันชีวิตอย่างกรุงเทพประกันชีวิต และบริการขนส่งสินค้าอย่าง Grab ทำให้สมิติเวช กลายเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาด Telemedicine ของประเทศไทย

อีกด้านหนึ่ง BDMS Wellness Clinic เน้นไปที่การรักษาผู้ป่วยทั้งก่อนจะป่วย และการปรับวิถีชีวิตเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ในระยะยาว โดยมองเป็นองค์รวมทั้งหมด ไม่ได้มองเจาะเพียงเฉพาะแค่การรักษาแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น

สิ่งที่เห็นได้ชัด คือการจับมือร่วมกับ Movenpick เปิดโรงแรมแนวสุขภาพ เพื่อให้บริการกับทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่ต้องการรักษาแบบองค์รวม นอกจากนั้นยังผนึกรวมกับโรงพยาบาลในเครือ ทั้งเรื่องของการส่งต่อ และการส่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาดูแล

พอเกิดวิกฤต Covid-19 ทาง BDMS Wellness Clinic จึงเปลี่ยนมาให้เป็น Alternative State Quarantine โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลกรุงเทพ ในการส่งแพทย์และเจ้าหน้าที่พยาบาลมาดูแล ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้ราคาแพกเกจจะสูงถึง 50,000 บาทก็ตาม

MedPark เครื่องมือครบครัน ดึงแพทย์ร่วมทัพ

สำหรับเมดพาร์ค โรงพยาบาลน้องใหม่ใจกลางกรุงเทพ ที่ก่อตั้งโดยกลุ่มโรงพยาบาลมหาชัย อาศัยในการดึงตัวแพทย์ที่มีชื่อเสียง (magnet doctors) และเจ้าหน้าที่ มาร่วมงานจากหลากหลายองค์กร โดยตั้งเป้าเป็นโรงพยาบาลศูนย์กลางอาเซียนที่มีเครื่องมือครบครันและทันสมัยมากที่สุด และมีที่ตั้งที่เดินทางได้สะดวกสบายมากที่สุด

เรื่องของการดึงตัวบุคลากรนี้ สั่นสะเทือนถึงโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง เพราะเป็นการดึงตัวหมอที่มีทั้งฐานคนไข้และหมออาวุโสของวงการ มารวมกันอยู่ในที่เดียว โรงพยาบาลน้องใหม่แห่งนี้ จึงมีทั้งบุคลากรที่พร้อม และอุปกรณ์ที่ล้ำสมัยที่สุดในเวลานี้

การปรับตัวของโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเหล่านี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะหลังจากนี้เป็นต้นไป ทิศทางของการวางยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการแพทย์ระดับโลก อาจจะไม่ได้ง่ายเหมือนเดิม ต้องอาศัยการคิดนอกกรอบจากเดิมเยอะ และต้องอาศัยเวลาว่ายุทธศาสตร์ของใครจะได้ผลในระยะยาว

หากอยากฟังเต็มๆ เกี่ยวกับเรื่องยุทธศาสตร์ Medical Hub ของประเทศไทยในยุค COVID-19 ต้องไม่พลาดเวที Thailand Tomorrow ที่จัดโดย workpointTODAY วันที่ 24 ตุลาคมนี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า